หลังจากที่ JAS ไม่ไปจ่ายค่าประมูลให้กับ กสทช. และมีแนวโน้มว่าทาง กสทช. จะจัดการประมูลรอบใหม่ ส่วนราคาเริ่มต้นยังตกลงเป็นที่แน่ชัดไม่ได้ ทำให้ทาง true ผู้ชนะการประมูลครั้งก่อน(พร้อมกับ JAS) ได้ส่งหนังสือถึง กสทช. เพื่อกดดันให้ กสทช. ยึดมั่นในความยุติธรรม และให้ความเป็นธรรมกับ true ด้วย นั่นคือ หาก กสทช.ประมูลคลื่นฯ ใหม่ ขอราคา JAS ชนะ เป็นราคาตั้งต้น แต่หากได้ไม่ถึง ให้ กสทช.ลดค่าคลื่นของทรู ให้เท่ากับ ราคาที่ชนะประมูล”รอบใหม่ โดยเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวได้ระบุดังข้อความต่อไปนี้
โดยกลุ่มทรูในฐานะที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สนับสนุน กสทช. เร่งประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ใหม่โดยเร็ว ย้ำต้องโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม เป็นต้นว่า
- จัดประมูลใหม่เพื่อให้ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่มีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุนที่บริษัทฯต้องรับภาระอยู่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า
- ราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 MHz ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่ แจส ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาทภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หรือหากครั้งใหม่ประมูลชนะในราคาต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท ก็ควรปรับลดราคาค่าคลื่นของทรูที่ต้องชำระให้แก่ กสทช. ลงมาเท่ากับราคาที่ผู้ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ครั้งใหม่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันทางการค้า
Advertisement Advertisement Advertisementบริษัทฯ มีความมั่นใจว่า หาก กสทช. จะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ดังกล่าวใหม่นั้น จะดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่โดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่อย่างโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม คำนึงถึงผลกระทบภาพพจน์ของประเทศชาติและผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่สนใจของนักธุรกิจและนักลงทุนทั่วไปในภาคส่วนต่างๆ ทั่วโลก กล่าวคือ การประมูลคลื่นความถี่คราวนี้ มีผู้เข้าประมูลสี่ราย มีผู้ยอมแพ้ออกจากการประมูลสองราย มีผู้ชนะการประมูลให้ราคาสูงสุดสองรายคือแจสและบริษัทฯ แต่มีเพียงบริษัทฯ ผู้เดียวที่ปฏิบัติตามพันธะผูกพันทางการเงินตามเงื่อนไขการประมูล แต่แจสซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลที่สู้ราคาถึง 75,654 ล้านบาท ไม่ปฏิบัติตามพันธะผูกพันทางการเงินต่อ กสทช.
หาก กสทช. จะจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่แจสเคยประมูลชนะแต่ไม่ชำระเงิน ก็ควรที่จะจัดประมูลใหม่เพื่อให้ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่มีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุนที่บริษัทฯต้องรับภาระอยู่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า และเพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามพันธะผูกพันการเงินต่อ กสทช. และผู้ที่แพ้ไม่ยอมประมูลสู้ราคาในการประมูลคราวก่อน กลับกลายเป็นได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้ากับบริษัทฯ ซึ่งชนะการประมูลและเป็นผู้เดียวที่ปฏิบัติตามพันธกรณีกับ กสทช. ตัวอย่างเช่น กสทช. ควรตั้งราคาเริ่มต้นการประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 MHz ที่ราคาเดียวกันกับที่ แจส ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับที่ใช้อยู่กับบริษัทฯ
หรือในกรณีที่ผู้ประมูลในครั้งใหม่นี้ประมูลชนะในราคาต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท ก็ให้ปรับลดราคาที่บริษัทฯ จะต้องชำระค่าคลื่นให้แก่ กสทช. ที่บริษัทฯชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ลงมาเท่ากับราคาที่ผู้ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ครั้งใหม่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน เพื่อให้บริษัทฯผู้ชนะการประมูลและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การประมูลไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันในการให้บริการ มิฉะนั้นแล้ว การปฏิบัติที่ทำให้ผู้ที่ผิดหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามพันธะผูกพันการเงินต่อ กสทช. และผู้ที่แพ้ไม่ยอมประมูลสู้ราคาในการประมูลคราวก่อน ได้เปรียบในการแข่งขันทางการแข่งขันกับบริษัทฯ ซึ่งชนะการประมูลและเป็นผู้เดียวที่ปฏิบัติตามพันธกรณีกับ กสทช. จะเป็นที่ครหาและดูแคลนของนักลงทุนและนักธุรกิจนานาชาติที่จับตาดูเรื่องนี้อยู่
นอกจากนี้ การดำเนินการต่าง ๆ ก็ไม่ควรที่จะให้ เครือเอไอเอส สามารถใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าหารายได้โดยที่เอไอเอสไม่ต้องจ่ายค่าใช้คลื่น 900 MHz เพราะนักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนานาประเทศ รวมทั้งสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ให้การสนับสนุนการประมูลของบริษัทฯ ก็สับสนไม่เข้าใจว่าเหตุใดบริษัทฯผู้ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ต้องแบกภาระการลงทุนสร้างโครงข่ายและจ่ายเงินเพื่อใช้คลื่นความถี่ ในขณะที่เครือเอไอเอสผู้แพ้การประมูลกลับสามารถใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHzที่ชนะโดยแจสได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าคลื่นเพื่อหารายได้ เช่นนี้จะเกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันให้บริการได้อย่างไร เหมือนกับว่าการประมูลในประเทศนี้
การแพ้หรือชนะการประมูลไม่มีความหมาย เพราะผู้แพ้การประมูลก็สามารถใช้คลื่นได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าผู้ชนะการประมูลได้ สำคัญกันที่ว่าใครจะมีอุบายหรือลูกเล่นกันอย่างไร เช่นนี้จะเป็นสร้างความไม่มั่นใจแก่นักลงทุนต่างประเทศ และจะเป็นการชี้นำให้ผู้เข้าประมูลอื่นๆหาช่องทางที่จะใช้อุบายหาทางเอาเปรียบในเชิงการแข่งขันกันต่อไปในอนาคต การที่เครือเอไอเอสเข้าใช้คลื่นย่าน 900 MHz นี้จึงควรที่จะต้องมีภาระค่าใช้คลื่นตามสัดส่วนของราคาค่าประมูลคลื่นเช่นกัน