Ze-Booc Page 811 minipad เป็นอีกหนึ่งแท็บเล็ตที่ไม่ได้มาจากแบรนด์หลักในบ้านเราครับ เป็นแท็บเล็ตนำเข้ามาจำหน่ายจากจีนตามกระแสนิยม เพราะตอนนี้มีผู้ใช้กลุ่มใหญ่ๆที่มองหาแท็บเล็ตแอนดรอยด์ราคาประหยัดเอาไว้ใช้งานในยามเหงา ไม่ต้องแพง ไม่ต้องแรง แค่ใช้ได้ในสิ่งที่ต้องการถือเป็นอันพอใจ เสียหายหรือเบื่ออยากซื้อใหม่ก็ไม่ค่อยน่าเสียดาย เพราะราคาถูกกว่ากันเป็นกองในระดับประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน
แต่ใช้ว่าเครื่องที่นำเข้ามาจำหน่ายเหล่านี้จะไม่มีผู้รับประกันสินค้านะครับ เมื่อมีผู้ที่มั่นใจในสินค้าที่จะเอาเข้ามาจำหน่าย เขาก็มั่นใจในการรับประกันสินค้าของเขาเช่นกันครับ เทคโนโลยีจากจีนไม่เคยธรรมดา มีตั้งแต่ถูกคาดไม่ถึง ยันสินค้าแพงเกรดพรีเมี่ยมระดับโลก วัสดุและการประกอบที่นำมาใช้ในปัจจุปัน เผลอๆดีกว่าสินค้าแบรนด์อินเตอร์ที่ออกมาวางขายในราคาแพงกว่าเท่าตัวซะอีกครับ
แต่จะเลือกซื้อของพวกนี้ก็ต้องดูดีๆในเรื่องการรับประกันนะครับ มีชื่อและที่ตั้งของบริษัทนำเข้าชัดเจนมั้ย ร้านค้าที่ซื้อเชื่อถือได้มากแค่ไหน จุดนี้สำคัญ ต้องพูดถึงก่อนจะเข้าเรื่องรีวิวอุปกรณ์ในลำดับถัดไปครับ
สำหรับ Ze-Booc 811 เครื่องนี้ผมเจอในโปรโมชั่นของทาง Lazada ลดราคาอยู่เหลือ 3,790 บาท ประกันหนึ่งปี ดูจากสเปคและราคาแล้วน่าลองครับ ^^ เลยขอจัดมารีวิวให้เพื่อนๆชนชั้นมัธยัสถ์แบบเดียวกันกับผมได้เอาไว้เป็นข้อมูลครับ (แต่ตะกี้เข้าไปเช็คราคาล่าสุดแว๊บๆว่า สินค้าหมดสต๊อคไปแล้ว ใครสนใจก็ลองเข้าไปเช็คดูกันวันหลังได้ครับ ที่นี่ Lazada )
ตัว Ze-booc-811 จะมีออกมาสองสีครับ นั้นคือสีขาวอยางเครื่องของผม และสีดำอีกสีหนึ่งก็ดูเท่ไม่เบานะครับ (แต่ผมชอบสีขาว ^^) ซึ่งอุปกรณ์ภายในกล่องหลังจากลองเปิดดูแล้วก็จะมีรายการดังต่อไปนี้ครับ
- ตัวเครื่อง Ze-Booc Page 811 8″
- สาย USB cable
- คู่มือการใช้งาน
- Power adapter
- สาย USB OTG
- ใบรับประกัน
- และแถมฟรี caseแบบ Flip Cover ตรงรุ่น พร้อมฟิล์มกันรอย
- Micro SD card 4 GB
Flip Cover แบบตรงรุ่น เป็นของแถมอีกชิ้นนึงครับ สวยดี ^^
วีดีโอแกะกล่อง Ze-Booc Page 811 8″
สเปคเครื่อง Ze-Booc Page 811 8″
- หน้าจอแสดงผลขนาด 8 นิ้ว TFT-LCD ความละเอียด 800×600 พิกเซล
- CPU ประมวลผล ARM Cortex A8 Processor ความเร็ว 1.2 GHz
- Ram ขนาด 1 GB
- GPU Mali 400
- หน่วยความจำภายใน 8 GB (รองรับ Micro SD card เพิ่มเติม สูงสุด 32 GB)
- แบตเตอรี่ขนาด 4200 mAh
- Android 4.0.4
- mini HDMI / micro USB /AC/DC input 100 240V
- กล้องหลัง 2 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 0.3 ล้านพิกเซล
- ขนาดตัวเครื่อง 198x155x10.5 มิลลิเมตร
