ปัจจุบันนี้โลกหมุนไวไปถึงยุคที่สมาร์ทโฟนกินส่วนแบ่งทางการตลาดไปแทบที่จะเรียกว่า 100% แล้ว เอาเป็นว่าเดินไปตามท้องถนน คุณสามารถเดาสุ่มมั่วได้เลยว่าใครถือสมาร์ทโฟนบ้าง โดยโอกาสถูกนั้นคงมากยิ่งกว่าคำทำนายของนอสตาดามุสซะอีกนะเออ แต่ในจำนวนนั้นจะมีสีกกี่เปอร์เซ็นต์กันเชียวที่สามารถใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนได้อย่างคุ้มค่าจริงๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วก็มีไว้เพื่อโทรออกและรับสายเท่านั้น (ซึ่งไปใช้ฟีเจอร์โฟนเอาก็ได้ ไม่ต้องมาเครียดเรื่องแบตเตอร์รี่ด้วย) ดังนั้นเพื่อเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนสมาร์ทตามยุคสมาร์ทโฟนจริงๆ วันนี้อเล็กซ์และ APPDISQUS มีวิธีการง่ายๆ โดยเริ่มจากการเรียนรู้และใช้งานแอพพลิเคชั่นของร้านค้าหรือผู้ให้บริการต่างๆ ในประเทศไทย ที่สามารถใช้แทนบัตรสมาชิกสะสมแต้มหรือเงินสดได้จริงโดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรแข็งแท้ๆ ไปไหนมาไหน เรียกได้ว่านอกจากจะใช้สมาร์ทโฟนอย่างคุ้มค่าแล้ว ยังประหยัดเนื้อที่ในกระเป๋าของคุณได้อีกบาน ลดปัญหากระเป๋าบานแฟนทิ้งไปได้อีกด้วยนะ
โดยในบทความนี้เราจะมาแนะนำ 5 แอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้แทนบัตรจริงได้จากผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ในบ้านเราที่โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีบัตรสมาชิกกันอยู่แทบทุกคน หากพร้อมแล้ว เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า
[section label=”เทสโก้โลตัส” anchor=”tesco-lotus”]
- Tesco Lotus (แอพพลิเคชั่นหลักจากเทสโก้โลตัส – ใช้ในการแจ้งโปรโมชั่น แจกคูปองส่วนลดรายวัน และสะสมแต้มคลับการ์ดโดยไม่ต้องใช้บัตรจริง)
คงไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงอะไรกันมากอีกแล้วกับร้านค้าขายส่งขนาดมหึมาสาขาบานตะไทอย่างห้างดอกบัวเทสโก้โลตัส (หรือที่บ้านเราเรียกกันสั้นๆ ว่าโลตัส) ห้างที่เป็นห้างไฮบริดลูกผสมที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นห้างร้านของไทยแท้ๆ ภายใต้แบรนด์โลตัส (ดอกบัว) ก่อนที่ต่อมาจะถูก Tesco เข้าซื้อกิจการจริงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเทสโก้โลตัสในที่สุด เรียกได้ว่าตอนนี้มีกันอยู่ทุกพื้นที่ ทุกหย่อมหญ้า หรือแม้จะห่างไกลจากตัวเมืองหน่อยก็ยังมี Tesco Lotus Express เปิดให้บริการกันอีกต่างหาก และเพราะเหตุที่มีจุดให้บริการอย่างกว้างขวางนี้เอง เทสโก้โลตัสจริงเป็นห้างขายปลีก-ส่งที่มีชาวไทยถือบัตรสมาชิกอยู่มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศเลยทีเดียว
เทสโก้โลตัสเองมีแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android ที่มาช่วยเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสาร คูปองส่วนลด หรือแม้แต่การเก็บข้อมูลบัตรคลับการ์ด เพื่อลดปัญหาเรื่องการเก็บคูปองกระดาษและการต้องพกพาบัตรแข็งคลับการ์ดของสมาชิกออกมาเช่นเดียวกัน โดยข้อดีของการใช้งานแอพพลิเคชั่นเทสโก้โลตัสนั้นโดยส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่การได้รับแจ้งคูปองส่วนหมดใหม่ๆ ที่เรียกได้ว่าแทบจะรายวันเลยทีเดียว นั่นทำให้คุณเป็นลูกค้าของเทสโก้โลตัสในแบบสมาร์ทๆ ไม่ต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนเหมือนเดินเข้าไปซื้อแบบดุ่มๆ ได้อย่างง่ายดายจากหน้าจอมือถือของคุณ
