ระบบ Windows phone 8 เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือระบบหนึ่งที่จะว่าไปถึงแม้หมายเลขรุ่นของระบบ Windows phone รุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ 8 แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดจาก Microsoft นี้เพิ่งมีอายุได้ 1 ปีนิดๆเท่านั้นครับ (ระบบ Windows phone 8 ปล่อยออกสู่ตลาดวันที่ 29 ตุลาคม 2555)
ถึงแม้หน้าตาของระบบ Windows phone 8 (จากนี้ขอย่อเป็น WP8) จะแทบไม่ต่างกับระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้าอย่างระบบ Windows phone 7 (จากนี้ขอย่อเป็น WP7) แต่ในแง่ของสถาปัตยกรรมภายในแล้ว ระบบ WP8 ต่างกับระบบ WP7 อย่างสิ้นเชิง เพราะระบบ WP8 มีพื้นฐานมาจาก Windows NT Kernel แต่ระบบ WP7 มีพื้นฐานมาจาก Windows CE และ Microsoft ได้บอกเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่พัฒนาระบบ WP8 แล้วว่า การพัฒนา WP8 นั้นแทบจะเป็นการยกเครื่องทำใหม่ทั้งหมด ทิ้งเอาไว้แค่แนวทางการออกแบบหน้าตา (User interface) ที่ Microsoft ตั้งใจจะใช้เป็นแนวทางการออกแบบหน้าตาของระบบและแอพของตัวเองในยุคใหม่ ที่เรียกว่าหน้าตาแบบ Modern UI (หรือชื่อเดิมคือ Metro UI ซึ่งเพิ่งมีอายุครบ 3 ปีไปเมื่อวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา) และอีกสิ่งที่สีบทอดต่อมาจากระบบ Windows phone 7 คือหน้าจอ Live tiles และ Hubs ต่างๆของระบบ เช่น People hub, Photo hub เป็นต้น
[quote] Microsoft ได้บอกเอาไว้ตั้งแต่ตอนที่พัฒนาระบบ WP8 แล้วว่า การพัฒนา WP8 นั้นแทบจะเป็นการยกเครื่องทำใหม่ทั้งหมด[/quote]
ความจริงข้อแตกต่างของระบบ WP8 และ WP7 ยังมีอีกมาก แต่สำหรับในบทความนี้เราจะไม่เน้นไปที่รายละเอียดเชิงลึกตรงนั้น เพราะเราจะมุ่งเน้นไปที่พัฒนาการของระบบ Windows phone 8 กันดีกว่าครับ
[divider]
[box_info]เส้นทางของ Windows phone 8 ที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ[/box_info]
Windows phone 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่ Microsoft ตั้งใจทำขึ้นมาเพื่อชดเชยความผิดพลาดและข้อจำกัดต่างๆที่มีในระบบ Windows phone 7 ที่ Microsoft เห็นว่าไม่สามารถจะใช้ในการแข่งขันกับระบบอื่นๆในตลาดสมาร์ทโฟนได้ในระยะยาว ทั้งในแง่ของข้อจำกัดในการรองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ (WP7 ไม่สามารถรองรับ CPU ที่มีมากกว่า 1 คอร์ได้ และไม่สามารถรองรับการใช้งานที่หน้าจอความละเอียดสูงกว่า 800 x 480 pixel ได้) และสถาปัตยกรรมภายในที่ใช้ก็ไม่เอื้อต่อการพัฒนาแอพใหม่ๆอีกเช่นกัน
อย่างไรก็ดีหลายๆฝ่ายมองว่า การตัดสินใจที่ผิดพลาดของ Microsoft ที่สร้าง Windows phone 7 ออกมาแบบไม่สามารถอัพเกรดต่อยอดได้ในระยะยาวและการตัดสินใจจะเริ่มต้นใหม่กับระบบปฏิบัติการ Windows phone 8 นั้น อาจจะเป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง เพราะการเริ่มนับหนึ่งใหม่ในตอนที่ระบบปฏิบัติการคู่แข่งอย่าง Android และ iOS รวมถึง BlackBerry ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนในตอนนั้นพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองไปไกลและมีฐานผู้ใช้ที่มากอยู่แล้ว ถือเป็นสิ่งที่ Microsoft จะต้องทำการบ้านอย่างหนัก หากจะดันให้ระบบปฏิบัติการของตัวเองประสบความสำเร็จแทรกขึ้นมาเป็นขั้วที่ 3 หรือ 4 ในตลาดสมาร์ทโฟนได้