Ze-Booc Page 811 ตัวเครื่องด้านหน้าเป็นจอขนาดแปดนิ้ว เรียบเกลียงไม่มีลายมีแต่กล้องหน้าอยู่บริเวณมุมเครื่อง ส่วนด้านหลังเป็นโลหะผิวเรียบ สกรีนโลโก้ ZE-Booc ผิวสัมผัสดูดีการประกอบแน่นหนาไม่ก๊อกแก๊ก
ด้านล่างใต้เครื่องเต็มไปด้วยพอร์ตเชื่อมต่อสารพัดอย่าง ทั้ง Micro USB ที่ใช้ได้ทั้งในการชารจ์ไฟและเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกอย่าง คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือแม้แต่เสียบ Flashdrive ผ่านสาย OTG อีกทั้งยังใช้กับ 3G Aircard ได้ด้วยครับ
รูหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 mm และพอร์ตเชื่อมต่อจอภาพ mini HDMI ข้างๆเป็นรูสำหรับอุปกรณ์ชาร์จไฟที่มีมาให้ในกล่อง ทำให้เจ้าตัว Ze-Booc Page 811 เลือกชาร์จไฟได้สองทางครับ และก็ช่องใส่ Micro SD card ที่รองรับสูงสุดที่ขนาด 32 GB
การเชื่อมต่อมากมายจริงๆครับ
ปุ่มเปิดปิดเครื่องและใช้เปิดปิดหน้าจอ ก็อยู่ในด้านนี้ของเครื่องอีกด้วยครับ Ze-Booc Page 811 สามารถเซฟภาพหน้าจอได้ด้วยการกดปุ่ม power นี้ร่วมกับปุ่มลดเสียงพร้อมๆกันครับ แต่กดเซฟลำบากพอสมควร
ที่แยกออกมาคือปุ่มปรับระดับเสียง +/- และปุ่มย้อนกลับ ที่ปกติเครื่องแอนดรอยด์ส่วนใหญ่จะไม่มีปุ่มนี้มาให้ครับ
กล้องหลังตัวหลักขนาดสองล้านพิกเซล เอาไว้ให้ถ่ายเล่นยามจำเป็น อย่าหวังอะไรมากครับกล้องบนแท็บเล็ต เดี๋ยวท้ายบทความจะเอาภาพที่ถ่ายด้วยเจ้าZe-Booc Page 811 มาฝากครับ
โดยรวมก็ถือว่าเป็นแท็บเล็ตที่สวยดีครับ แม้จะราคาไม่ถึงสี่พันบาท แต่ดูดีกว่าราคาไปมากพอสมควรเลยครับ สำหรับจุดเด่นของรุ่นนี้ก็คือขนาดหน้าจอที่มีให้มา 8 นิ้ว เป็นขนาดหน้าจอของแท็บเล็ตขนาดกลางๆแต่กว้างกว่าทั่วๆไปที่มักจะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 7 นิ้ว ทำให้ Ze-Booc Page 811 ได้ขนาดในเรื่องหน้าจออีกนิดหน่อยในรูปทรงที่ใกล้เคียงกันครับ
การใช้งานภายใน
จะบอกว่าเหมือนผู้จำหน่าย Ze-Booc Page 811 จะไม่กลัวการทดสอบใช้งานเลยครับ ^^ เล่นใส่แอพพลิเคชั่นทดสอบค่าต่างๆเอาไว้ให้เราภายในเยอะมาก แทบจะครบเลยทีเดียว แต่ก่อนจะไปดูเรื่องคะแนนจากแอพทดสอบ มาฟังเรื่องจากตะแนนประสบการณ์ใช้งานจริงกันก่อนครับ ด้วยเครื่อง Page 811 ใช้ CPU Single Core ในการประมวลผล อาการหน่วงช้ามีให้เห็นประปรายครับในเวลาเลื่อนหน้าจอ แต่ก็ด้วยอานิสงส์ของ GPU ที่แรงพอตัวอย่าง Mali 400 ทำให้เมื่อเข้าไปในการใช้งานต่างๆ อย่างการเล่นเกม หรือรับชมวีดีโอ จะสามารถเปิดคลิปวีดีโอความละเอียดสูงๆ 1080P ได้อย่างสมบูรณ์ครับ
