อริสต้า เน็ตเวิร์กส์ (Arista Networks) เปิดตัวแพลตฟอร์มสวิตช์แบบโมดูลาร์ Arista 7500 ช่วยให้ลูกค้าสามารถขยายเครือข่ายคลาวด์ (Cloud Network) ที่รองรับเซิร์ฟเวอร์ได้มากกว่า 100,000 เครื่อง รวมถึงเวอร์ช่วลแมชชีน (Virtual Machine) ได้ถึง 1 ล้านเครื่อง โดยนับเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายแรกที่สนับสนุนระบบคลาวด์ (Cloud), บิ๊กดาต้า (Big Data), สตอเรจ (Storage), เว็บ 2.0 (Web 2.0) และเวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) บนแพลตฟอร์มเดียว ด้วยความยืดหยุ่นของซอฟต์แวร์ Arista EOS (Extensible Operating System) ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ด้วยตนเอง ลูกค้าจึงสามารถสร้างเครือข่ายอัตโนมัติ เพื่อก้าวสู่การเป็น Software Defined Networks.
รองรับพอร์ต 10/40/100GbE ปริมาณมาก
Arista 7500E รองรับพอร์ต 10GbE จำนวน 1,152 พอร์ต, 40GbE จำนวน 288 พอร์ต หรือ 100GbE จำนวน 96 พอร์ต ซึ่งทำให้ Arista 7500E เป็นสวิตช์อีเธอร์เน็ตสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความเร็วสูงสุดและรองรับการขยายได้มากที่สุด สิ่งที่แตกต่างที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมากของ Arista 7500E เมื่อเทียบกับ Arista 7500 รุ่นแรก มีดังนี้:
– แบนด์วิธเพิ่มขึ้น 3 เท่า สามารถรองรับข้อมูลได้ถึง 30 เทราบิตต่อวินาที
– บัฟเฟอร์ข้อมูลเพิ่มขึ้น 3 เท่า ได้สูงถึง 144 กิกะไบต์ต่อสวิตช์
– Control Plane มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3 เท่า
– ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น 3 เท่า โดยอยู่ที่ระดับน้อยกว่า 4 วัตต์ต่อพอร์ต 10GbE
– นับเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมสำหรับไลน์การ์ดที่รองรับความเร็ว 10/40/100GbE บนไลน์การ์ดเดียว
– L2 และ L3 Table ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
– ความสามารถของ Wire-speed VXLAN บนทุกพอร์ต
“7500E Series นับเป็นความสำเร็จทางวิศวกรรมที่สำคัญ ด้วยอัตราการถ่ายโอนข้อมูล (Throughput) สูงสุดในอุตสาหกรรม และความสามารถที่เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับ Arista 7500 รุ่นแรกในทุกแง่มุม เช่น ประสิทธิภาพ จำนวนพอร์ตที่รองรับ และการประหยัดพลังงาน โดยไม่ต้องอัพเกรด Chassis” แอนเดรียส เบคทอลไชม์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาของอริสต้า กล่าว “สวิตช์รุ่นใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานสวิตช์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะสามารถรองรับเวิร์กโหลดที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน (most demanding workloads) ได้อย่างง่ายดาย”
ไลน์การ์ดสามารถปรับความเร็วของพอร์ตได้ 3 ระดับ
Arista 7500E ประกอบด้วยไลน์การ์ดใหม่ ไลน์การ์ดสำหรับ10/40/100 Gigabit Ethernet และครั้งแรกในอุตสาหกรรมกับไลน์การ์ดที่รองรับความเร็ว 10/40/100G บนไลน์การ์ดเดียว ด้วย MXP (multi-speed-port) optic ที่สามารถกำหนดค่ความเร็วของแต่ละพอร์ตได้ ดังนั้นเมื่อมองดูที่ราคาต่อแบนด์วิธ (price per bandwidth) จะคุ้มค่ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์อื่นในท้องตลาด และ 100GbE ไลน์การ์ดรองรับความเร็ว 3 ระดับทำให้เมื่อมองดูราคาต่อแบนด์วิธแล้วจะต่ำกว่าผลิตภัณฑ์สวิตช์ 100Gb Ethernet อื่นในตลาดปัจจุบัน
“การรองรับอินเทอร์เฟซ 40GbE และ 100GbE ได้จำนวนมาก, แพ็คเก็ตบัฟเฟอร์ที่มากกว่า, ฟีเจอร์ SDN และความแข็งแกร่งของ EOS ทำให้ Arista 7500 เป็นหัวใจสำหรับเครือข่ายของเรา” เบนจามิน นาธาน ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานไอทีจาก Weill Medical College of Cornell University กล่าว “อริสต้ายังคงมุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถในการเปิดให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟต์แวร์ EOS บนแพลตฟอร์ม Linux โดยนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราตัดสินใจเลือกใช้ 7500E เพื่อตอบสนองระบบบิ๊กดาต้า (Big Data) ของเรา”
EOS พร้อมด้วยนวัตกรรม SDN แซงหน้าคู่แข่งในอุตสาหกรรม
Arista 7500E พร้อมด้วย Arista EOS นำเสนอความสามารถด้านระบบเครือข่ายที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ (Software Defined Networking) ซึ่งรองรับการควบคุมด้วยโปรแกรม การตรวจสอบ (Monitoring) อย่างมีประสิทธิภาพ และการแก้ปัญหาแบบอัตโนมัติในทุกแง่มุมของสวิตช์ รวมถึง:
– VXLAN Gateway ที่มีความเร็วแบบ wire-speed รองรับระบบเวอร์ช่วลไลซ์บนเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานหลายราย
– การตรวจสอบ (Monitoring) แทรฟฟิกขั้นสูงอย่างแม่นยำ ด้วย Arista LANZ, DANZ และ Tap Aggregation
– Rapid Automated Indication of Link-Loss (RAIL) สำหรับการทำงานอย่างรวดเร็วในส่วนของการวิเคราะห์บิ๊กดาต้าและแอพพลิเคชั่น Hadoop
– VM Tracer สำหรับการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดทั่วเครือข่าย และเวอร์ช่วลไลเซชั่นในระบบคลาวด์ VMware และ OpenStack
– การตรวจสอบสถานะของระบบด้วย Health Tracer ที่ทำงานแบบเรียลไทม์
สถาปัตยกรรมเครือข่ายคลาวด์แบบสากล
เครือข่ายคลาวด์ได้ปรับใช้สถาปัตยกรรมในลักษณะ (Leaf-spine architecture) โดยใช้โหลดบาลานซิ่ง Layer-3 เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าด้วย Arista 7500E เปรียบเสมือนหัวใจหลัก (Spine) ขณะที่ Arista 7150/7050 เป็นส่วนต่อขยาย (Leaf) ส่งผลให้โครงสร้างเครือข่ายดังกล่าวสามารถรองรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 100,000 เครื่อง ทำให้รองรับขนาดเวิร์กโหลดแบบไดนามิกในระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) หรือระบบคลาวด์ภายในองค์กร (Private Cloud) รวมถึง Hadoop, Big Data, สตอเรจ (Storage), Web 2.0, ฟาร์ม VM และเน็ตเวิร์กเวอร์ช่วลไลเซชั่น