[divider]
[box_info]เปิดตัว[/box_info]
Windows phone 8 เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555 และเริ่มวางจำหน่ายมือถือ Windows phone 8 รุ่นแรกๆในช่วงเดือนพฤศจิกายน (ความจริงก็เป็นช่วงวันที่ 29 ตุลาคม 2555) โดยในตอนเปิดตัวนั้น Microsoft ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์หลายราย โดยพาร์ทเนอร์หลักของระบบ Windows phone 8 ในตอนนั้นคือ HTC ที่ทำงานร่วมกับ Microsoft อย่างใกล้ชิด และได้รับสิทธิ์ให้ใช้คำว่า “Windows phone” บนรุ่นโทรศัพท์ของตัวเองได้ นอกเหนือจาก HTC แล้ว พาร์ทเนอร์ที่ร่วมเปิดตัวระบบ Windows phone 8 ได้แก่ Nokia, Samsung และ Huawei
[divider]
[box_info]ทางเดินที่ผ่านมาตลอด 1 ปีในแง่ของฮาร์ดแวร์[/box_info]
ปลายปี 2012 เปิดตัว WP8
ถึงแม้ HTC จะดูเป็นพันธมิตรหลักของ Microsoft ในช่วงเปิดตัว แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับเป็น Nokia ที่ทำหน้าที่ในการผลักดันระบบปฏิบัติการนี้ไปได้ดีกว่าในฐานะค่ายผลิตมือถือที่ทุ่มเทให้กับระบบ WP8 อย่างเต็มที่ (ส่วนหนึ่งเพราะสัญญาที่ Microsoft ทำกับ Nokia ในการให้เงินสนับสนุนเพื่อผลักดันระบบ Windows phone ตั้งแต่ตอนต้นปี 2554)
ในตอนเปิดตัวนั้นมีมือถือเพียงไม่กี่รุ่นที่เปิดตัวและวางขายในช่วงปลายปี 2555 ซึ่งแบ่งเป็นมือถือจาก Nokia 2 รุ่นคือ Nokia Lumia 820 และ 920 ส่วนฝั่ง HTC นั้นส่ง HTC Windows phone 8x และ 8s ออกวางตลาดและ Samsung ส่ง ATIV S ออกสู่ตลาด Windows phone 8
เมื่อมือถือ Windows phone 8 เริ่มออกสู่ตลาดที่การแข่งขันสูงอยู่แล้วเพราะระบบปฏิบัติการคู่แข่งอย่าง Android และ iOS นั้นติดตลาดไปก่อนหน้าและระบบปฏิบัติการเองถูกพัฒนามาถึงจุดที่เสถียรและมีฟีเจอร์พื้นฐานครบถ้วนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว (ยกเว้น BlackBerry ที่ก็เดินเกมส์แบบเดียวกับ Microsoft นั่นคือการรื้อระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นเดิมทิ้งและสร้างระบบเวอร์ชั่นใหม่ทั้งหมดในนาม BB10 จึงถือว่าเป็นน้องใหม่ในช่วงนั้นเช่นกัน) ยอดขายของมือถือฝั่ง Windows phone จึงเรียกได้ว่า ตามมาชนิดที่ห่างแบบไม่เห็นฝุ่น ตามภาพครับและยอดขายในส่วนนั้นเป็นมือถือระบบ WP7 ถึงกว่า 85%
[divider]
[box_info]มีนาคม 2556 การมาถึงของ Nokia Lumia 520 จุดเปลี่ยนของตลาดในแง่ยอดขายของ WP8[/box_info]
ในช่วงปี 2556 ที่ผ่านมา Nokia ที่เป็นฝ่ายที่ทุ่มให้กับตลาดมือถือ Windows phone เป็นหลักก็ได้เริ่มดำเนินกลยุทธทางการตลาดใหม่ โดยเน้นไปที่การออกมือถือหลากหลายรุ่น (มากๆ) เพื่อเน้นให้ครอบคลุมความต้องการของตลาดในทุกระดับชั้น โดยไล่มาตั้งแต่ต้นปีที่มีมือถืออย่าง Nokia Lumia 620 ที่เป็นมือถือเน้นตลาดกลางถึงล่างตัวแรกของ Windows phone 8 ออกมาซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่กระตุ้นตลาดได้พอสมควร และมี Lumia 720 และ 520 เข้ามาเสริมทัพในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งการมาถึงของ Nokia Lumia 520 นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในหลักไมล์หนึ่งของความสำเร็จของระบบ WP8 เลยก็ว่าได้
