ช่วงนี้ผมได้เห็นหลายๆท่าน ทดลอง…ตั้งใจ…หรือไม่ตั้งใจ ทำการ Hard reset เครื่องหรือ Factory reset เครื่อง Windows Phone 8 ของตัวเองกันบ่อยๆ หรือบางท่านอาจเกิดจากการอัพเดทโทรศัพท์แล้วการอัพเดทไม่สมบูรณ์ ทำให้เครื่องเกิดการ Brick หรือใช้งานไม่ได้กันไป…หรืออาจะด้วยเทรนด์ฮิตของตอนนี้คือการแฟลชเครื่องเพื่อลง ROM ใหม่ๆนั่นเองครับ
ปัญหาการชุบชีวิตโทรศัพท์ของเราก็ขั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำ แต่พอเครื่องโทรศัพท์ของเราฟื้นขึ้นมาแล้ว การจะเอาข้อมูลต่างๆที่เคยทำเอาไว้ในเครื่องของเรากลับมานี่ซิ…งานใหญ่เหมือนกันนะครับ ยิ่งท่านที่ลงแอพเยอะๆด้วยแล้ว การมานั่งลงแอพเองทีละตัวนี่ เป็นอะไรที่ปวดใจมากเลย แถมข้อความ sms ต่างๆ Call log ต่างๆก็หายไปด้วย ต้องทำยังไง?
วันนี้ผมมีขั้นตอนการสำรองข้อมูลหรือการ Backup และการเรียกคืนข้อมูลหรือการ Restore มาฝากครับ เป็นเทคนิคที่ผมเองใช้อยู่เป็นประจำตอนที่นั่งแฟลชเครื่องเล่นๆนั่นเองครับ ^^
** หมายเหตุ การสำรองข้อมูลแอพต่างๆ ระบบจะสำรองให้เฉพาะรายชื่อแอพนะครับ การตั้งค่าของแต่ละแอพรวมถึงข้อมูลต่างๆในแอพจะไม่ถูกสำรองเอาไว้ด้วย (พวกเซฟเกมส์ต่างๆก็จะไม่สำรองให้เช่นกัน) ดังนั้นลองดูนะครับว่า แต่ละแอพมีส่วนให้เราสำรองค่าต่างๆของแอพนั้นๆโดยเฉพาะให้หรือไม่ ถ้ามีให้สำรองจากภายในแอพที่สามารถสำรองได้ก่อนครับ **
การ Backup ข้อมูลในโทรศัพท์
ผมจะแบ่งเป็นข้อมูลที่เราสามารถดึงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และข้อมูลที่ดึงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้นะครับ
ข้อมูลที่ดึงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ได้แก่ ไฟล์เพลง, ไฟล์รูปถ่าย, ไฟล์เอกสาร, ไฟล์วิดีโอหรือไฟล์หนัง และไฟล์เพลงริงโทนครับ พวกนี้เราสามารถโอนย้ายมาไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ซึ่งผมแนะนำให้โอนไฟล์เหล่านั้นมาไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะง่ายกว่าการ backup ขึ้น Skydrive ครับ
ขั้นตอนการโอนย้ายไฟล์ก็ไม่มีอะไรมาก แค่เสียบสาย usb เชื่อมโทรศัพท์ของเราเข้ากับคอมพิวเตอร์และทำการคัดลอกไฟล์ที่ต้องการได้เลยครับ
มีข้อแม้คือ เครื่องคอมที่ใช้ ต้องเป็น Windows XP SP3 ขึ้นไปนะครับถึงจะโอนไฟล์กับ WP8 ได้ครับ |
ข้อมูลที่ดึงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ หรือข้อมูลที่สามารถ backup ขึ้นสู่ SkyDrive ได้
เผื่อว่าหลายๆท่านอาจจะไม่ทราบ สำหรับทุกท่านที่ใช้งานระบบ Windows Phone และมี Microsoft account แล้ว ท่านจะได้รับพื้นที่บน SkyDrive หรือพื้นที่เก็บไฟล์บนระบบ Cloud ของ Microsoft ฟรี 7GB นะครับ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้จะเป็นพื้นที่ที่เวลาเราสำรองข้อมูลต่างๆขึ้นสู่ Cloud ไฟล์ของเราก็จะถูกเอามาเก็บไว้ที่นี่แหละครับ (ลองเข้าไปดูพื้นที่ที่เราใช้ไปได้จาก ที่นี่ ครับ)
