Appdisqus วันนี้นำเสนอรีวิว Asus Zenfone 2 Deluxe เป็นหนี่งในสามสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ของทาง Asus ที่ปล่อยออกมาได้น่าสนใจทั้งสามรุ่นครับ ซึ่งจะมี Asus Zenfone Selfie, Zenfone Laser และ Asus Zenfone Deluxe ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นพี่ที่มีสเปคเครื่องสูงที่สุด มีความโดดเด่นในเรื่องของหน่วยความจำขนาด 128GB พร้อมเพิ่มหน่วยความจำได้ด้วย Micro SD card ได้อีก 128GB เรียกว่าจัดเก็บไฟล์กันแบบจุใจกันไปเลย และในสเปคเครื่องส่วนอื่นๆ ก็ถือว่าอยู่ในระดับสูงเช่นกัน Ram ขนาด 4GB หน่วยประมวลผล Intel Atom 2.33 GHz แรงส์เกินจะพอเลยละครับ
เริ่มจากภายนอกกันก่อน ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำรุ่นก็คือฝาหลังที่มีพื้นผิวเหมือนคริสตัลนี่แหละครับ เนื้อวัสดุเป็นพลาสติกแต่ดวยการทำลายเทกเจอร์ให้เกิดการระยิบระยับไปมา ดูแปลกตามากครับ โดยเฉพาะเจ้าเครื่องสีม่วง(น้ำเงิน)ที่ผมได้มารีวิว เป็นสีที่ผมว่าสวยที่สุดของรุ่นเลยละครับ ข้อเสียของมันก็คือ แกะฝาหลังยากไปหน่อย เพราะเนื้อพลาสติกแข็งมาก
ปุ่มเพิ่มเสียงลดเสียงถูกนำมาไว้ด้านหลังเหมือน Asus Zenfone 2 รุ่นอื่นๆ ข้อดีคือกดถนัดและใช้งานเป็นปุ่มชัตเตอร์ถ่ายภาพเซลฟี่ได้ถนัด แต่ผมกลับไม่ชอบตำแหน่งปุ่มพาวเวอร์ที่อยู่ด้านบนเครื่องครับ กดไม่ถนัดเลย และต้องเอื้อมนิ้วขึ้นไปทุกครั้ง
โดยรวมตัวเครื่องออกแบบมาได้ดีครับ โค้งรับการถือจับ แต่บอดี้แอบใหญ่อยู่เหมือนกัน คนมือเล็กๆ อาจจะมีล้นมือกันไปบ้าง แต่หน้าจอขนาด 5.5 นิ้วแบบนี้ก็กำลังน่าใช้จริงๆ ครับ
ปุ่มควบคุมด้านหน้าตัวเครื่อง ปุ่มหลักทั้งสามปุ่มยังคงใช้พื้นที่นอกจอ ปุ่มย้อนกลับ ปุ่มโฮม (กดค้างเป็นปุ่ม Google Now) และปุ่ม Recent App (กดค้างเป็นปุ่มเมนู) ใช้สกรีนสีเงินสะท้อนแสง แต่ไม่มีไฟส่องสว่างนะทั้งสามปุ่มเลย
ตัวเครื่องรองรับการใช้งานสองซิมการ์ดนะครับ โดยซิมแรกจะเอาไว้สำหรับใส่ซิมที่ต้องการเชื่อมต่อ 3G และ 4G ส่วนช่องซิมที่สองรองรับการเชื่อมต่อแบบ 2G เท่านั้น หรือเอาไว้ใส่ซิมที่ต้องการใช้สนทนาเพียงอย่างเดียวนั้นเอง
สเปคเครื่อง Asus Zenfone 2 Deluxe ZE551ML
- หน้าจอแสดงผลขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด Full HD 1920X1080 พิกเซล IPS Corning® Gorilla® Glass 3
- ระบบปฏิบัติการ Android 5.0 (Lollipop)
- หน่วยประมวลผล : ntel® Atom™ Quad Core Z3580 (2.3GHz), PowerVR G6430
- PowerVR G6430
- หน่วยความจำภายใน 128GB (เพิ่มหน่วยความจำผ่าน Micro SD card ได้สูงสุด 128GB)
- แรมขนาด 4GB
- การเชื่อมต่อ WiFi 802.11b/g/n, Micro USB 2.0, Bluetooth 4.0, ชุดหูฟัง 3.5 มิลลิเมตร
- รองรับสองซิมการ์ด SIM1: 2G/3G/4G ทุกเครื่อข่ายในประเทศไทย SIM2: 2G (Call only) Dual SIM Dual Active
