หลังจาก TOT ทีได้มีจดหมายแจ้งไปถึง dtac ว่าได้เลือกให้ dtac เป็นคู่ค้าเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดทำร่างสัญญาสำหรับการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2300 MHz ซึ่งแต่เดิมเป็นของทาง TOT ซึ่งวันนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งเป็นสาระสำคัญของการดีลครั้งนี้มาฝากกันครับ
คณะกรรมการบริษัท TOT มีมติเห็นชอบร่วมกัน ให้กลุ่มบริษัท dtac trinet จำกัด ภายใต้สัญญาที่ดีที่สุดที่ยื่นมาจากทั้งสามบริษัท ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและผลตอบแทน โดยภายในสัญญาที่ dtac เสนอให้แก่ TOT จะให้ Teleassets หนึ่งในบริษัทสาขาของ dtac เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้สร้างเครือข่ายด้วยเป้าหมายการจัดให้มีสถานีฐานจำนวนประมาณ 20,000 กว่าแห่งขึ้นมาเพื่อนำมาให้ TOT เช่าใช้งาน และจะถูกนำไปให้บริการภายใต้การบริหารของทาง TOT เองทั้งหมด และทาง dtac จะเป็นผู้เข้าไปซื้อพื้นที่ประมาณ 60% ของโครงข่ายนั้นจากทาง TOT มาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งตามสัญญาฉบับนี้จะทำให้ TOT ได้รับรายได้ปีละ 4,510 ล้านบาท ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้นั้นเองครับ
คลื่นความถี่ไร้สาย 2300 MHz เป็นความถี่ที่มีแบนด์วิดท์บนคลื่นความถี่เดียวที่กว้างที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทยเรา เพราะมีขนาดเต็มถึง 60 MHz (2310 – 2370 MHz) และจะถูกนำมาให้บริการในรูปแบบ 4G LTE-TDD ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศเราครับ เพราะตามปกติในเมืองไทยบ้านเรา ผู้ให้บริการจะนิยมให้บริการเป็นในรูปแบบ FDD มาโดยตลอด นี้เป็นครั้งแรกที่มีการหยิบ TDD มาเปิดใช้งานในบ้านเรา
ซึ่งความแตกต่างของ FDD และ TDD ก็คือ FDD หรือ Frequency Division Duplex เป็นการแบ่งคลื่นความถี่ออกเป็นสองส่วนสำหรับการ Upload และ Download แยกจากกัน ข้อดีคือการสามารถใช้งานทั้งขารับและขาส่งได้พร้อมๆ กันในเวลาเดียวกันได้ ส่วน TDD หรือ Time Division Duplex เป็นการแยกช่วงการ Upload และ Download แบบสลับช่วงเวลาบนคลื่นเดียวกัน ข้อดีคือควบคุมความสำคัญในการใช้งานตามพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ง่าย
หลายคนอาจจะเกิดความกังวลว่า ในการใช้งานบนระบบ LTE TDD จะให้ประสิทธิภาพมากเพียงพอหรือไม่? ซึ่งทาง dtac ได้ให้ความเห็นในเชิงบวกกับเทคโนโลยีตัวนี้เอาไว้ “LTE TDD อาจจะเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งานส่วนใหญ่ เพราะในปัจจุบันมักมีการนิยมดาวน์โหลดข้อมูลและวิดีโอ มากกว่าการอัปโหลด และด้วยเทคโนโลยี LTE-TDD จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ให้บริการสามารถจัดสรรช่องสัญญาณเพื่อรองรับการดาวน์โหลดให้มากกว่าช่องสัญญาณอัปโหลดได้ และหากผู้ใช้งานมีการพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยน ผู้ให้บริการก็สามารถปรับเปลี่ยนการจัดสรรช่องสัญญาณได้ตามต้องการตามไปด้วยได้เช่นกัน”
ไม่ใช่แต่กำลังจะเป็นของใหม่แค่ในประเทศไทย เพราะความนิยมของตลาด LTE-TDD ในระดับโลกก็กำลังเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ ด้วยเช่นกัน ปัจจุปันก็มีสมาร์ทโฟนนับร้อยรุ่นที่รองรับการใช้งานบนเครือข่าย 2300 MHz ซึ่งเมื่อเช็คดูจากตาราง LTE frequency bands แล้วเครื่องที่จะใช้เจ้า 2300 Mhz LTE-TDD ตัวนี้ได้ ก็คือเครื่องที่ระบุว่ารองรับ LTE bands 40 นั้นเอง ซึ่งปัจจุปันสมาร์ทโฟนที่ทาง dtac จัดจำหน่ายก็อยู่ก็มีถึง 70% ที่รองรับและพร้อมใช้งานครับ
โดย dtac และ TOT ตั้งเป้าร่วมกันด้วยคำสัญญาที่จะขยายพื้นที่โครงข่ายบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ครอบคลุมประชากรร้อยละ 80 ของประเทศเราให้ได้ และคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงรวมถึงได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดภายในไตรมาสสี่ของปีนี้ครับ