หน้าตา UI ของเครื่องก็ใช้เหมือนจะเป็นตัวเดิมๆของระบบ Android ครับ นั้นก็ถือเป็นข้อดี ปรับแต่งเยอะไปส่วนใหญ่มักจะเกิดปัญหา โดยเฉพาะเครื่องที่ต้องการความสเถียรของระบบสูงๆอย่างเครื่องแท็บเล็ตราคาประหยัดแบบนี้ครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่า Ze-Booc Page 811 จะไม่มีข้อแตกต่างใดๆเลย อย่างตัวที่ผมชอบมากคือหน้าล็อคสกรีน ที่มีการปรับปรุงนำการปลดล็อคและการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นล่าสุด มารวมกัน
จะเห็นว่าในการปลดล็อคหน้าจอก่อนจะเข้าใช้งานเครื่อง เราสามารถเลือกเข้าใชงานแอพพลิเคชั่นที่เปิดค้างไว้ได้โดยตรง ไม่ต้องอ้อมเข้าการใช้งานหน้าจอก่อนแล้วไปเรียกใช้งานแอพอีกที
แอพพลิเคชั่นที่ทางผู้จำหน่ายเขาจัดเตรียมไว้ให้ในเครื่อง Ze-Booc Page 811 ก็ครบครันดีครับ แอพพลิเคชั่นดังๆ อย่าง Line, Whatsapp หรือแอพจัดการเอกสารออฟฟิตก็มีจัดเตรียมไว้ให้ใช้ตั้งแต่โรงงานเลย ยังมีแอพพลิเคชั่นทดสอบค่าต่างๆของตัวเครื่องที่ผมบอกไปข้างต้นอีกมากมายครับ
มีแอพที่สำคัญในการใช้งานด้านต่างๆมาให้ครบครัน เช่นแอพจัดการไฟล์ในเครื่อง แอพเล่นเพลงเล่นหนัง แอพ Falsh Player ที่ไม่ต้องไปลงเพื่มเติม แอพ Anti virus และแอพแบล็คอัพข้อมูลลงเมมโมรี่การ์ดเป็นต้น
แต่จุดที่น่าสนใจคือการที่ Ze-Booc Page 811 เหมือนจะรู้ว่า ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มองหาแท็บเล็ตไปให้ลูกให้หลานใช้งานกันอยู่พอสมควร เลยจัดการใส่แอพพลิเคชั่นสื่อการสอน การเรียนรู้สำหรับเด็กไว้ภายในเครื่องหลายตัวเลยทีเดียว แน่นอนจุดนี้ดูจะเป็นการตลาดที่ได้ใจกันไปเยอะเลยทีเดียวครับ ด้วยลักษณะการใช้งานและราคาที่เหมาะจะเป็นแท็บเล็ตเพื่อการบันเทิง และการศึกษาสำหรับเด็กได้อย่างพอเหมาะพอดีครับ
มัลติทัช สิบจุด ตัดกันมีหลุดให้เห็น
ค่าทดสอบต่างๆ
ดูหนังฟังเพลง
หน้าจอ TFT ขนาด 8 นิ้ว ความละเอียด 800×600 พิกเซล ไม่ใช่จอที่ดีอะไรมากนักครับ อันนี้ต้องยอมรับ แต่ได้ในเรื่องของขนาด มุมมองไม่กว้างแต่ใช้งานคนเดียวมองคนเดียวไม่มีปัญหา ความละเอียดค่อนข้างหยาบครับ แต่ความสามารถในการเล่นหนังสูงมาก เล่นคลิปไม่กระตุก แม้จะมีความละเอียดสูง ถามว่าจอหยาบจะเล่นคลิปความละเอียดสูงๆ ไปทำไม? นั้นก็เพราะZe-Booc Page 811 สามารถเชื่อมต่อภาพออกจอทีวีภายนอกได้ด้วยสาย HDMI นั้นเองครับ และรองรับการส่งภาพในระดับความละเอียดสูงสุดถึง 1080p เลยทีเดียว
สำหรับการฟังเพลงก็มีแอพพลิเคชั่นเล่นเพลงที่สามารถปัรบแต่งอีควอไลเซอร์เสียงมาให้อยู่แล้ว ลำโพงหลักด้านหลังของตัวเครื่องให้เสียงดังพอประมาณครับ เปิดเสียงดังสุดเสียงไม่แตก ส่วนการต่อหูฟังใช้งานก็อยู่ในระดับทั่วๆไป หูฟังที่แถมให้มา จะมีเสียงออกบางๆ ต้องหาหูฟังเสียงหนักๆแน่นๆมาใช้งานร่วมด้วยจะเหมาะครับ
เล่นเกม เข้าเว็บเพจ
