iPhone 5S เปิดตัวมาแล้วพร้อมกับชิพประมวลผลตัวใหม่ M7 ที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนงงกันว่ามันมีเอาไว้ทำอะไร บางคนถึงกับนึกไป ว่ามันเป็นชิพประมวลผลแบบการ์ดจอแยก ก่อนที่เราจะมั่วกันไปกว่านี้ เรามาดูกันดีกว่าครับว่า จริงๆ แล้ว เจ้า M7 โปรเซสเซอร์ตัวนี้ใน iPhone 5S มันคืออะไร? และมันเอาไว้ทำอะไร?
การเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ อีกครั้ง! สำหรับ iPhone ตัวใหม่ ภายใต้ชื่อ iPhone 5C และ iPhone 5S ทั้งสองตัวมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนครับ เพราะ iPhone 5C ที่มาในสีสันสดใส เป็นตัวเครื่องรุ่นใหม่ ที่ทาง Apple จะเอาเข้ามาจำหน่ายแทน iPhone 5 ตัวเดิมนั้นเอง เปลี่ยนบอดี้เป็นแบบใหม่ วางจำหน่ายในราคาถูกลง (จริงๆแล้ว มันใช่ข่าวน่ายินดีสำหรับผู้บริโภคหรือเปล่า มาถึงตอนนี้ก็ยังคงไม่ค่อยไม่แน่ใจ)
แต่เครื่องที่เป็นตัวน่าสนใจแน่ๆ ก็คือเครื่อง iphone 5S ที่มาในมาดใหม่ เปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในภายนอก แต่เปลี่ยนแปลงมากมายในภายใน นับรวมได้ประมาณสี่ประเด็นหลักที่นับเป็นตัวชูโรงในเครื่อง iPhone 5S จาก Apple หนนี้ครับ นั้นก็คือ Touch ID ระบบแสกนลายนิ้วมือ, เซ็นเซอร์กล้องที่อัพเดทมากขึ้น, หน่วยประมวลผล A7 64-bit ตัวแรกของโลก และ ซิพประมวลผล M7
สิ่งที่พาหลายๆ คนงงงวยที่สุดก็คือเจ้า โปรเซสเซอร์ M7 นี่แหละครับ
M7 คืออะไร?
Apple ได้อธิบายเอาไว้ว่า เจ้า M7 นี่เป็นเพื่อนกันกับ CPU A7 ที่อยู่ในเครื่อง iPhone 5S ครับ มันจะอยู่ข้างๆ เพื่อช่วยในการแบ่งเบาภาระในการวัดข้อมูลการเคลื่อนไหวต่างๆ จากตัวเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ในเครื่อง เช่น accelerometer, gyroscope หรือเข็มทิศ งานเหล่านี้จะเป้นภาระหน้าที่ของเจ้าตัวประมวลผลตัวใหม่ ที่ชื่อว่า M7 นี่แหละครับ
M7 ทำงานอย่างไร?
ตัวประมวลผล M7 จะสามารถทำงานได้อย่างมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นต้องสามารถเข้าถึงการสั่งงานของตัวประมวลผล M7 ได้แล้วเท่านั้นครับ โดยจะเป็นการสั่งงานผ่าน API CoreMotion ที่ทาง Apple เพิ่งจะปล่อยออกไปให้แก่นักพัฒนา ให้นำไปใช้กับแอพพลิเคชั่นของตน และจะช่วยให้แอพพลิเคชั่นนั้นเข้าถึงการติดตามการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ใช้ ผ่านตัวโปรเซสเซอร์ M7 นั้นเองครับ
ทั้งหมดก็เพื่อ “เพิ่มประสิทธิภาพการรับรู้บริบทขององค์ประกอบ และการเป็นไปทั้งหมดของผู้ใช้ในขณะนั้นๆ แก่ตัวโทรศัพท์” จะเป็นการปูเส้นทางอนาคตให้แก่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสุขภาพ หรือแอพที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและข้อมูลร่างกายของมนุษย์ เช่นในแอพพลิเคชั่นอย่าง RunKeeper เป็นต้น
M7 กับประโยชน์ข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่น่าสนใจ สำหรับการเพิ่มชิพประมวลผล M7 เข้าไปใน iPhone 5S ก็คือ ลดภาระการทำงานของ Cpu ตัวหลัก (ที่น่าจะรับประทานพลังงานกันพอสมควรกับ A7 64-bit) ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานในการประมวลผลเพียงเรื่องของเซ็นเซอร์ ไม่จำเป็นต้องใช้พี่ใหญ่มาคิดคำนวนให้เปลืองแบตเหมือนชี่ช้างจับผีเสื้อกันอีกต่อไปครับ
ความสำคัญของ M7 ในอนาคต
ฉัน(ผู้เขียน) คิดว่าความสำคัญของ M7 มันไปไกล และนอกเหนือไปจากที่เราจะพูดถึงการมีอยู่แต่ภายในเครื่อง iPhone 5S เท่านั้น เพราะในมุมมองของการใช้งานเชิงออกกำลังกาย คงไม่ใช่ทุกคนที่จะเอาสายรัดเครื่องสมาร์ทโฟนขนาดจอ 4 นิ้วไว้ที่ต้นแขนกันตลอดเวลา และเมื่อพวกเขาออกไปทำงาน หรือใช้โทรศัพท์ มันก็จะกลับไปอยู่ในกระเป๋าของพวกเขาในทันที
แต่ฉันเห็นอนาคตที่ยิ่งใหญ่กว่าและสำคัญกว่าของตัว M7 ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่กำลังจะหมดความสำคัญไปแล้วเช่น iPod Nano และอาจจะรวมไปถึงผลิตภัณฑ์สวมใส่ร่างกายตัวอื่นๆ (หมายถึงเหล่า Smart Watch ใช่มะ ^^) เพราะเมื่อมีอุปกรณ์ใด ที่จะสามารถมีปฏิสัมพันธ์อยู่กับตัวคุณได้ตลอดเวลา (Smart Watch อีกนั้นแหละ) มันก็สามารถบอกหลายๆ สิ่ง หลายๆ อย่างที่คุณกำลังทำ หรือที่คุณกำลังจะทำได้ เช่นรับรู้ถึงสิ่งที่ต้องกาทิ้งออกไปจากรายการสิ่งที่ต้องทำ (To Do List) เพราะคุณได้เดินทางมาถึงที่หมาย ตามนัดรายการแล้ว
สิ่งเหล่านี้สำหรับ M7 จะมีไว้เพื่ออนาคต ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเครื่อง สมาร์ทโฟนนั้นเองครับ เพียงแค่จุดเริ่มต้นของมัน โดนกำหนดไว้ใน iPhone 5S เครื่องนี้เท่านั้นเอง
ฐานข้อมูล intomobile