A new flavor of Jelly Bean. ก็เป็นการบอกตัวตนของแอนดรอยด์เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ได้เป็นอย่างดีครับ ความเป็น Jelly Bean ที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ต่างไปจากเดิม เพิ่มดีกรีความอร่อยน่าลิ้มชิมรสจากเม็ดถั่วเหนียวเม็ดเดิม ด้วยฟังชั่นการใช้งานใหม่ๆ ที่จะเพิ่มเข้ามาให้กับเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2 ทุกๆ เครื่องให้มีประสิทธิภาพและลูกเล่นที่น่าสนใจมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึง Android Jelly Bean 4.1 ก่อนเลยคือ เป็นแอนดรอยด์เวอร์ชั่นที่ได้รับคำชมเป็นอย่างมากในเรื่องการพัฒนาของส่วนประสบการณ์การใช้งาน อาจจะด้วยอุปกรณ์ในยุคสมัยใหม่ๆ มีศักยภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ตัวระบบที่พัฒนามาได้เป็นอย่างดีก็มีส่วนช่วยอย่างมากเช่นกันที่ทำให้อุปกรณ์ Android 4.2 ในวันนี้ “ยอดเยี่ยม”
และในตัวพัฒนาต่อยอดอย่าง Jelly Bean 4.2 ก็คือการเดินตามรอยรุ่นพี่แต่จะมีความสามารถเพิ่มเติมจากเดิม นั้นคือ A new flavor of Jelly Bean. นั้นเองครับ
[box_dark]ความสามารถใหม่ ใน 4.2 [/box_dark]
Multi User หนึ่งอุปกรณ์ ผู้ใช้หลายคน
อะไรจะดีไปกว่า การที่เราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ร่วมกันกับใครสักคนภายในครอบครัวหรือที่ทำงาน แต่การตั้งค่าส่วนบุคคลต่างๆ ของเราจะไม่ต้องโดนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เวลาผู้อื่นนำไปใช้ เพราะ Multi User จะสามารถแยกการใช้งานของแต่ละบุคคลตามแต่แอคเคาท์ที่ล็อคอินเข้าใช้งาน เช่นหน้าโฮมสกรีน, ภาพพื้นหลัง, การจัดวาง Widget และข้อมูลผู้ใช้ในแอปพลิเคชั่นและเกม
คุณสมบัตินี้อาจจะเหมาะสมกับอุปกรณ์อย่างแท็บเล็ตมากกว่าจะนำมาใช้กับสมาร์ทโฟนที่มีความเป็นส่วนตัวสูงกว่า แต่มีประโยชน์แน่นอนเมื่อยามที่เราจำเป็นต้องให้ผู้อื่นใช้งานอุปกรณ์ของเรา โดยไม่อยากให้ยุ่งกับสิ่งที่เราสร้างและกำหนดไว้มากนัก
[divider]
Miracast แบ่งปันการแสดงผลผ่านสัญญาณ Wi-Fi
ถ้าใครรู้จัก Apple TV ก็คล้ายๆ กันนั้นแหละครับ เป็นโปรโตคอลแยกการแสดงผลไปแสดงบนมอนิเตอร์ผ่านสัญญาณ Wi-Fi จะทำให้อุปกรณ์แอนดรอยด์ 4.2 สามารถสตรีมมิ่งเพลงและวีดีโอไปยังอุปกรณ์ที่รองรับ เช่นกล่อง Miracast ที่จะมีการออกมาวางจำหน่ายเร็วๆ นี้ รวมทั้งสมาร์ททีวีบางรุ่นที่กำหนดจะให้รองรับกับฟังชั่นนี้ในอนาคตอีกด้วย
[divider]
Daydream สกรีนเซฟเวอร์สารพัดประโยชน์