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Tesco Lotus: iOS / Android
[section label=”บิ๊กซี” anchor=”big-c”]
- Big C (สั่งซื้อออนไลน์และเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าและบัตรสมาชิก Big C)
เมื่อมีโลตัส จะขาดบิ๊กซีไปก็คงไม่ใช่ เพราะนี่คืออีกหนึ่งร้านค้า ปลีก-ส่ง ยอดนิยมของคนไทยที่มีสินค้าและสาขาให้ได้เลือกใช้บริการอยู่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย แม้ในพื้นที่ๆ อาจไม่ใช่เมนหลักก็ยังมี Mini C ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าสปินออฟภายใต้แบรนด์ Big C ที่สามารถใช่สิทธิประโยชน์ของสมาชิกได้เท่าเทียมกับในห้างหลักเลยทีเดียว เพราะเหตุนี้เองคนไทยแทบทุกครัวเรือนจึงมีบัตรสมาชิกของ Big C เก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์กันแทบทุกคน
แต่หากเนื้อที่ใในกระเป๋าคุณมันเต็มเพราะมีเจ้าบัตรสมาชิก Big C เป็นหนึ่งในตัวการแล้วล่ะก็ APPDISQUS ไม่อยากให้คุณมองข้ามแอพพลิเคชั่นของ Big C ไปที่จะช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรสมาชิก Big C ของคุณเป็นเรื่องง่าย แถมหากคุณไม่มีเวลาหรือไม่ต้องการไปเดินช็อปถึงที่ แอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังเอื้อให้คุณสามารถช็อปปิ้งสนุกออนไลน์กับ Big C ผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้เลยอีกด้วย เรียกได้ว่าสะดวกสุดๆ ไปเลยทีเดียว
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Big C Mobile Shopping: iOS / Android
[section label=”สตาร์บักซ์” anchor=”starbucks”]
- Starbucks (แอพพลิเคชั่นแทนบัตรสะสมแต้มและบัตรแทนเงินสดของ Starbucks ประเทศไทย)
กาแฟกับชีวิตคนในวันวุ่นวายถือเป็นของคู่กันมาก อย่างอเล็กซ์เองหากวันไหนขาดอเมริกาโน่เย็นไม่ใส่น้ำตาลจะเป็นอะไรที่ชีวิตมึนงงไปทั้งวันเลยทีเดียว หนึ่งในเชนกาแฟใหญ่ระดับโลกและยักษ์ในประเทศไทยคงหนีไม่พ้น Starbucks ที่เป็นดั่งขวัญใจชาวกาแฟสดและมีผู้ถือบัตรสะสมแต้ม (ที่ทำหน้าที่เป็นบัตรแทนเงินสดด้วย) ของตัวเองอยู่มากมายโดยอาจไม่ทราบว่า Starbucks เองนั้นมีแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนออกมาให้ใช้กันแล้ว โดยใช้ได้ครอบคลุมทั้งการเก็บสะสมคะแนน (หรือดาวสำหรับ Starbucks ประเทศไทย) และการใช้แทนเงินสดเหมือนอย่างที่บัตรสมาชิกทำได้เลยทีเดียว
ความดีงามของ Starbucks ส่วนหนึ่งคือการใช้ Barcode มาเป็นรูปแบบในการจ่ายเงิน กล่าวคือคุณต้องเติมเงินผ่านบัตรเครดิตเข้าไปในบัตรสมาชิกผ่านทางหน้าเว็บของ Starbucks ก่อนจากนั้นก็จะสามารถใช้บาร์โค๊ดหรือบัตรสมาชิกที่เป็นบัตรแข็งในการจ่ายเงินได้ทันที (เพราะมีบาร์โค๊ดฝังอยู่บนตัวบัตร) ด้วยความที่มันใช้บาร์โค๊ดเป็นช่องทางหลักนี้ ทำให้เพื่อนๆ สามารถจ่ายเงินได้โดยการเปิดบาร์โค๊ดบัตรของตัวเองขึ้นมาผ่านทางแอพพลิเคชั่นของ Starbucks หรือใครที่ใช้สมาร์ทวอชค่ายต่างๆ ที่สามารถเก็บรูปไว้ในเครื่องได้ก็สามารถเก็บบาร์โค๊ดของ Starbucks ไว้ใช้บนสมาร์ทวอชได้เช่นเดียวกัน ทำให้สามารถจ่ายเงินและสะสมแต้มได้แม้จะไม่มีมือถืออยู่กับตัวเลยทีเดียว (ผมเองใช้ Apple Watch ในการจ่ายเงินเป็นหลักกว่า iPhone 6 Plus เสียอีก เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาล้วงเครื่องออกมาให้วุ่นวายครับ โดยผมเก็บบาร์โค๊ดไว้ใน Apple Wallet โดยการใช้แอพพลิเคชั่น Stocard เจ็นบาร์โค๊ดของเราแล้วเก็บไว้ใน Apple Wallet โดยตรง)