- กล้องถ่ายภาพด้านหลังความละเอียด 13 ล้านพิกเซล กล้องถ่ายภาพด้านหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล Wide View
- แบตเตอรี่ขนาด 3,000 mAh
- ราคาเปิดตัว 12,990 บาท
อุปกรณ์ภายในกล่อง Asus Zenfone 2 Deluxe
- ตัวเครื่อง
- คู่มือและใบรับประกัน
- ชุดหูฟังพร้อมยางรอง
- สาย DATA USB
- ที่ชาร์จไฟแรงดันสูง Fast-charging
การใช้งานภายใน
ตัวระบบของทาง Asus Zenfone Deluxe ใช้เป็นแอนดรอยด์ เวอร์ชัน 5.0 บนหน่วยประมวลผลตัวแรงของทาง Intel Atom 2.33GHz 4หัว ให้ประสบการณ์การใช้งานที่เต็
จุดเด่นที่สำคัญของเจ้ารุ่นนี้ก็คือเรื่องของหน่วยความจำที่มีมาให้ภายในเครื่องครับ หน่วยความจำภายในขนาด 128GB (ใช้ได้จริง 111.52GB) แถมใส่เมมโมรี่การ์ดได้เพิ่มอีก 128GB เกินพอจนเกินจะพอสำหรับพื้นที่
รองรับการทำงานสองซิมการ์ด แต่รองรับ 3G และ 4G แค่ซิมการ์ดที่ใส่ไว้ในสล็อตแรกเท่านั้นนะครับ รองรับ 3G และ 4G ทุกค่ายในไทย สามารถกำหนดเปิดปิดการทำงานต่างๆ ของซิมการ์ดได้จากในการตั้งค่าครับ
มีฟังชั่นการใช้งานที่ใส่เข้ามาใน ZenUI หลายตัวที่น่าสนใจ เช่นการใช้ Gesture เพื่อปลุกเครื่องให้เข้าการทำงานตามที่เราต้องการได้โดยตรง เช่นการเคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อปลุกเครื่องหรือล็อกเครื่อง และการกำหนดการวาดตัวอักษรเพื่อการเข้าฟังชั่นอื่นๆ เช่นการวาดตัวอักษร “C” เพื่อเข้าการทำงานของกล้องได้โดยตรงครับ
มีโหมดการทำงานที่อาศัยเซ็นเซอร์ของตัวเครื่อง เช่นการเขย่าเครื่องเพื่อเซฟภาพหน้าจอ หรือการยกเครื่องขึ้นแนบหูเพื่อรับสายที่ติดต่อเข้ามาอัตโนมัติ
หน้าจอ 5.5 นิ่วอาจจะใหญ่เกินไปสำหรับการใช้งานมือเดืยว ถ้าใครนิ้วสั้นๆ มือเล็กๆ เปิดโหมดการใช้งานมือเดียวได้ครับ สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายๆ แค่ดับเบิ้ลทัชปุ่มโฮมด้านล่างสองครั้งเท่านั้นครับ หน้าจอของเครื่องก็จะย่อลงโดยทันทีเลย และดับเบิ้ลทัชอีกครั้งเพื่อให้หน้าจอกลับสภาพเดิมครับ
ทาง Asus ปล่อยให้เราเข้าไปกำหนดค่าอีกหลายส่วนภายเมนูการตั้งค่าที่ชื่อว่า “การตั้งค่าแบบกำหนดเอง” ซึ่งเราสามารถเลือกการทำงานของปุ่ม Recent App (ด้านขวาสุด) เมื่อทัชค้างไว้ให้เป็นการเปิดเมนูหรือเพื่อใช้จับภาพหน้าจอครับ ระบุไฟล์ภาพเซฟหน้าจอต้องการเป็นไฟล์นามสกุลอะไร รวมถึงโหมดถุงมือสำหรับการใช้งานทัชสกรีนขณะใส่ถุงมือได้ครับ
หน่วยความจำมากมายขนาดนี่้ เรายังสามารถเลือกพื่้นที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นได้ครับ ว่าต้องการให้ติดตั้งลงหน่วยความจำเครื่อง หรือจะให้ติดตั้งในหน่วยความจำภายนอกถ้าแอพพลิเคชั่นรองรับ
การตั้งค่าตัวเลือกด่วนใน Notify page
คีย์บอร์ดมีธีมให้เลือกใช้งานหลายแบบครับ มีการเดาคำที่ใช้บ่อย การพิมพ์ทำได้ง่ายครับ หน้าจอใหญ่ๆ แบบนี้ช่วยได้เยอะ และตัวเครื่องแรงพอจะตอบสนองการพิมพ์เร็วได้แบบไม่สะดุดครับ