ความสำเร็จของ Nokia Lumia 520 นั้นเห็นได้จากกราฟด้านล่างนี้ครับ
Nokia Lumia 520 เป็นมือถือราคาประหยัดหรือเรียกง่ายๆว่าถูกที่สุดสำหรับมือถือตระกูล Windows phone 8 ในเวลานี้ สิ่งที่ทำให้มันประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายคือราคานั่นเอง และตลาดที่ Lumia 520 สามารถทำได้ดีคือตลาดที่ราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องหนึ่งเช่นประเทศแถบละตินอเมริกา, ประเทศใหญ่อย่างอินเดีย, รัสเซียและประเทศที่กำลังพัฒนาหลายๆประเทศที่ความคุ้มค่าของ Lumia 520 นั้นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเป็นอย่างมาก และนั่นทำให้ยอดขายของเจ้า Lumia 520 นั้นสูงที่สุดในตลาด Windows phone ทั้งหมด และ Microsoft ยังเผยว่า Lumia 520 นั้นเป็นอุปกรณ์ Windows ที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของ Microsoft ไปเป็นที่เรียบร้อย
ขายดีขนาดไหน ดูได้จากชาร์ทนี้ครับ
และระบบ WP8 ใช้เวลาไม่นานนักในการกลืนตลาดจากรุ่นพี่อย่าง WP7 ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งภายในที่ WP8 ต้องเอาชนะให้ได้ ด้วยความสมบูรณ์กว่าของตัวระบบปฏิบัติการเอง และแอพต่างๆที่ทำมารองรับมากกว่า การแทนที่ของ WP8 จึงทำได้ไม่ยากนักและคากว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ WP8 สามารถแทนที่ WP7 อย่างสมบูรณ์เร็วๆนี้
[divider]
[box_info]ความสำเร็จก้าวแรกในแง่ของยอดขายของ Windows phone 8[/box_info]
ความสำเร็จของ Nokia Lumia 520 ไม่เพียงแต่จะช่วยทำกำไรให้กับ Nokia เท่านั้น (ตามข่าวนี้ครับ) แต่ยังส่งผลให้ยอดขายของมือถือ WP เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยจากชาร์ทนี้จะเห็นได้ว่ายอดขายและส่วนแบ่งการตลาดของระบบปฏิบัติการ WP นั้นเพิ่มขึ้นสูงถึง 176% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเว็บ Strategy Analytics ได้กล่าวว่าระบบ Windows phone เป็นระบบปฏิบัติการที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในตอนนี้ (currently the world’s fastest growing major smartphone platform)
และจากชาร์ทด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งการตลาดของ Windows phone ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อปีที่แล้ว 2 เท่า ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จของระบบปฏิบัติการอย่าง Windows phone 8 นั่นเอง
และความสำเร็จของรูปแบบการตลาดของ Nokia และ Lumia 520 นั้น ก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ Microsoft เล็งเห็นโอกาสในตลาดด้านอุปกรณ์มือถือ จนนำไปสู่การเข้าซื้อกิจการฝ่ายผลิตมือถือของ Nokia ในที่สุด
[divider]
[box_info]สรุปในแง่ของฮาร์ดแวร์[/box_info]
