ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้สมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปเป็นที่เรียบร้อย เพราะนอกจากที่มันจะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดที่ช่วยเชื่อมเรากับโลกภายนอกแล้ว (โทร ข้อความ เล่นเน็ต) มันยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์บันเทิงส่วนตัวที่เรานิยมใช้กันเป็นอย่างมาอีกด้วย เพราะตั้งแต่ที่ไทยเราเปิดรับเอาสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ เข้ามา เริ่มจาก Joox ที่เป็นแอพพลิเคชั่นใช้งานฟังเพลงอันดับหนึ่งของไทย ณ ตอนนี้ หรือสาย Apple เองก็ยังมี Apple Music อีก ส่วนสายเน้นดูหนังดูวิดีโอนั้นก็มี Youtube ที่เป็นผู้ให้บริการฟรีรายหลัก รวมไปจนถึง NetFlix และ iFlix สำหรับความบันเทิงที่เน้นฝั่งตะวันตก หรืออย่าง Viu เพื่อนแฟนซีรีส์เกาหลีอีก เรียกได้ว่าในปัจจุบันนี้แทบไม่มีเวลาไหน (นอกจากเวลานอน) ที่เราจะไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้งานดาต้าบนมือถือกันเลยทีเดียว
พอพูดถึงเรื่องดาต้าบนมือถือ อีกหนึ่งสิ่งที่หลายๆ คนรู้กันเป็นอย่างดีก็คือมันมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่เราต้องเสียให้กับผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งเมื่อบวกรวมไปกับค่าใช้จ่ายรายเดือนหรือรายปีที่เราต้องจ่ายให้กับผู้ให้บริการทางฝั่งสตรีมมิ่งอีก รวมกันก็เรียกได้ว่าหลายตังค์ต่อเดือนทีเดียว แต่ยังถือเป็นโชคดีกับชาวไทยที่สำหรับประเทศไทยนั้นขึ้นชื่อลือชาเหลือเกินในเรื่องความถูกของราคาดาต้าทั้งกับฝั่ง Boardband Internet และฝั่ง Mobile Data แต่ถึงแม้ว่าจะถูกอย่างไร มันก็ยังคงเป็นค่าใช้จ่ายของเราอยู่ดี ดังนั้นในยุคที่ค่าครองชีพโดยรวมสูงขึ้นแบบนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่าการใช้บริการสตรีมมิ่งแต่ละแบบนั้นมีอัตราการกิน Mobile Data (4G / 3G / Edge / GPRS) ของเรามากน้อยเพียงใด เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้โปรโมชั่นการใช้งานดาต้าที่เหมาะสมกับเรามากที่สุดได้
การฟังเพลงออนไลน์
(Joox / Apple Music / Tidal / Spotify / Deezer / Fungjai และแอพพลิเคชั่นค่ายวิทยุต่างๆ)
ในขณะที่บางบริการในบ้านเราอย่าง Joox, Tidal, Spotify มีออฟชั่นให้สมาชิกเลือกที่จะฟังเพลงในระดับ Super-HQ ได้ (ในกรณีของ Joox จะต้องสมัครสมาชิกแบบ VIP) หลายๆ บริการจากผู้ให้บริการทั่วไปเช่น Apple Music, Fungjai หรือ Deezer นั้นยังคงมีให้เลือกสูงสุดถึงแค่ระดับคุณภาพเสียงแบบ High เท่านั้น โดยมีไล่มาตั้งแต่ Low (คุณภาพเสียงต่ำสุด), Normal (คุณภาพเสียงปกติ), High (คุณภาพเสียงระดับสูง) และ Super-HQ (คุณภาพเสียงสูงสุดสำหรับเหล่า Audiophile) แถมบางทียังมายาวไปถึงลูกเล่นของระบบเสียงที่อาจมี DTS มากำกับอีกที ซึ่งในแต่ละระดับขั้นความคมชัดของเสียงนั้น ส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการแทบทั้งหมดจะใช้ Bitrate มาเป็นตัวกำหนด โดย Bitrate คือจำนวน Bit ที่สามารถส่งออกมาในรูปแบบดิจิตอลได้ในเวลาหนึ่งวินาที ซึ่งเจ้า Bitrate นี้เองที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงเพลงที่เราฟัง รวมไปจนถึงกำหนดความมากน้อยของดาต้าการใช้งานอินเตอร์เน็ต (4G/3G) ของเราที่ต้องสูญเสียไปจากการฟังเพลงด้วย และนี่คือค่าเฉลี่ยโดยประมาณของการกินดาต้าในการฟังเพลงแต่ละรูปแบบ
- Low Quality นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไฟล์บิตเรต 96kbps ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะเสียดาต้าเวลาที่ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 0.72MB ต่อนาที หรือ 43.2MB ต่อชั่วโมงนั่นเอง
- Normal Quality จะอยู่ที่ 160kbps ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะเสียดาต้าเวลาที่ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 1.20MB ต่อนาที หรือประมาณ 72MB ต่อชั่วโมง
- High Quality จะอยู่ที่ 320kbps ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะเสียดาต้าเวลาที่ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 2.40MB หรือประมาณ 115.6MB ต่อชั่วโมง
- Super-HQ Quality จะค่อนข้างแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ให้บริการ โดยสำหรับ Joox นั้นจะมีการแจ้งเตือนว่าอาจมีการเสียดาต้าการใช้งานถึงประมาณ 30MB ต่อเพลงเลยทีเดียว
