เปิดตัวเทคโนโลยีเพื่อการแพทย์ เซ็นเซอร์ขนาดจิ๋วแทรกเข้าสู่เส้นเลือด เพื่อการแสกนหัวใจแบบ 3D
โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการตายสำหรับทั้งชายและหญิงในอัตราส่วนที่สูงมากในโลกใบนี้ครับ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา หลอดเลือดอุดตันจากโรคหลอดเลือดหัวใจฆ่าชีวิตไปมากกว่า 385,000 คนต่อปี นักวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียได้พัฒนาอุปกรณ์ขนาดเล็กที่พวกเขาหวังว่าจะลดสถิติการตายจากโรคเหล่านี้ได้ จากชิปขนาดเล็กจิ๋วที่เหมือนไฟฉายนำทางในการค้นหาสิ่งอุดตันภายในหลอดเลือดแดง
ชิปขนาดจิ๋ว เป็นซิลิกอนขนาด 1.4 มิลลิเมตร แสดงภาพ 3 มิติแบบเรียลจากภายในหัวใจ ใช้เทคโนโลยี CMOS ที่เราพบเห็นได้จากในกล้องโทรศัพท์มือถือและเว็บแคม ช่วยให้เราได้ข้อมูลกว่าร้อยองค์ประกอบโดยผ่านสายส่ง 13 สายเล็ก ๆ เพื่อพาเจ้าชิปตัวนี้ เดินทางผ่านหลอดเลือดไปได้อย่างง่ายดาย ประมวลผลสัญญาณที่ส่งจากตัวอุปกรณ์แปลงเป็นสัญญาณอัลตราซาวนด์และได้ภาพภายในเป็นแบบ 3มิติไปพร้อมๆ กัน
แม้ปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ที่สามารถให้ภาพภายในของหัวใจและหลอดเลือด แต่พวกมันทำได้แค่ให้ภาพในมุมตัดขวาง ซึ่งไม่ได้ช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลจากภาพที่ดูง่ายและเข้าใจที่สุดจากบริเวณพื้นที่ภายในร่างกายที่พวกเขากำลังทำงานอยู่
ในแถลงการณ์ของ F. Levent Degertekin จาก GIT ตั้งข้อสังเกตว่า “ถ้าอุปกรณ์สามารถทำให้แพทย์ที่กำลังทำงานเห็นทุกอย่างภายในเส้นเลือดในระหว่างการตรวจสอบและการผ่าตัด จะช่วยให้แพทย์เหมือนมีไฟฉายนำทาง ให้พวกเขาสามารถมองเห็นการอุดตันภายในเส้นเลือดจากมุมมองด้านหน้าของพวกเขาในหลอดเลือดแดง ”