สวัสดีครับ นานๆ ที เรา AppDisqus จะได้มีโอกาสรีวิวคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส์นะครับ ซึ่งมาคราวนี้รุ่นที่เราจะรีวิว ก็คือ Lenovo ThinkPad T450s ก่อนจะเริ่มต้นรีวิวอยากทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งกับผู้อ่านทุกท่านก่อนนะครับว่า ผู้เขียนบทความรีวิวนี้โดยปกติใช้งาน Lenovo IdeaPad Yoga 13 อยู่ และเครื่อง Lenovo ThinkPad T450s ตัวนี้เป็นเครื่องที่ทาง Lenovo ประเทศไทยให้ยืมมาใช้งานชั่วคราวจนถึงตอนนี้ก็ใช้งานมาประมาณ 2 สัปดาห์เต็ม เราพยายามใช้งานให้เต็มที่ เพื่อทดสอบและมองหาบัคหรือปัญหาเพื่อนำมาบอกต่อและแนะนำผู้อ่านในการใช้งาน
ตัวเครื่องและการออกแบบ Lenovo ThinkPad T450s
สำหรับการออกแบบและวัสดุตัวเครื่องของ Lenovo ThinkPad T450s ถือว่าเป็นจุดเด่นที่ต้องยกย่องเลยครับ ตัวเครื่องแข็งแรงทนทาน ออกแนวคลาสสิคที่บางคนอาจมองว่าล้าสมัย แต่โดยส่วนตัวชื่นชอบในการออกแบบลักษณะนี้นะครับ
สีตัวเครื่องออกโทนเทาดำ สีเดียวกันทุกส่วน ด้านหลังดูเรียบหรูคงสไตล์ของ ThinkPad เอาไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านหลังจอภาพจะมีโลโก้ของ ThinkPad เหมือนเดิม และมีไฟ LED ขึ้นที่จุดด้านบนของตัวอักษร “i” ซึ่งไฟนี้จะดับถ้าคอมพิวเตอร์เข้าโหมด Sleep ส่วนอีกด้านจะเป็นโลโก้ของ Lenovo ครับ
ด้านหน้าเป็นจอขนาด 14 นิ้ว ซึ่งใหญ่เต็มตาพอดีกับการใช้งานมาก หน้าจอเครื่องรีวิวเป็นแบบผิวด้าน(Anti-glare) ทำให้ไม่สะท้อนแสง ทำงานได้สบายตามากขึ้น รุ่นที่เรารีวิวนี้ เป็นรุ่นที่ไม่รองรับการหน้าจอสัมผัส แต่ตอนซื้อเราสามารถเลือกซื้อรุ่นที่เป็นหน้าจอสัมผัสได้นะครับ
ใต้ตัวเครื่องเป็นแบตเตอรี่ที่เราเลือกสเปคตอนซื้อได้ ใช้งานสูงสดุได้ 19 ชั่วโมง ถอดเข้าออกได้ไม่ยาก แต่สำหรับเครื่องรีวิวเป็นรุ่นต่ำสุดสามารถใช้ท่องเว็บไซต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องได้ประมาณ 6 ชั่วโมงครับ
สำหรับพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ ประกอบด้วย รองรับ: พอร์ตสำหรับชาร์จไฟ, USB 3.0(2 พอร์ต), Card Reader(1 พอร์ต), D-Sub(1 พอร์ต), Mini Display Port(1 พอร์ต), LAN Port(1 พอร์ต), 3.5mm(1 พอร์ต) และ Audio Combo(1 พอร์ต) ซึ่งแยกอยู่ด้านซ้ายและขวาของตัวเครื่องอย่างลงตัว
นอกจากนี้ยังรองรับการอ่านลายนิ้วมือ FingerPrint Reader ด้วยครับ
รองรับ Back-Light Keyboard ไฟสีขาว สามารถเปิด-ปิด ไฟของคีย์บอร์ดได้ เมื่อเปิดไฟคีย์บอร์ดก็ปรับได้ 2 ระดับ เพียงเรากดที่ Fn + มุมด้านซ้ายของปุ่ม Space Bar ที่เป็นรูปปุ่มเรืองแสงพร้อมกัน ก็จะเป็นการ ปิดไฟคีย์บอร์ด เปิดไฟระดับที่หนึ่ง และไฟระดับที่สอง ตามลำดับ