กลับมาเรื่องการสำรองข้อมูลของเราต่อ ข้อมูลที่เราสามารถสั่งให้ระบบสำรองขึ้นสู่ Cloud หรือ SkyDrive ได้มี 3 ส่วนได้ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป และมีขั้นตอนการสำรองข้อมูลตามนี้ครับ
** การสำรองข้อมูลขึ้นสู่ SkyDrive จะต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนะครับ แนะนำให้ทำตอนที่เชื่อมต่อกับ WiFi อยู่ (แต่ถ้าเป็น Package 3G unlimited ก็ไม่ว่ากันครับ)
เริ่มสำรองข้อมูล
ในโทรศัพท์ของเรานะครับ ไปที่เมนู การตั้งค่า –> สำรองข้อมูล (Backup) แล้วจะเจอตัวเลือก 3 ตามหน้าจอครับ คือ
หน้าจอการสำรองข้อมูล (Backup) |
- การสำรองข้อมูลรายการแอพและการตั้งค่าต่างๆ (Applist+Settings)
- การสำรองข้อมูล SMS
- การสำรองข้อมูลภาพถ่าย
เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่อยากเปลืองแพ๊คเกจ 3G ของเรา เราก็เปิดให้สำรองข้อมูลเฉพาะตอนที่เราต้องการก็ได้ครับ (แต่ใครจะสำรองตลอดเลยก็ได้เช่นกัน อันนี้ตามสะดวกครับ)
เรามาเริ่มจากการสำรองข้อมูลตัวแรกกันก่อน นั่นคือ การสำรองข้อมูล “รายการแอพและการตั้งค่า (App list + settings) ครับ
ชื่อเมนูนี้อาจะสื่อแค่การสำรองรายชื่อแอพและการตั้งค่าเท่านั้น แต่ความจริงสิ่งที่เมนูนี้สำรองข้อมูลให้เรามีมากกว่านั้นครับ คือ
- รายการแอพที่เราลงเอาไว้ในปัจจุบัน (List of installed apps)
- รายการการโทรเข้า-ออก (Call history)
- การตั้งค่า Theme ของเรา (Theme color)
- บัญชีอีเมล์+บัญชีแอคเคานท์อื่นๆเช่น Facebook, Twitter, Linked In รวมถึงการตั้งค่าต่างๆของบัญชีนั้นๆ (Email + Accounts with Settings) และรวมไปถึงรายชื่อที่ผูกติดกับบัญชีอีเมล์ของเราด้วย
- การตั้งค่าต่างๆใน IE และ Favorites (IE Settings & Favorite)
- การตั้งค่าอื่นๆของเครื่อง (Settings)
สิ่งที่สำรองข้อมูลไม่ได้คือ
- เซฟเกมส์ต่างๆ
- การตั้งค่าในแอพต่างๆ ตรงนี้ต้องตั้งค่าใหม่หมดครับ
- เปิดการสำรองข้อมูล จากนั้นระบบจะเริ่มการสำรองข้อมูลทั้งหมดที่บอกไว้ข้างต้นของเราครับ รอสักครู่ ขึ้นกับปริมาณข้อมูลในเครื่องครับ ระหว่างนี้ระบบก็จะแสดงแถบเปอร์เซ็นต์มาให้เราดูด้วย (แบบหน้าจอซ้ายล่างครับ)
- พอระบบสำรองข้อมูลเสร็จ ก็จะขึ้นข้อความว่าระบบได้สำรองข้อมูลเราเสร็จแล้วเมื่อเวลาใด ตามรูปด้านบนขวาครับ (คำว่า Windows Phone ตรงนี้เป็นชื่อของโทรศัพท์เรานะครับ) และจะเห็นว่าพอสำรองข้อมูลเสร็จ ตัวเลือก “ขั้นสูง” จะเป็นสีขาว ซึ่งหมายความว่าเราสามารถเข้าไปในเมนูนี้ได้ โดยเมนูขั้นสูงคือการเข้าไปลบไฟล์ Backup ที่เราไม่ต้องการนั่นเองครับ
