NFT หรือ “Crypto Art” กำลังเป็นที่คึกคักของศิลปิน และนักศิลปะหลายคนที่นำภาพดิจิ ทัลจำหน่ายผ่านทางคริปโตอาร์ต เช่นเดียวกันกับ นิตยสารการ์ตูนไทย ‘ขายหัวเราะ’ ที่เป็นหนึ่งในวงการศิลปะการ์ตู นเองก็ได้ขยับเข้าสู่ตลาด เช่นกัน โดยผลงานชิ้นแรก คือภาพดิจิทัลปกขายหัวเราะฉบั บแรก ที่ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1973 และพร้อมลงนาม วิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการของขายหัวเราะ ซึ่งได้มีนักสะสมไม่ประสงค์ ออกนาม ซื้อภาพดิจิทัลนี้แล้วเมื่อวั นที่ 2 เมษายน 2021 โดยมีมูลค่า 17.3 ETH หรือ $34,492.74 ดอลลาร์สหรัฐ
นางสาวพิมพ์พิชา อุตสาหจิต กรรมการบริหาร บริษัทวิธิตากรุ๊ป จำกัดพูดถึงมุมมองต่อตลาดศิลปะ NFT ว่า ตลาดศิลปะ NFT เป็นโอกาสใหม่ที่น่าสนใจมาก เพราะลักษณะของ NFT เหมาะกับงานศิลปะ โดยเฉพาะงานที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว มีความ limited edition ทำออกมามีชิ้นเดียวไม่ซ้ำกับชิ้ นอื่นๆ ในโลก อีกทั้งการเกิดขึ้นของตลาด NFT ทำให้การซื้อขายงานศิลปะที่ หายากได้ง่ายขึ้นในโลกดิจิตัล สะดวก เข้าถึงง่าย ตรวจสอบได้ ในรูปแบบ CryptoArt ซึ่งช่วยสนับสนุน eco-system ทั้งในฝั่ง creator และ collector รวมถึง investor ด้วย
“ขายหัวเราะในฐานะแบรนด์ creator การ์ตูนไทย มีภารกิจที่จะผลักดันผลงานการ์ ตูน และคาแรกเตอร์ให้เติบโตต่ อยอดไปในทุกช่องทางที่ใกล้ชิดกั บผู้คน และช่องทางตลาดใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งตลาด NFT ได้เปิดโอกาสใหม่หลายมิติให้ วงการศิลปะ รวมถึงผลงาน ‘การ์ตูนและคาแรกเตอร์’ ต่างๆ ของขายหัวเราะ ไม่ใช่แค่ในเชิงของช่ องทางการขาย แต่ยังรวมถึงลูกเล่ นการนำเสนอผลงานและการจั ดแสดงผลงาน และยังช่วยเพิ่มมูลค่ าของผลงานศิลปะด้วย ต่อไปในอนาคตนอกจากผลงานศิ ลปะคลาสสิกหายากต่างๆ จากขายหัวเราะแล้ว แฟนๆ ขายหัวเราะและนักสะสมอาจจะได้ เห็น CryptoArt รูปแบบใหม่ๆ ที่สนุกและสร้างสรรค์กว่าเดิม เป็นอีกหนึ่งสีสันในวงการศิ ลปะและนักลงทุน รวมถึง Creative Economy ในประเทศไทย” พิมพ์พิชา อุตสาหจิตกล่าวทิ้งท้าย