ส่วนการปรับระดับหน้าจอของ Lenovo ThinkPad T450s สามารถปรับได้ 180 องศา ประกอบกับหน้าจอมุมมองกว้างทำให้เราปรับได้ตามความต้องการของสายตาเรา เพิ่มความสะดวกในการทำงานมากขึ้น
สเปค, คุณสมบัติ Lenovo ThinkPad T450s
สำหรับสเปคของ Lenovo ThinkPad T450s ถือว่าเป็นสเปคใหม่ล่าสุดได้เช่นกัน เป็นรุ่นที่เหมาะสมกับการใช้ทำงานเป็นอย่างมาก คีย์บอร์ดที่ตอบสนองการใช้งานได้ดี หน้าจอขนาดใหญ่ หน้าจอแบบ Antiglare ช่วยถนอมสายตาได้ดี ช่วยให้ทำงานได้นานขึ้น โดยรายละเอียดมีสเปคโดยละเอียดดังต่อไปนี้ โดยสเปคเหล่านี้ตอนที่ซื้อเราสามารถปรับเปลี่ยนและเลือกสเปคได้ตามความต้องการของเราได้ แต่สำหรับเรื่องรีวิวเป็นตัวสเปคต่ำสุดนะครับ
หน่วยประมวลผล:
- Intel® Core™ i7-5600U Processor (4M Cache, up to 3.20 GHz)
- Intel® Core™ i5-5300U Processor (3M Cache, up to 2.90 GHz)
- Intel® Core™ i5-5200U Processor (3M Cache, up to 2.70 GHz)
ระบบปฏิบัติการ:
- Windows 8.1
- Windows 8.1 Pro 64
- Windows 7 Professional pre-installed via downgrade rights from Windows 8.1 Pro
สีตัวเครื่อง:
- Black(สีดำ)
หน่วยความจำภายใน:
- 500GB / 1TB Hard Disk Drive, 5400 rpm
- 500GB Hard Disk Drive, 5400 rpm Hybrid
- 500GB Hard Disk Drive, 7200 rpm
- 500GB Hard Disk Drive, 7200 rpm TCG Opal 2.0 – Capable
- 128GB / 512GB Solid State Drive, SATA 3
- 240GB / 256GB Solid State Drive, SATA 3 Opal 2.0 – Capable
แรม:
- เพิ่มได้ถึง 12GB DDR3L 1600 MHz (1 DIMM)
หน้าจอ:
- 14″ HD+ (1600 x 900) Anti-glare(ป้องกันแสงสะท้อน)
- 14″ FHD (1920 x 1080) Anti-glare(ป้องกันแสงสะท้อน)
- 14″ FHD (1920 x 1080) Touch Screen
กล้อง:
- ความละเอียด 720p
แบตเตอรี่:
- สูงสุด 19 ชั่วโมง (95Wh)
ระบบเสียง:
- Stereo Speakers
- Dual Array Microphone
- Combo Headphone / Microphone port
การเชื่อมต่อ:
- WWAN – Sierra EM7345 LTE/3G HSPA + 42M
- Ericsson N5321 HSPA + 21M
- WLAN – Intel® 11 a/c + BT 4.0
- Intel® 11 a/g/n + BT 4.0, Intel® 11 b/g/n + BT 4.0
- ThinkPad® 2 x 2 b/g/n + BT 4.0
- Bluetooth® 4.0
รูปร่าง:
- 13.03 x 8.90 x 0.83 นิ้ว
น้ำหนัก:
- เริ่มต้นที่ 1.59 กิโลกรัม
รองรับ:
- USB 3.0(2 พอร์ต), Card Reader(1 พอร์ต), D-Sub(1 พอร์ต), Mini Display Port(1 พอร์ต), LAN Port(1 พอร์ต), 3.5mm Audio Combo(1 พอร์ต) (1 พอร์ต), FingerPrint Reader, Back-Light Keyboard
ประสบการณ์การใช้งานและผลทดสอบ
ข้อดีและความโดดเด่นของรุ่นนี้อยากแรกที่สัมผัสได้ก็คือ ปุ่มคีย์บอร์ดที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการพิมพ์มากๆ คีย์แต่ละตัวที่สูง เวลากดก็นุ่มๆ ตอบสนองการพิมพ์ได้เร็วและดีมากๆ ตรงกลางแป้นพิมพ์จะมีปุ่มควบคุมเคอร์เซอร์มาให้เลือกใช้งานสำหรับบางคนที่ไม่ชอบ Touch Pad สักเท่าไหร่