เพิ่มลูกเล่นเกี่ยวกับการทำงานบนหน้าจอมาอีกแล้ว Daydream จะทำงานคล้ายๆ กับระบบสกรีนเซฟเวอร์ที่จะแสดงผลตามที่เราตั้งค่าไว้ เช่นอัลบั้มภาพ หรือข่าวอัพเดทจาก Google Current และจะมีอีกมากที่จะเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง เพราะระบบได้เปิดรับไว้แล้วแบบนี้ก็แล้วแต่จะมีการทำงานของแอปไหนเข้ามาสนับสนุน
น่าจะเป็นฟังชั่นที่จะใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ของเรามาทำเป็นจอมอนิเตอร์แสดงผลติดตามกิจกรรมอะไรสักอย่าง หรือใช้แสดงข้อมูลในสื่อตามที่เราต้องการครับ
[divider]
Smart Keyboard ระบบแป้นพิมพ์แบบลากเป็นคำ
Gesture Typing หรือระบบการลากเส้นลงบนแป้นพิมพ์เพื่อผสมคำ จะเหมือนกับความสามารถของแอปพลิเคชั่นคีย์บอร์ดอย่าง Swype ข้อดีก็คือเวลาใช้งานบนอุปกรณ์ที่มีหน้าจอแสดงผลขนาดเล็ก การใช้นิ้วจิ้มลงไปบนตัวอักษรในแป้นพิมพ์อาจจะไม่สามารถทำได้อย่างแม่นยำมากพอ แต่ถ้าใช้การลากนิ้วให้ผ่านตัวอักษรที่ใช้สะกด แล้วให้ Smart Keyboard ทำการผสมเป็นคำที่ต้องการ ก็จะมีความแม่นยำที่มากกว่า และสำหรับผู้ที่ใช้งานได้คล่องจะสามารถพิมพ์ข้อความได้เร็วกว่าการพิมพ์แบบธรรมดาบนหน้าจออุปกรณ์ทีมีขนาดเล็กๆ ครับ
[divider]
Photo Sphere การถ่ายภาพที่โลกต้องหมุนรอบตัวเรา
ใครเคยใช้ Google Street View กันมาบ้างครับ ภาพถ่ายรอบทิศทาง 360 องศา ภาพถ่ายที่ไม่ใช่จะเห็นแต่ด้านตรง แต่เราจะเห็นทุกอย่างรอบตัวเหมือนเราไปยืนอยู่ ณ บริเวณนั้นเลย สำหรับ Android 4.2 ได้ใส่ความสามารถการถ่ายภาพแบบ Photo Sphere มาให้ใช้งานกันได้ในอุปกรณ์ของเราครับ อีกหน่อยการถ่ายภาพแชร์เข้า Social จะเป็นการนำผู้เข้าชมภาพไปอยู่ยังสถานที่จริง
[divider]
Lockscreen Widget หน้าจอล็อคที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น
Widget คือส่วนสำคัญที่นับเป็นจุดเด่นจุดหนึ่งของระบบแอนดรอยด์ หน้าต่างเล็กๆ บนหน้าโฮมสกรีนที่สามารถทำงานได้มากกว่าจะเป็นแค่ไอคอนเรียกใช้งานแอปพลิเคชั่น เป็นเครื่องเล่นเพลง เป็นกระดานข่าว แสดงหน้าฟีดเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ทุกๆ อย่างสามารถเอามาแสดงได้บนหน้าจอด้วย Widget สวยงามแถมมีประโยชน์ และใน Android 4.2 เราจะสามารถนำ Widget ออกไปวางยังหน้าล็อคสกรีนได้แล้วครับ
[divider]
Google Now สารพัดเรื่องที่คุณสนใจ Google รู้ได้จากประวัติการค้นหา
ต้องยอมรับว่า เรื่องทุกๆ อย่างรอบตัวเราในปัจจุปันที่ใช้งานผ่านระบบเน็ตเวิร์ค มักมีความเกี่ยวข้องกับ Google แบบที่เราก็อาจจะไม่รู้ตัว อยู่ตลอดเวลา Google Now ก็คือระบบที่เอาฐานข้อมูลการใช้งานของตัวเรามาบริการตัวเรา โดยฐานข้อมูลนั้นก็มาจาก Google นั้นเองครับ สิ่งที่เราเคยสนใจค้นหาผ่าน Google Search ตำแหน่งที่อยู่ของเราปัจจุปันใน Google map อีเมลของเราที่ลงทะเบียนอยู่ใน Gmail