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Starbucks Thailand: iOS / Android
[section label=”คาเฟ่อเมซอน” anchor=”cafe-amazon”]
- Cafe Amazon (แอพพลิเคชั่นแทนเงินสดคาเฟ่อเมซอน)
[one_half]
เมื่อมี Starbucks ก็ต้องมี Cafe Amazon ซึ่งเปรียบเสมือนเพื่อนรักนักเดินทางตัวจริง เหตุเพราะ Cafe Amazon นั้นสาขาในการเข้าถึงมีเยอะมากเพราะนอกจากจะมีอยู่ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำแล้ว เจ้านกแก้วแห่งป่าอเมซอนยังเป็นเพื่อนยามยากให้นักเดินทางเดินการแฝงตัวอยูตามปั๊มน้ำมัน ปตท ทั่วทั้งประเทศไทยอีกด้วย เพราะเหตุนี้ Cafe Amazon จึงเป็นหนึ่งในร้านเชนกาแฟสดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีลูกค้าใช้บริการอย่างเนืองแน่นทุกวันด้วยสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่ายและราคาที่ไม่โหดร้ายเกินไปนักสำหรับคนที่ชื่นชอบกาแฟสดนั่นเอง Cafe Amazon เองก็มีแอพพลิเคชั่นเป็นของตัวเองเช่นเดียวกันโดยใช้ชื่อว่า Amazon SmartPay โดยเป็นแอพพลิเคชั่นที่เพื่อนๆ สามารถใช้แทนเงินสดในการจ่ายเงินชำระค่าสินค้าทุกรายการใน Cafe Amazon ได้โดยไม่จำเป็นต้องพกเงินสด[/one_half]
[one_half_last]
อย่างไรก็ตามยังถือว่าแอพพลิเคชั่น Amazon SmartPay นั้นยังต้องการการพัฒนาอีกมากทีเดียว สาเหตุหลักๆ คือเรื่องของความไม่สะดวกในการเติมเงินเข้าบัตรที่ต้องทำผ่านหน้าร้าน Amazon Cafe เท่านั้น (ใช้บัตรเครดิตก็ไม่ได้) และอีกประการสำคัญคือข้อจำกัดบัญชีที่หากผู้ใช้งานมีการเปลี่ยนเครื่องมือถือใช้งานจะไม่สามารถใช้บัญชีสมาชิกเดินได้ และเงินที่คงเหลือในบัญชีสมาชิกเดิมก็โอนมาที่แอพพลิเคชั่นบนเครื่องใหม่ไม่ได้ ซ้ำร้ายกว่านั้นคือหากต้องการเงินในบัญชีเดิมคืนต้องไปติดต่อขอคืนจากที่ทำการ ปตท สาขาใหญ่แผนก SmartPay เท่านั้น เรียกได้ว่าแทบจะตัดแขนตัดขาผู้ใช้บริการกันเลยทีเดียว แถมสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการใช้งานผ่าน Amazon SmartPay นั้นก็น้อยนิดจนแทบไม่ได้รู้สึกแตกต่างอะไรไปจากการใช้เงินสดซื้อเลย นอกจากจะทำให้มันยุ่งยากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น[/one_half_last]
อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่พูดถึงเป็นไม่ได้เลยคือเรื่องของการสะสมคะแนน PTT Blue ที่เจ้าแอพพลิเคชั่น Amazon SmartPay ไม่สามารถลิงก์กับบัญชี PTT Blue ได้ ทำให้หากต้องการสะสมคะแนน คุณยังคงต้องพกบัตร PTT Blue ติดตัวไปเพื่อยื่นให้พนักงานเก็บแต้มให้เสมอ นี่คือหนึ่งสิ่งที่ ปตท และบริการ Amazon SmartPay ควรที่จะคิดพัฒนารองรับและแก้ไขบริการบนแอพพลิเคชั่นของตนเองโดยด่วนเพื่อให้ตอบโจทย์ชีวิตแบบสมาร์ทติดเทรนด์สมาร์ทโฟนปัจจุบันนี้ของคนทั่วไปให้ได้อย่างแท้จริง
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Amazon SmartPay: iOS / Android
[section label=”PTT Blue” anchor=”ptt-blue”]
- PTT Blue (แอพพลิเคชั่นแทนบัตรสะสมคะแนนและแลกรับสิทธิ์พิเศษทุกการใช้จ่ายในเครือ ปตท.)
