Blancco Technology Group เผยความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการใช้งานจากตัวระบบของสองระบบปฏิบัติการชื่อดังที่สุดของโลกอย่าง iOS และ Android ประจำไตรมาสที่สองของปีพบว่า Android 1 ใน 4 เครื่องทั่วโลกเจอปัญหาระบบปฏิบัติการล้มเหลว ซึ่งมากกว่าปัญหาเดียวกันในระบบ iOS ถึงเกินสองเท่า โดย Android นั้นมีเปอร์เซ็นที่ 25% ในขณะที่ iOS นั้นมีเปอร์เซ็นการล้มเหลวของระบบปฏิบัติการที่ 12% แต่ที่น่าสนใจคือในขณะที่อเมริกาเหนือนั้น Android มีเปอร์เซ็นล้มเหลวของระบบปฏิบัติการทิ้งห่างจาก iOS ไปมาก แต่เมื่อดูกันที่ในทวีปเอเชียแล้ว iOS กับมีเปอร์เซ็นการล้มเหลวของระบบปฏิบัติการมากกว่า Android แบบทิ้งขาดเลยทีเดียว โดย iOS นั้นล้มเหลวอยู่ที่ 60% ในขณะที่ Android นั้นอยู่ที่ 28% ในทวีปเอเชีย
นับจากเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2560 นี้ Samsung เป็นแบรนด์ที่มีมือถือที่เกิดความผิดพลาดด้านระบบปฏิบัติการมากที่สุด โดยมีตัวเลขอยู่ที่ 61% ในขณะที่อันดับสองนั้นคือ LG ซึ่งมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 11%
หากดูจากรายงานแล้ว เมื่อแตกย่อยออกมาเป็นมือถือที่เกิดการล้มเหลวด้านระบบปฏิบัติการมากสุด 5 อันดับแรกนั้นเป็นของ Samsung หมดเลย โดยเครื่องที่ล้มเหลวมากสุดคือ Samsung Galaxy S7 Edge, Galaxy S5 และ Galaxy S7 ซึ่งมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 6% ในขณะที่ Samsung Galaxy S7 Active และ Galaxy Express Prime นั้นมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 4% ซึ่งหากขยับตัวเลขจาก 5 อันดับต้นไปเป็น 10 อันดับแล้ว Samsung ก็ยังคงกินตำแหน่งไปมากถึง 9 อันดับเลยทีเดียว
สำหรับทางฝั่ง iOS นั้น iPhone รุ่นที่มีปัญหาเรื่องการล้มเหลวของระบบปฏิบัติการสูงสุดนั้นเป็นของ iPhone 6 ที่ 26% ในขณะที่ iPhone 6s และ iPhone 5s นั้นตามมาที่ 11%
ปัญหาที่ถูกแจ้งมากที่สุดของ iPhone ประจำไตรมาสที่สองนั้นคือเรื่องของความร้อนจากตัวเครื่อง (11%) ตามมาด้วยปัญหา WiFi (9%) ปัญหาการรับสัญญาณ (6%) ปัญหาเรื่องหูฟังเฮดโฟน (5%) และปัญหาเรื่องหูฟังเฮดเซ็ต (4%)
เมื่อดูกันทางฝั่ง Android นั้น ผู้ใช้งานมาปัญหากับประสิทธิภาพตัวเครื่องมากสุดที่ 25% ตามมาด้วย USB (11%) การชาร์จแบตเตอร์รี่ (11%) คุณภาพสัญญาณโทรศัพท์ (9%) และหน้าจอ (3%)
ปัญหาเรื่องแอพพลิเคชั่นปิดตัวเองบน iOS ตลอดไตรมาสที่ 2 นั้นมีสูงถึง 54% ซึ่งมากกว่าไตรมาสแรกมา 8% และยังมากกว่า Android ในไตรมาสเดียวกันนี้อีกถึก 5 เท่าตัวเลยทีเดียว โดยแอพพลิเคชั่นที่ปิดตัวเองบ่อยสุดบน iOS นั้นคือแอพโซเชียลอย่างพวก Instagram และ Facebook Messenger ซึ่งปิดตัวเองอยู่ที่ 8% (พัฒนาโดย Facebook ทั้งคู่) ในขณะที่ Pinterest นั้นปิดตัวเองที่ 6% ส่วน Facebook และ Google นั้นอยู่ที่ 5% ส่วนแอพชื่อดังอื่นๆ ก็มี Snapchat ที่ 4% WhatsApp ที่ 3% และ YouTube ที่ 3% นั่นเอง
ส่วนเมื่อว่ากันทางฝั่ง Android แล้ว แอพที่มีปัญหาและปิดตัวเองบ่อยสุดในไตรมาสที่สองนี้คือ Facebook ที่ 12% ตามมาด้วย Address Book ที่ 5% Google Play ที่ 4% Facebook Messenger ที่ 2% และ Weather ที่ 2%
ที่น่าสนใจคือเปอร์เซ็นแอพพลิเคชั่นที่ปิดตัวเองใน iOS นั้นสูงกว่า Android มากจนมดนี้ ซึ่งออกแนวขัดแย้งความรู้สึกจากการใช้จริงๆ ของตัวเองหน่อยๆ ก็ต้องดูกันต่อไปว่าเหตุผลนั้นจะเกิดจากอะไรกันแน่