Google Now จะนำข่าวคราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นมาเสริฟให้ถึงเครื่องทันที โดยที่เราไม่ต้องไปถาม ^^ และใน Android 4.2 ได้มีการอัพเดทความฉลาดของ Google Now ครั้งใหญ่ โดยให้สามารถระบุถึงสิ่งต่างๆ รอบตัวได้มากขึ้น เพิ่มเติมสิ่งที่เราสนใจได้มากขึ้น และมีระบบค้นหาที่ฉลาดมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งฟังชั่นเด่นของ Google ที่เริ่มมีให้ใช้ตั้งแต่ตอนเป็น Jelly Bean 4.1 ครับ
[divider]
Quick Setting หน้าจอลับ ไว้สลับเปิดปิดฟังชั่นของเครื่อง
หลายๆ คนที่เคยได้ใช้เครื่องแอนดรอยด์ของบางแบรนด์บางรุ่น อาจจะเคยได้เห็นว่า ในหน้า Notify ที่เราลากลงมาจากด้านบนหน้าจอในขณะใช้งาน จะมีปุ่มเปิดฟังชั่นต่างๆ ของเครื่องเอาไว้ให้ด้วย เช่น เปิดปิด Wi-Fi หรือ เปิดปิด Bluetooth เป็นต้น แต่ที่เพื่อนๆ เห็นอยู่นั้นไม่ใช่เป็นของระบบแอนดรอยด์แท้ๆ ที่จะมีปุ่มเหล่านี้มาให้ใช้งานครับ เป็นทางผู้ผลิตเขาออกแบบมาให้เพื่ออำนวยตวามสะดวกแก่ผู้ใช้เพิ่มเติมมาภายหลัง
แต่ใน Android 4.2 ได้มีการเพิ่มการใช้งานตรงนี้เข้ามาให้แล้วครับ โดยการใช้งานจะมีความแตกต่างไปจากเดิมอยู่เล็กน้อย นั้นคือมันจะไม่ได้อยู่ในหน้า Notify เหมือนเช่นที่เคยมี แต่จะไปอยู่ในหน้าที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ใน Android 4.2 นั้นคือหน้า Quick setting จะแยกออกมาต่างหากเป็นอีกหนึ่งหน้าใหม่
นอกจากจะมีปุ่มเปิดปิดฟังชั่นหลักๆ ของตัวเครื่องให้แล้ว ยังจะแสดงโปรไฟล์ของผู้ใช้จาก Google+ ในขณะนั้นอีกด้วยครับ เราสามารถเลียกใช้หน้า Quick Setting ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีการรูดแถบ Status bar ด้านบนหน้าจอลงมาด้วยนิ้วสองนิ้วพร้อมกัน
[divider]
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่คุณจะได้พบเจอในเครื่อง Android ที่เป็นเวอร์ชั่น 4.1 ขึ้นไปครับ การพัฒนาของระบบแอนดรอยด์ ยิ่งนานวัน ยิ่งเต็มไปด้วยฟังชั่นและฟีเจอร์เฉพาะตัวที่โดเด่นขึ้นไปทุกที ยังรักยังชอบระบบหุ่นเขียวอยู่ ก็อย่าเพิ่งทิ้งหนีกันไปไหนนะครับ ^^Appdisqus ถึงจะเป็นเว็บที่เปิดกว้างหลายระบบ แต่กับแอนดรอยด์ ส่วนตัวผู้เขียนเองแอบเชียร์อยู่เล็กๆ แอบเอียงอยู่ว่างั้นแหละครับ555 ก็คนมันชอบนี่เนอะ
จากไตรมาสสองของปีนี้เป็นต้นไป นอกจากเครื่องตระกูล NEXUS จาก Google แล้ว เราจะได้เห็นเครื่องที่รันระบบ Android 4.2 กันมากขึ้นในตลาดอย่างชัดเจนแน่นอนครับ ^^