- พอเราสำรองข้อมูลเสร็จแล้ว เราจะปิดฟังก์ชั่นนี้ไปเลยก็ได้ (ในกรณีที่เราสำรองเอาไว้เฉยๆ ไม่ได้สำรองแล้วจะ hard reset เครื่อง) จะได้ไม่กินแพ๊คเกจ 3G ของเราอย่างที่ผมบอกครับ (ตอนปิดระบบจะขึ้นคำเตือนมาให้ ก็ไม่ต้องสนใจ ปิดไปได้เลยครับ
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการสำรอง “รายการแอพ+การตั้งค่า”
การสำรองข้อมูล “ข้อความ sms”
- จากหน้าเมนู การตั้งค่า –> สำรองข้อมูล ให้แตะที่ตัวเลือก “ข้อความ sms” แล้วจะเจอเมนู “สำรองข้อมูลข้อความ sms” ตามรูปครับ ให้เปิดมันซะ
- ตรงนี้ให้รอสักครู่ครับ ระบบจะสำรองข้อมูล sms ให้เอง ถ้าเรามี sms มากก็อาจต้องรอนานหน่อย ข้อเสียของเมนูนี้คือการสำรอง sms จะไม่มีบอกเปอร์เซ็นต์ว่าสำรองไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ เราต้องนั่งกะเอาเองครับ แต่โดยทั่วไปก็ไม่นานนะครับ ไม่เกิน 10 นาที (ข้อความน้อยๆอย่างผม 2-3 นาทีก็เสร็จแล้วครับ)
- เสร็จสิ้นขั้นตอนการสำรอง “รายการแอพ+การตั้งค่า
การสำรองข้อมูลภาพถ่าย
- จากหน้าเมนู การตั้งค่า –> สำรองข้อมูล ให้แตะที่ตัวเลือก “ภาพถ่าย” จะเจอหน้าจอดังรูปครับ
- ซึ่งตรงนี้เราสามารถเลือกสำรองได้ทั้งภาพถ่ายและวิดีโอ โดยสามารถเลือกคุณภาพของภาพได้ตามต้องการ แต่ถ้าเราเลือกคุณภาพแบบดีที่สุด ระบบจะสำรองข้อมูลให้ได้เฉพาะตอนที่เราต่อกับ WiFi เท่านั้นนะครับ
- เลือกคุณภาพของภาพที่ต้องการ แล้วก็รอครับ ถ้าภาพถ่ายเยอะก็ใช้เวลานานโขอยู่ครับ – -‘ ผมเลยแนะนำให้โอนผ่านสาย USB จะง่ายกว่าเยอะครับ
เก็บตก
กดซิงค์ซะ ก็เรียบร้อยครับ |
การเรียกคืนข้อมูล (Data restore)
- ทำตามขั้นตอนบนหน้าจอตามปกติของการเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก จนมาเจอหน้าจอให้ sign in ด้วย Microsoft account ตามรูปครับ ก็ให้กด sign in ไปด้วย Microsoft account ของเราที่ใช้งานและได้สำรองข้อมูลเอาไว้ก่อนหน้า
- จากนั้นระบบจะตรวจหาไฟล์ที่เราได้มีการสำรองข้อมูลเอาไว้แล้วแสดงขึ้นมา ตามรูป ก็ให้เราเลือกชื่อของไฟล์ที่เราได้ทำการสำรองข้อมูลเอาไว้ (ดูตรงวันที่ด้วยก็ได้ครับเพื่อความมั่นใจ)
Credit รูปจากเว็บ AAWP ครับ ** ตรงนี้ถ้าเลือก “don’t restore” คือจบเลยนะครับ จะไม่สามารถ restore หรือเรียกคืนข้อมูลได้อีก จนกว่าจะ hard reset หรือ factory reset เครื่องอีกรอบครับ
- จากนั้นกด Next ไปครับ ระบบจะทำการ restore ข้อมูลต่างๆให้ ตามรูป
หน้าจอขั้นตอนการเรียกคืน (Restore) ข้อมูลครับ ** ขั้นตอนนี้ทำใจนิดนึงครับ เพราะระบบจะ download ข้อมูลการตั้งค่าต่างๆที่เราได้สำรองไว้จาก SkyDrive ซึ่งตรงนี้จะเป็นการ download ผ่านอินเตอร์เน็ต และจะเปลืองค่าแพ๊คเกจของเราแน่ๆ แต่ข้อมูลตรงนี้ไม่ได้ใหญ่มาก เพราะเป็นส่วนการตั้งค่าต่างๆ (Settings) เท่านั้น ยังไม่ใช่การโหลดแอพครับ