การเล่นเกมของตัว Ze-Booc Page 811 อยู่ในระดับน่าพอใจครับ ด้วย GPU ที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการประมวลผลภาพ ทำให้เราสามารถเล่นได้เกือบหมดทุกเกมใน Playstore แต่ความลื่นไหลก็ยังไม่ถึงจุดน่าประทับใจ ยังมีจังหวะแลคบ้าง ช้าบ้าง ให้เห็นในเกมที่มีการเคลื่อนไหวเร็วๆ หรือเกมกราฟฟิคหนักๆครับ (ดูการทดสอบเล่นเกมได้ในคลิปวีดีโอด้านบน)
ทดสอบกับเกมกราฟฟิคระดับเทพอย่าง N.O.V.A 3 ยังเปิดได้ แต่ไม่น่าเล่น เพราะมันไม่ลื่นไหลดั่งใจเท่าที่ควร
การเข้าเว็บเพจของตัวเบราว์เซอร์ติดเครื่องก็ทำงานในระดับเดียวกับสเปคเครื่องที่มีมาให้นั้นแหละครับ เล่นได้ดีในเว็บขนาดเล็ก แต่จะแลคหน่อยในหน้าเว็บที่มีความซับซ้อมมากขึ้น ตัวหนังสือขาดความคม แต่พออ่านได้เห็น เปิดเว็บแฟรชได้เพราะมีการติดตั้ง Falsh Player มาให้แต่แรกเริ่ม (ดูการทดสอบเข้าเว็บได้ในคลิปวีดีโอด้านบน)
การถ่ายภาพ
กล้องหน้าระดับ VGA เน้นใช้งานวีดีโอคอล คงไม่ต้องหวังมากครับ ทำงานตามที่มันควรทำได้ก็พอแล้ว กล้องหลังขนาด 2 ล้านพิกเซล มาพร้อมการถ่ายภาพแบบ panorama และการตั้งค่าสภาพแสง หน้าตาในโหมดกล้องก็เหมือนกับตัวแท็บเล็ตทั่วไปของ Android ครับ และน่าเสียดายที่ Ze-Booc Page 811 ไม่สามารถทัชหน้าจอเพื่อโฟกัสได้ครับ แต่มีการโฟกัสอัตโนมัติทำงานให้อยู่
ตัวอย่างภาพถ่ายกล้องหน้าของ Ze-Booc Page 811
ตัวอย่างกล้องหลัง
สรุปท้ายรีวิว
เอาราคามาเป็นที่ตั้งก่อนจะพูดถงึความสามารถโดยรวมก็ต้องบอกว่าเกินคุ้มครับ กับสิ่งที่แท็บเล็ตราคาสามพันกว่าบาทสามารถทำให้เราได้ แต่ถ้าจะมองเรื่องโดยรวมถึงประสิทธิภาพเครื่องแท็บเล็ตเครื่องหนึ่ง ก็ต้องบอกว่ามันเหมาะกับเป็อุปกรณ์แก้เหงาที่ไม่ตอบรับการใช้งานในระดับสูงมากนัก เหมาะกับการทำงานแบบพื้นๆ เช่นเปิดเพลง ดูหนัง เข้าเว็บ แชตกับเพื่อน หรือเข้า Social ต่างๆอย่าง facebook Twitter หนักกว่านั้นยังไม่เหมาะสม และอาจจะชวนหงุดหงิดได้ถ้ามันตอบสนองความต้องการไม่ทัน
และก็เหมาะมากถ้าคุณจะเอาไว้ใช้เป็นอุปกรณ์เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน เนื่องจากราคาและเนื้อหาที่เขาเตรียมไว้ให้ คัดกรองแอพและสื่อที่จะถ่ายทอดให้เด็กดีๆ ก็มีประโยชน์มากกว่าที่คิดเยอะครับ ^^
ข้อดี
+ ประหยัด และได้ประสิทธิภาพที่สูงเกินราคา
+วัสดุตัวเครื่องดูทนทาน การประกอบดี
+แบตเตอรี่อึดกว่าที่คาดไว้
+มีช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์หลากหลาย ยืดหยุ่นในการใช้งานที่กว้างขึ้น
+อุปกรณ์ของแถมมีมาให้ทั้งฟิล์มกันรอย และเคสสวมใส่
ข้อเสีย
-ยังมีการจัดการทัรพยากรเครื่องไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นปัญหาของแท็บเล็ตจีนอยู่เสมอๆ ต้องคอยเคลียแรม
-ความละเอียดหน้าจอต่ำ ขาดความคมชัดในการแสดงผลตัวหนังสือ
-กดเซฟภาพหน้าจอหาจังหวะได้ยาก เซฟไม่ค่อยติด
[gradeC]