ส่วนข้อเสียเกี่ยวกับแป้นพิมพ์หลักๆ ที่รู้สึกได้มีอย่างเดียว ก็คือ การออกแบบตามแป้นพิมพ์สัมผัสบนหน้าจอของ Microsoft ที่ทำให้ปุ่ม Ctrl ด้านซ้ายที่คนที่ชอบพิมพ์สัมผัสจะใช้งานเป็นประจำอยู่ลึกเข้ามานิดหน่อย แล้วเอาปุ่มฟังก์ชัน Fn ไปไว้นอกสุด ทำให้เรากดผิดอยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้พิมพ์สัมผัสก็คงไม่มีปัญหามากนัก
อย่างไรก็ตาม เราก็สามารถเข้าไปเปลี่ยนแป้นพิมพ์ใน BIOS ให้เปลี่ยนปุ่ม Fn ให้ทำงานเหมือนปุ่ม Ctrl ได้ ก็จะทำให้การพิมพ์สะดวกและคุ้นเคยมากขึ้น
จุดเด่นของแป้นพิมพ์ที่สำคัญอีกอย่าง ก็คือ การออกแบบมาเพื่อชดเชยระบบหน้าจอที่สัมผัสไม่ได้สำหรับโมเดลหน้าจอแบบ Anti-glare โดยจะให้ปุ่มการทำงานบนคีย์บอร์ดตอบสนองฟังก์ชันต่างๆ ของ Windows 8 หรือสูงกว่าได้ดีขึ้น ใครที่ซื้อรุ่นนี้ไปใช้งานก็ควรเรียนรู้การใช้ปุ่มต่างๆ เหล่านี้เอาไว้ให้มาก ไม่เช่นนั้นเรื่องที่หน้าจอไม่สัมผัสจะสร้างปัญหาในการใช้งาน Windows 8, Windows 8.1, Windows 10 ได้ไม่น้อย ซึ่งปุ่มต่างๆ มีดังต่อไปนี้ ปุ่มปิดเสียง ปุ่มลดเสียง ปุ่มเพิ่มเสียง ปุ่มเปิดปิดเสียงไมค์ ปุ่มลดแสง ปุ่มเพิ่มแสง ปุ่มควบคุมการโปรเจกต์หน้าจอ ปุ่มเปิดปิดและควบคุมสัญญาณ Wi-Fi ปุ่มการตั้งค่า ปุ่มเรียกเมนูค้นหา ปุ่มเรียกดูหน้าที่เปิดอยู่ปัจจุบัน ปุ่มรวมแอพพลิเคชั่นทั้งหมด เรียกลำดับคู่กับปุ่มฟังก์ชัน F1 ถึง F12 ตามลำดับ ส่วนปุ่มควบคุมอื่นๆ ก็คล้ายกับคอมพิวเตอร์ของ Windows รุ่นอื่นๆ ครับ
สำหรับ Touch Pad ก็ให้สัมผัสและการตอบสนองการทำงานได้ดี ส่วนปุ่มด้านบนจะมีปุ่มที่มีแถบสีแดงเพื่อใช้คลิกซ้ายและคลิกขวาเหมือโน๊ตบุ๊คส์ทั่วๆไป แต่จะมีพิเศษขึ้นมาอีกปุ่ม ก็คื ปุ่มที่มีเส้นจุดสีฟ้าอยู่ ซึ่งปุ่มนี้เป็นการออกแบบพิเศษเฉพาะ ThinkPad ซึ่งปุ่มนี้จะใช้ทำงานร่วมกับปุ่มควบคุมเคอร์เซอร์สีแดงที่อยู่ตรงกลางคีย์บอร์ด นั่นคือ ปุ่มสีแดงเอาไว้ควบคุมเคอร์เซอร์โยกเพื่อให้เคอร์เซอร์ไปในทิศทางที่เราต้องการ(เหมือนการลาก 1 นิ้วบน Touch Pad) แต่หากเรากดปุ่มแถบจุดสีฟ้าบริเวณ Touch Pad ปุ่มนี้ไปด้วยควบคุมปุ่มแดงไปด้วย จะเป็นการเลือนหน้าจอให้ไปในทิศทางที่เราต้องการ (เหมือนการลาก 2 นิ้วบน Touch Pad) เพื่อตอบสนองความถนัดของผู้ใช้ในหลากหลายรูปแบบ
ภาพกล้องหน้า 720p ที่พอใช้ ไม่ได้ละเอียดพอที่จะถ่ายรูปโชว์ในสังคมออนไลน์สวยๆ แต่เพียงพอในการใช้งานในลักษณะ VDO Call และหากสังเกตขอบจอ เราจะเห็นความนูนขึ้นมาของขอบนอก เมื่อปิดจอลงก็จะให้ความรู้สึกเหมือนกับการปิดกล่องโน๊ตบุ๊คส์ที่ดูแข็งแรงทนทาน ปกป้องข้อมูลและตัวเครื่องที่สำคัญของเราได้