ในทีนี้ขอให้โน็ตคำว่า “โดยประมาณ” เอาไว้นะครับ เนื่องจากหลายๆ บริการเช่นบริการอย่าง Apple Music และ Beats Music นั่น ผู้ให้บริการจะมีการปรับคุณภาพบิตเรตตามรูปแบบการเชื่อมต่อของผู้ใช้บริการ เช่นในกรณีของ Apple ว่ากันว่าหากใช้ Mobile Data (4G /3G) คุณภาพเพลงจะถูกปรับให้อยู่ในระดับ 128kbps ในขณะที่หากใช้งานผ่าน WiFi นั้นคุณภาพเสียงจะอยู่ที่ 256kbps AAC แต่อีกหลายๆ บริการเช่น Spotify และ Google Play Music นั้นจะใช้พรีเซ็ตที่เราแจกแจงไว้ด้านบนเป็นตัวแปรในการแบ่งแยกคุณภาพเสียงแต่ละคุณภาพออกจากกัน เว้นแต่จะมีการปรับเปลี่ยนเองโดยผู้ใช้งานในการตั้งค่าของแอพพลิเคชั่นต่อไป
การดูหนัง ดูวิดีโอ ดูซีรีส์ออนไลน์
(Youtube / Netflix / iFlix / Viu / Prime / HBO / AIS Play / TrueVision และบริการดูหนังออนไลน์อื่นๆ)
อย่างที่พอจะคาดเดากันได้นั่นล่ะครับ การสตรีมมิ่งวิดีโอนั้นกินดาต้า 4G/3G ของเรามากกว่าการฟังเพลงเยอะมากๆ อย่างแน่นอน เพราะไฟล์วิดีโอนั้นมีภาพเป็นส่วนประกอบหลักของไฟล์ด้วย ซึ่งเมื่อมีภาพซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากมาเป็นส่วนประกอบแบบนี้ ความเร็วในการดาวน์โหลดที่พัฒนาโดยค่ายมือถือแต่ละค่ายนั้นจึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยให้บริการสตรีมมิ่งวิดีโอไม่สะดุดนั่นเอง เพราะเหตุนี้ผู้ให้บริการมือถือจึงมีการออกแพคเก็จที่แตกต่างกันออกไป โดยหลายๆ แพ็คเกจจะถูกพ่วงด้วยคำว่า Unlimited หรือไม่จำกัดปริมาณการใช้งานเมื่อใช้งานถึงจุดๆ หนึ่งที่ความเร็วสูงสุดแล้ว โดยส่วนใหญ่จะห้อยท้ายการใช้งานเมื่อเกินปริมาณดาต้ากันเอาไว้ที่ 384kpbs ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานเข้าอินเตอร์เน็ตและฟังเพลงทั่วไป แต่ไม่เพียงพอต่อการรับชมวิดีโอคุณภาพสูง ทำให้ประสบปัญหาที่เจอกันคือดูวิดีโอแล้วกระตุกเมื่อหมดโควต้าเน็ตเต็มความเร็วนั่นเอง
ทั้งนี้โดยปกติแล้วผู้ให้บริการทางฝั่งวิดีโอสตรีมมิ่งจะมีการตั้งค่าระบบให้มีการสตรีมไฟล์ในคุณภาพที่ต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้บริการใรขณะนั้น เพื่อให้ประสบการณ์การรับชมของผู้ใช้บริการไม่ติดขัด ยกตัวอย่างเช่นหากเพื่อนๆ ใช้โปรโมชั่นอินเตอร์เน็ตเต็มสปีดได้จำนวน 20GB หลังจากนั้นจะถูกปรับลงเหลือ 384kbps แบบไม่จำกัด แอพพลิเคชั่นอย่าง Youtube, Netflix, iFlix, Viu และอื่นๆ ก็จะให้เพื่อนๆ ได้ชมวิดีโอที่คุณภาพสูงระดับ HD ได้เรื่อยๆ จนหมดโควต้า 20GB ก่อนจะปรับคุณภาพวิดีโอลงมาเหลือต่ำสุดเมื่อเกินจากนั้นไป เพื่อให้สามารถสตรีมบนความเร็ว 384kbps ได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง
เพื่อการประเมินการใช้งานและเลือกแพ็คเกจที่เหมาะสมกับเรา ลองมาดูกันดีกว่าว่าคุณภาพวิดีโอในแต่ละแบบนั้นมีอัตรากันกินเน็ต 4G/3G ของเราประมาณเท่าไหร่
- Low Quality Video นั้นถือเป็นวิดีโอที่มีคุณภาพต่ำสุด ต่ำชนิดที่บ่อยครั้งหน้าเบลอเป็นแผ่นกระเบื้องกันเลยทีเดียวเมื่อดูผ่านหน้าจอมือถือที่มีความชมชัดสูงอย่างในยุคปัจจุบัน โดยจะมีความคมชัดอยู่ที่ประมาณ 240p – 320p ซึ่งจะกินดาต้าที่ประมาณ 0.3GB (300MB) ต่อชั่วโมง
- SD Quality Video หรือ Standard Definition Video นั้นก็ตามชื่อเลย เป็นไฟล์วิดีโอที่มีคุณภาพบิตเรตในระดับมาตรฐาน ซึ่งความคมชัดจะอยู่ที่ 480p โดยจะกินดาต้าประมาณ 0.7GB (700MB) ต่อชั่วโมง
- HD Quality Video หรือ High Definition Video จะเป็นวิดีโอที่มีความคมชัดอยู่ที่ 720p – 2K ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตในขณะที่ใช้งานซึ่งจะถูกประเมินโดนตัวแอพพลิเคชั่นเอง โดยคุณภาพวิดีโอแบบ HD Quality นี้จะกินดาต้าการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 0.9GB (900MB บนความคมชัด 720p), 1.5GB (1500 – 1600MB บนความคมชัดระดับ 1080p Full HD) และ 3GB (3072MB บนความคมชัดระดับ 2K) ต่อการรับชมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
- UHD Quality Video หรือ Ultra High Definition Video เป็นความคมชัดในระดับ 4K ซึ่งกินการใช้งานดาต้าสูงสุด โดยจะกินอยู่ที่ประมาณ 7.2GB (7373MB) ต่อการรับชมเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเลยทีเดียว
เช่นเดียวกันกับการฟังเพลงออนไลน์ จำนวนดาต้าที่ใช้งานในวิดีโอแต่ละรูปแบบนี้เป็นเพียงแค่ค่าเฉลี่ยประมาณการเท่านั้น โดยอ้างอิงค์จากเอกสารชี้แจงของ Netflix ต่อรูปแบบคุณภาพของวิดีโอในแต่แบบ ซึ่งในส่วนของการชมวิดีโอสตรีมมิ่งนั้น แต่ละผู้ให้บริการจะมีการบีบอัดไฟล์และการตั้งค่าพรีเซ็ตของไฟล์ที่แตกต่างกันออกไปตามคุณภาพและความเร็วของอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้งานในขณะนั้น รวมไปจนถึงคุณภาพการเก็บแคชไฟล์ของตัวมือถือที่ใช้งานในการรับชมเองด้วย