มีฟังชั่นในการช่วยสำหรับเรื่องพลังงานเข้ามาเยอะครับ แบตเตอรี่ของเครื่อง Asus Zenfone Deluxe มีขนาด 3,000 mAh ผมสามารถใช้งานได้วันต่อวัน แบตไม่ได้อึดมากครับ อยู่ในระดับปกติ
แต่ด้วยระบบการจัดการพลังงานของเครื่อง ที่มีให้เลือกหลายระดับ ผมชอบครับ และผมรู้สึกถึงประสิทธิภาพเครื่องที่ต่างกันระหว่างเปิดโหมดการประหยัดพลังงาน แบตอึดขึ้นแต่เครื่องก็ว่องไวน้อยลง ลองปรับระดับหาโหมดที่พอดีกับความต้องการใช้งานดูครับ แถม Asus Zenfone Deluxe รองรับการชาร์จพลังงานแบบไว 60% ในเวลา 38นาที ด้วยที่ชาร์จแบตเตอรี่ 18W BoostMaster adapter ที่ Asus ออกแบบมาให้ครับ
สามารถใช้ปุ่มปรับระดับเสียงด้านหลังเพื่อเปิดเข้าโหมดกล้องได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าจอก่อนได้นะครับ ทดสอบดูก็ใช้เวลานิดหน่อยครับในการเปิดกล้อง ไม่ได้ไวเท่าไหร่
จำนวนแอพพลิเคชั่นที่ทาง Asus มีไว้ให้สำหรับผู้ใช้เครื่องของเขา ผมนับว่าเป็นระดับต้นๆ เลยครับ เพราะมีแอพบริการเตรียมไว้เพียบ และทุกตัวสามารถจะอัพเดทได้ผ่านทาง Google play Store แทบทั้งหมด โดยทาง Asus ได้เตรียมทางเข้าสำหรับการเช็คการอัพเดทของแอพพลิเคชั่นไว้ต่างหากเอาไว้ ในเมนูหัวข้อ “อัปเดต APP ZenUI”
ผลการทดสอบต่างๆ
การจับตำแหน่งทำได้ไวอยู่ครับ แม้จะอยู่ในอาคารและไม่ได้เปิดอินเตอร์เน็ตช่วย
ทดสอบการเข้าเว็บไซด์ ลื่นไหลสบายๆ ครับ หน้าชัดอ่านตัวหนังสือง่ายๆ
หน้าจอของเครื่อง Zenfone Deluxe มีมุมมองกว้างครับ สีสันดี เราสามารถเข้าไปปรับระดับสี สมดุลสีได้แบบเชิงลึกมากพอสมควรเลยครับ
ทดสอบเล่นเกม HD ประสิทธิภาพเหลือเฟือครับผม เล่นลื่นปริ๊ดๆ กดออกจากเกมจากแอพแทบไม่เจออาการสะอึกใดๆ เลยครับ
ลำโพงตัวเครื่องเสียงดังดีครับ เปิดสุดเสียงไม่แตก คุณภาพระดับทั่วๆ ไป วางหงายตัวเครื่องไม่บังเสียงลำโพงครับ
กล้องถ่ายภาพ
ระบบการถ่ายภาพของ Deluxe ทาง Asus ได้ใส่ฟังชั่นการถ่ายภาพเข้ามาแบบจัดเต็มครับ มีให้ใช้กันสนุก
ตัวอย่างภาพถ่าย
การโฟกัสระยะใกล้ทำได้ไว ตรงจุดครับ
ตัวอย่างภาพถ่ายทั่วไป
โหมดภาพ HDR ที่ตัวเครื่องจะแจ้งเตือนตามสภาพแสงที่เหมาะสม กดเปิดเพื่อเก็บรายละเอียดในจุดมืดของภาพ
โหมดถ่ายภาพด้านหน้าเป็น UI ตัวใหม่ ที่เราสามารถปรับระดับความบิวตี้ของหน้าตาเราได้ถึง 10 ระดับครับ ทั้งขนาดตาโตตาเล็ก คางแหลม และความขาว หน้าใสกันได้ถ้วยหน้าถ้วนตาครับ ^^
สรุปท้ายรีวิว
Asus Zenfone Deluxe นับเป็นเครื่องประสิทธิภาพสูงครับ สเปคคุ้มราคามาก และส่วนตัวผมคิดว่ามันคุ้มราคามากที่สุดเลยครับ สเปคดี หน่วยความจำมโหฬาร 128GB แรม 4GB ฟังชั่นเพียบ ใช้งานกันได้เต็มที่รอบด้านเลยครับ สิ่งที่อาจจะดูเป็นจุดด้อยก็น่าจะเป็นเรื่องของบอดี้ภายนอก ที่ทาง Asus เลือกใช้หน้าตาที่คล้ายกันไปหมดตั้งแต่รุ่นประหยัดยันรุ่นหรู เปลี่ยนแค่ฝาหลังเท่านั้นครับ
[gradeA]