- เสร็จสิ้นการดาวน์โหลดข้อมูล ในกรณีที่ตอนสำรองข้อมูล เรามีการผูกบัญชีอีเมลหรือบัญชี Social network ต่างๆ ขั้นตอนต่อไประบบจะขึ้นรายชื่อบัญชีเหล่านั้นมาให้ เพื่อให้เรากรอกพาสเวิร์ดของบัญชีเหล่านั้นอีกทีครับ (ขออภัยขั้นตอนนี้ผมลืม capture หน้าจอมาครับ – -‘) ก็ให้เรากรอกพาสเวิร์ดแล้วก็กด next ข้ามไปได้เลยครับ
- จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนบนหน้าจอไปเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นขั้นตอนการเปิดใช้งานเครื่อง (ถึงหน้าจอ Live Tiles หรือหน้าจอเริ่มต้นของการใช้งานเครื่องของเรานั่นเอง)
- จากนั้นระบบจะเริ่มทำการดาวน์โหลดแอพที่เราเคยติดตั้งเอาไว้ในตอนที่เราสำรองข้อมูลมาให้เองโดยอัตโนมัติครับ (ตามรูป)
Credit รูปจากเว็บ AAWP ครับ จากรูปจะเห็นว่าแอพที่อยู่ในคิวจะขึ้นข้อความว่า Pending - เราสามารถตรวจสอบสถานะการติดตั้งแอพต่างๆได้จากเมนู Store ครับ (ตรงนี้จะเห็นรายการแอพที่ดาวน์โหลดเยอะแยะเลย ดังรูป) ทั้งนี้ถ้าแอพไหนขึ้นข้อความ “Attention required” (ผมจำชื่อภาษาไทยไม่ได้จริงๆครับ) แสดงว่าการดาวน์โหลดล้มเหลว ก็ให้แตะที่แอพนั้นเพื่อเริ่มการดาวน์โหลดอีกครั้งครับ
** ในบางกรณี เราก็ไม่สามารถเรียกคืนแอพบางแอพได้ เช่นแอพที่เป็นส่วนการตั้งค่าของเครื่อง (ได้แก่แอพพวก display+touch, audio หรือการตั้งค่าเฉพาะของ Nokia) ซึ่งต้องไปอัพเดทแอพเอาเองทีหลัง หรือบางกรณีที่เราไม่สามารถเรียกคืนแอพได้ก็คือแอพนั้นถูกถอดออกไปจาก Store แล้วครับถ้าลองดาวน์โหลดแอพนั้นซ้ำหลายๆครั้งแล้วยังไม่ได้ เราสามารถแตะค้างที่แอพนั้นๆแล้วจะเจอคำสั่ง “ยกเลิก” หรือ Cancel ซึ่งเราก็สามารถยกเลิกการเรียกคืนแอพนั้นๆไปก่อนได้ครับ
-
Credit รูปจากเว็บ AAWP ครับ - จากนั้นก็รอจนการดาวน์โหลดแอพเรียบร้อย ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการเรียกคืนข้อมูลครับ
เก็บตกการเรียกคืนข้อมูล
- หลังการดาวน์โหลดแอพต่างๆ ขั้นต่อไปสำหรับคนที่โอนไฟล์ต่างๆไปไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์คือ การโอนไฟล์กลับมายังเครื่องโทรศัพท์ของเรานั่นเองครับ ตรงนี้ผมโน๊ตเอาไว้ให้ เผื่อมีคนลืม ^^
- การตั้งค่าหลายๆอย่างอาจจะถูกเรียกคืนมาไม่หมด (เช่นการตั้งค่าความสว่างหน้าจอ, การตั้งค่าการตอบสนองของหน้าจอ ฯลฯ) ซึ่งเราอาจต้องเข้าไปตรวจสอบกันเองอีกทีครับ
- แต่ข้อมูลบัตรเครดิตหรือวิธีการชำระเงินใน Store จะยังอยู่ครบนะครับ แค่เราต้องไปที่เมนู กระเป๋าสตางค์ (Wallet) จากนั้นระบบจะทำการซิงค์ข้อมูลกับ Microsoft account ของเราสักครู่ จากนั้นข้อมูลวิธีการชำระเงินของเราก็จะกลับมาให้เหมือนเดิมครับ)