ความโดดเด่นเรื่องคีย์บอร์ดทำให้ Lenovo ThinkPad T450s เหมาะกับการพิมพ์งานมากครับ โดยเฉพาะคนที่พิมพ์สัมผัสได้ จะทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นมาก ประกอบกับหน้าจอแบบ Anti-glare ขนาด 14 นิ้ว ทำให้สบายตาขึ้น ทำงานได้นานมากขึ้น จึงถือว่าเป็นคำตอบสำหรับคนต้องการซื้อมาเพื่อทำงานเป็นพิเศษเลยครับ
ส่วนการใช้งานด้านอื่นๆ ทั้งความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกม ก็ทำงานได้ดีเป็นปกติ ทั้งด้วยสเปคที่มีประสิทธิภาพและขนาดหน้าจอที่เหมาะสมมากกว่าโน๊คบุคส์ในตลาดหลายๆ รุ่น
สำหรับคะแนนการทดสอบประสิทธิภาพ ได้คะแนน 3DMark Cloud Gate 1.1 ที่ 6,187 คะแนน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งหมด 31% ซึ่งถือว่าคะแนนยังไม่โดดเด่นมากนัก
รายละเอียดคะแนนแยกส่วนต่างๆ ที่ทดสอบได้คะแนนดังต่อไปนี้
และผลการทดสอบสเปคเครื่อง Lenovo ThinkPad T450s ที่ใช้ในการรีวิวครั้งนี้ได้ผลการทดสอบออกมาดังต่อไปนี้
คะแนนการทดสอบเพิ่มเติม >> http://www.3dmark.com/cg/2880891
สรุปการรีวิว Lenovo ThinkPad T450s
Lenovo ThinkPad T450s เป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคส์ที่เราสามารถเอกสเปคได้ตามความเหมาะสม ทั้งระบบประมวลผล ความจุของแบตเตอรี่ และอื่นๆ แต่สิ่งที่มีผลต่อการใช้งานมากที่สุดก็คือ หน้าจอ ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาหน้าจอแบบ Anti-glare เพื่อช่วยป้องกันแสงสะท้อน ป้องกันดวงตาเรา ทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือจะเลือกหน้าจอสัมผัสที่ถือว่าเป็นมาตรฐานใหม่ของโน๊ตบุคส์ในปัจจุบัน มาตรฐานใหม่ของระบบปฏิบัติการ Windows ที่จะเน้นหน้าจอสัมผัสมากขึ้น แต่รุ่นที่เรารีวิวเป็นหน้าจอแบบ Anti-glare นะครับ ซึ่งโดยรวมแล้วจากสเปค ประสบการณ์การใช้งานและประสิทธิภาพจะพบว่า Lenovo ThinkPad T450s เป็นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคส์ที่เหมาะกับการทำงานมากถึงมากที่สุด ทั้งคีย์บอร์ดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยการทำงานให้เร็วขึ้น หน้าจอที่ป้องกันแสงสะท้อนได้เป็นอย่างดี ทำให้ทำงานได้นานขึ้น แบตเตอรี่ก็อยู่ได้งานนาน หน้าจอ 14 นิ้ว ที่ใหญ่กำลังพอดีกับการทำงาน แต่น้ำหนักเบามากต่ำสุดของรุ่นนี้คือ 1.59 กิโลกรัม(ตอนเลือกสเปค ถ้าแบตฯทนจะทำให้เครื่องหนักขึ้น)
การใช้งานด้านความบันเทิง ทั้งดูหนังหรือเล่นเกมก็ทำได้ดี แต่หากเล่นเกมหนักๆ อาจมีปัญหาอยู่บ้าง เพราะจากการทดสอบด้วย 3DMark จะพบว่าได้คะแนนประสิทธิภาพยังไม่โดดเด่นมากนัก แต่ก็เกินค่าเฉลี่ยปกติมากไม่น้อย
[gradeA]