สรุปปริมาณความบันเทิงที่คุณสามารถทำได้ในแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตที่ตามจำนวนดาต้าการใช้งานที่มีให้เลือกในตลาดบ้านเราในหลายๆ ค่ายผู้ให้บริการในปัจจุบันนี้
หากคุณเลือกแพ็คเกจดาต้าใช้งานได้ความเร็วสูงสุดได้เต็ม 8GB
- 190 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ low-quality
- 114 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ normal-quality
- 71 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ high-quality
- 27 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ low-quality
- 11 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ standard definition
- 9 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 720p
- 5 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 1080p
- 2.6 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 2K
- 1.1 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 4K
หากคุณเลือกแพ็คเกจดาต้าใช้งานได้ความเร็วสูงสุดได้เต็ม 20GB
- 474 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ low-quality
- 284 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ normal-quality
- 177 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ high-quality
- 68 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ low-quality
- 29 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ standard definition
- 22.5 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 720p
- 13 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 1080p
- 6.6 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 2K
- 2.7 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 4K
หากคุณเลือกแพ็คเกจดาต้าใช้งานได้ความเร็วสูงสุดได้เต็ม 30GB
- 711 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ low-quality
- 426 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ normal-quality
- 265 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ high-quality
- 102 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ low-quality
- 43.5 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ standard definition
- 34 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 720p
- 20 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 1080p
- 10 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 2K
- 4.1 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 4K
หากคุณเลือกแพ็คเกจดาต้าใช้งานได้ความเร็วสูงสุดได้เต็ม 50GB
- 1,185 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ low-quality
- 711 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ normal-quality
- 177 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ high-quality
- 170 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ low-quality
- 73 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ standard definition
- 56 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 720p
- 34 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 1080p
- 16.6 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 2K
- 6.9 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 4K
หากคุณเลือกแพ็คเกจดาต้าใช้งานได้ความเร็วสูงสุดได้เต็ม 75GB
- 1,777 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ low-quality
- 1066 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ normal-quality
- 664 ชั่วโมงสำหรับการฟังเพลงแบบ high-quality
- 256 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ low-quality
- 109.5 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ standard definition
- 85 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 720p
- 51 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 1080p
- 25 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 2K
- 10.4 ชั่วโมงสำหรับการดูวิดีโอแบบ 4K
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลดีๆ ที่ APPDISQUS นำมาฝากกันครั้งนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ช่วยให้เพื่อนๆ เลือกแพ็คเกจดาต้าที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองกันมากขึ้นนะครับ แล้วอย่าลืมติดตามเราไว้เพื่อพบกับสาระดีๆ แบบนี้กันต่อไป เพื่อนๆ จะได้ไม่พลาดทุกการอัพเดตในแวดวง IT ไทยไปไกลยัง