จะเรียกว่าไม่ต้องใช้บัตรซะทีเดียวก็คงจะไม่ได้สำหรับแอพพลิเคชั่น PTT Blue สำหรับสมาชิกที่สะสมคะแนนกับร้านค้าและผลิตภัณฑ์ในเครือ ปตท. (รวมทั้งการเติมน้ำมัน) ซึ่งมีพันธมิตรเข้าร่วมโครงการด้วยกันอย่างมากมายและคับคั่ง (Daddy Dough เองก็เก็บแต้มได้นะครับ หลายๆ คนอาจไม่ทราบในส่วนนี้ โดยการคิดแต้มเหมือน Jiffy และ Amazon เลย คือ 20 บาทต่อ 1 แต้มสะสม) ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเบื้องหลังคือ ปตท. ซึ่งเป็นแบรนด์ปั๊มน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว คนไทยหัวใจสมาร์ททั้งหลายล้วนแล้วแต่น่าจะเป็นสมาชิกกับบัตร PTT Blue อยู่ทั้งนั้นอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ที่บอกว่าจะเรียกว่าแอพพลิเคชั่นสามารถใช้แทนบัตรซะทีเดียวไม่ได้นั้นก็เพราะเวลาที่เพื่อนๆ จะสะสมคะแนน PTT Blue เพื่อนๆ ยังต้องแสดงบัตรสมาชิกเพื่อสะสมแต้มอยู่เสมอ ไม่สามารถสะสมได้โดยการใช้แอพพลิเคชั่นเพียงอย่างเดียวเช่นเดียวกับแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้หากต้องการใช้แต้มในบัตรเพื่อแลกของรางวัลนั้นเพื่อนๆ สามารถใช้เพียงแอพพลิเคชั่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรแข็งแสดงได้ในหลายๆ รายการ ดังนั้นเราจึงสามารถเก็บบัตรแข็งไว้ในรถ เอาไว้ใช้ยื่นเวลาเก็บแต้มก็พอ ถือว่าประหยัดเนื้อที่ในกระเป๋าสตางค์เช่นเดียวกัน
PTT BLUE มีพันธมิตรเข้าร่วมโครงการด้วยมากมาย ซึ่งผู้ใช้สามารถเก็บแต้มสะสมได้แม้แต่ยอดจากการซื้อโดนัทจากร้าน Daddy Dough หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านทาง Zalora.co.th และสามารถนำแต้มไปแลกของรางวัลได้มากมาย รวมไปจนถึงการแลกเอาบัตรภาพยนตร์ในเครือของ SF ด้วยเช่นกัน
ณ ตอนนี้แอพพลิเคชั่น PTT Blue หรือแม้แต่ตัวบัตรเองยังไม่สามารถใช้ในการชำระค่าน้ำมันหรือค่าสินค้าแทนเงินสดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่สามารถใช้ตัวแอพพลิเคชั่นเข้ามาจัดการกับแต้มสะสมรวมไปจนถึงของรางวัลได้นั้นก็ทำให้การใช้งาน PTT Blue ง่าย และตอบโจทย์ผู้ใช้วัยสมาร์ทอย่างพวกเราได้ดีทีเดียว
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น PTT Blue Card: iOS / Android
[section label=”อื่นๆ” anchor=”others”]
- แอพพลิเคชั่นสะสมคะแนนอื่นๆ ที่ยังต้องใช้คู่กับบัตรหลัก
นอกจากแอพพลิเคชั่นที่พูดถึงไปในข้างต้นแล้ว ปัจจุบันนี้ผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ในประเทศไทยก็ยังออกมาตอบรับเทรนด์การใช้ชีวิตแบบสมา์ทบนสมาร์ทโฟนสุดรักของเราเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในเครือเซ้นทรัลกรุ๊ปที่มีบัตรสมาชิก The One Card ออกมาให้นักช็อปได้ถือกัน ซึ่งก็มีแอพพลิเคชั่นภายใต้ชื่อเดียวกับว่า The One ด้วย แต่ทั้งนี้บริการที่มอบให้ผ่านทางแอพพลิเคชั่นนั้นยังทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรนัก และส่วนใหญ่แล้วยังจำเป็นต้องใช้บัตรหลักพ่วงกับการใช้งานด้วยเสมอ เช่นเดียวกันกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำอย่างฟิวเจอร์ปาร์กรังสิต (Future Park Rangsit) เองที่ก็มีแอพพลิเคชั่นให้ดูยอดคะแนนสะสมชื่อ Future Park และอื่นๆ อีกมากมายที่เกินกว่าจะพูดถึงได้หมด แต่ APPDISQUS เห็นว่ายังตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบสมาร์ทได้ไม่ดีเท่าที่ควรนักจึงไม่ได้หยิบยกมาพูดถึงกัน ทั้งนี้ทันทีที่แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นมีการอัพเดต เราจะนำมารายงานเพื่อนๆ และเพิ่มเข้าในลิสแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ชีวิตสมาร์ทอีกครั้งนี้
หากเพื่อนๆ มีแอพพลิเคชั่นใดๆ ที่อยากนำเสนอ หรือใช้แอพตัวไหนอยู่เป็นประจำ อย่าลืมคอมเมนต์พูดคุยกันได้บทความเพื่อประโยชน์ของทีมงานและนักท่องเว็บทุกๆ ท่านนะครับ