Windows phone ถือว่าประสบความสำเร็จในแง่ของยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจากเมื่อปีที่ผ่านมาได้อย่างสวยงามและดูเหมือนทั้ง Microsoft และ Nokia เองดูจะพอใจกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาพอสมควรครับ โดยหลักไมล์แรกของ Microsoft ในปีที่ผ่านมาคือ การขึ้นไปเป็นระบบปฏิบัติการขั้วที่ 3 ให้ได้แทนที่ BlackBerry ที่เป็นคู่แข่งโดยตรง และตอนนี้ก็ทำได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ถึงแม้ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะทาง BlackBerry เองก็ทำการบ้านมาไม่ดีนักในการเปลี่ยนผ่านระบบของตัวเองจาก BB7 ไปยัง BB10 และปัญหาภายในที่เกิดขึ้นในบริษัทเอง
แต่อย่างน้อยเมื่อความสำเร็จเกิดขึ้นแล้ว ก็ถือว่าสำเร็จแล้วครับ
อย่างไรก็ดี หากมองในแง่ยอดขายที่ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นมาอย่างที่ได้กล่าวไป แต่ว่างานช้างที่ Microsoft จะต้องทำในปีต่อไปคือ การผลักดันระบบปฏิบัติการของตัวเองให้กินส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น ซึ่งตามยุทธศาสตร์ที่คุณ Steve Ballmer เคยวางเอาไว้คือต้องการให้ Windows phone ครองส่วนแบ่งการตลาดได้ถึงตัวเลข 2 หลัก (เกิน 10% ขึ้นไป) นั้นก็น่าจะเป็นงานที่หินกว่าการเอาชนะ BlackBerry ได้ซะอีก
โดย IDC ที่เป็นหน่วยงานวิเคราะห์ตลาดได้ระบุว่ากว่าที่ระบบ Windows phone จะกินส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 10% ในตลาดสมาร์ทโฟนโลกนั้น น่าจะต้องรอดูกันไปถึงปี 2017 (2560) กันเลยทีเดียว และ IDC วิเคราะห์ว่าส่วนแบ่งการตลาดที่ Windows phone จะแย่งชิงมาได้นั้นจะมาจากตลาดของระบบ Android ที่อาจจะลดลงจาก 75.3% ในปีนี้ ลงไปเหลือ 68.3% ในปี 2017 แต่ว่าระบบ Android ก็จะยังคงเป็นจ้าวตลาดสมาร์ทโฟนอยู่ดังเดิม โดยมี iOS ที่จะยังคงรักษาตำแหน่งระบบปฏิบัติการลำดับที่ 2 อยู่ด้วยส่วนแบ่งที่ไม่ขยับไปจากเดิมมากนักคือที่ 17.9%
สิ่งที่เป็นการบ้านของ Microsoft คือการจะถมช่องว่างของส่วนแบ่งการตลาดที่ยังคงมีอยู่อย่างมหาศาลได้อย่างไร 4% ที่ทำได้ในปี 2555 นั้นเป็นความสำเร็จก้าวเล็กๆก้าวแรกที่น่ายินดี แต่ก้าวต่อไปหลังจากนี้ กลยุทธการออกมือถือ Windows phone 8 หลากหลายรุ่นเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถทำให้ Microsoft ไปสู่เส้นชัยที่ใหญ่กว่าเดิมได้อีกต่อไป
นอกจากนี้ปัจจัยความสำเร็จในด้านฮาร์ดแวร์อีกประการหนึ่งที่ Microsoft จะสามารถสร้างได้และต้องสร้างให้ได้คือ การดึงพันธมิตรค่ายมือถือต่างๆที่จะเข้าร่วมพัฒนามือถือระบบ WP8 ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งมีข่าวลือว่าค่ายมือถือหลายๆค่ายก็เริ่มกลับมาให้ความสนใจในระบบ WP8 อีกครั้งภายหลังการอัพเดทระบบให้สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ (รองรับ CPU Quad-core และหน้าจอระดับ Full-HD ได้) ซึ่งค่ายที่มีข่าวลือว่าสนใจในระบบ Windows phone 8 อีกครั้งได้แก่ LG, OPPO และ Lenovo รวมุถึงการรักษาพาร์ทเนอร์รายเดิมที่เคยทำมือถือ WP8 ให้อย่าง HTC, Samsung และ Huawei เพื่อผลักดันให้ระบบ WP8 เข้าถึงผู้ใช้งานได้หลากหลายกลุ่มยิ่งขึ้นแทนการพึ่ง Nokia แบบเดิม
สุดท้าย แอพพลิเคชั่นและคุณสมบัติภายในตัวระบบปฏิบัติการเองจะเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินความสำเร็จในขั้นต่อไป
แล้วเรามาต่อกันในตอนที่ 2 ในส่วนของมุมมองด้านแอพพลิเคชั่นกันใหม่ในบทความหน้าครับ
ที่มาของข้อมูลบางส่วน: Wikipedia, IDC, Adduplex, The Verge