หลังจากที่ Nokia Asha 501 เปิดตัวครั้งแรกมานานพอสมควร ในที่สุดคนไทยก็ได้สัมผัสและเป็นเจ้าของ Nokia Asha 501 ที่โดดเด่นทั้งวัสดุ สีสัน และราคาที่แสนถูกกันล้วนะครับ แต่สำหรับหลายคนที่กำลังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อดีหรือไม่ ? วันนี้เราขอเสนอตัวแนะนำข้อมูลทุกด้านเกี่ยวกับ Nokia Asha 501 ให้เพื่อนๆได้อ่านและชมกันแบบเข้าใจง่ายแต่ครบถ้วน พร้อมทั้งแชร์ประสบการณ์การใช้งานเจ้าสมาร์ทโฟนน้องใหม่ตัวนี้นะครับ
สำหรับ Nokia Asha 501 นี้ เราสนใจตั้งแต่เปิดตัวแล้วครับ แน่นอนสิ่งที่ดึงดูดมากที่สุดก็คือ สีสัน วัสดุ และราคา ด้วยเหตุนี้นอกจากเครื่องที่ทาง Nokia ให้ยืมมาใช้รีวิว เรายังซื้อเพิ่มอีก 1 เครื่อง ในราคา 2,990 บาท เพื่อนำมาใช้งานจริงๆ และเอาไว้เขียนบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Nokia Asha และระบบปฏิบัติการ Asha OS อีกด้วย ยังไงเพื่อนๆที่ใช้งานอยู่ ก็รอติดตามเราทั้งทาง Youtube Chanel และเว็บไซต์ Appdisqus.com ได้นะครับ รับรองจัดเต็มแน่นอน
สำหรับบทความรีวิวนี้ แบ่งหัวข้อดังต่อไปนี้
- แกะกล่อง Nokia Asha 501
- สเปคของ Nokia Asha 501
- ตัวเครื่องและวัสดุ Nokia Asha 501
- การใช้งาน Nokia Asha 501
- การถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอ Nokia Asha 501
- บทสรุปการรีวิว
[box_info]1. แกะกล่อง Nokia Asha 501[/box_info]
เมื่อเราได้ Nokia Asha 501 ก็ประเดิมการ พรีวิว ข้อมูลเบื้องต้นและทำคลิปวีดีโอแกะกล่องให้เพื่อนๆได้ชมกันอย่างรวดเร็ว ดังคลิปข้างล่างนี้นะครับ
คลิปวีดีโอแกะกล่อง Nokia Asha 501
อุปกรณ์ภายในกล่องของ Nokia Asha 501 ประกอบไปด้วยตัวเครื่อง
และแบตเตอรี่ที่แยกเอาไว้ในกล่อง ขนาด 1,200 mAh
รวมทั้งสายชาร์จที่เป็นหัวต่อแบบกลม
หูฟังสีสันสดใสไม่แพ้ตัวเครื่องเลยครับ ซึ่งไม่ว่าเราจะซื้อเครื่องสีอะไร เราก็จะได้หูฟังสีแดงนีออนทั้งหมดเลยครับ
มี microSD card มาด้วยขนาดความจุ 4GB(เสียบอยู่ในช่องข้างตัวเครื่องไว้แล้ว)
[box_info]2. สเปคของ Nokia Asha 501[/box_info]
- ระบบปฏิบัติการ: Asha OS
- หน้าจอขนาด: 3 นิ้ว ความละเอียด 320 x 240 พิกเซล 133 ppi
- หน่วยความจำ: 4GB รองรับ microSD card สูงสุด 32GB
- กล้องถ่ายภาพ: 3.2 ล้านพิกเซล ไม่มีกล้องหน้า
- ขนาด: 99.2 x 58 x 12.1 มิลลิเมตร และน้ำหนัก 98 กรัม
- การเชื่อมต่อ: Wi-Fi, Bluetooth 3.0 และ MicroUSB
- แบตเตอรี่: 1200 mAh
- สนทนานานสูงสุด 17 ชั่วโมง
- ฟังเพลงสูงสุด 52 ชั่วโมง
- สแตนบายด์นานสูงสุด 26 วัน
อ่านสเปคโดยละเอียดได้ที่ >> Nokia Asha 501
[box_info]3. ตัวเครื่องและวัสดุ Nokia Asha 501[/box_info]
สำหรับเรื่องสีสันของตัวเครื่องและวัสดุในการประกอบ ถือว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของ Nokia Asha 501 เลยก็ว่าได้ ด้วยตัวเครื่องที่มีสีสันมากกว่า 5 สี ได้แก่ สีขาว สีดำ สีฟ้า สีแดงนีออน และสีเขียวนีออน
ไม่เพียงเท่านี้ ด้วยเพราะฝาหลังนั้นแกะง่ายและมีราคาไม่แพง ทำให้เราหาซื้อฝาหลังคนละสีกับกับตัวเครื่องอันเดิมมาเปลี่ยนเพื่อสร้างสีสันใหม่ๆ ได้อีกมากมายเลยทีเดียวครับ และหากเพื่อนของเราใช้ Nokia Asha 501 เช่นกัน เราก็แค่สลับฝาหลังกันใช้เพื่อหลีกหนีความจำเจได้ง่ายๆอีกด้วยครับ
ส่วนวัสดุของตัวเครื่อง นั้นผลิตจากโพลีคาร์บอเนตอย่างดี ไม่แตกหักง่ายๆ สีของฝาหลังไม่ได้ใช้การเคลือบ แต่เป็นสีของวัสดุเลย ดังนั้นแม้จะมีรอยขีดข่วน เนื้อของวัสดุด้านในก็ยังมีสีเดียวกับผิวด้านนอกอยู่ครับ
ด้านหลังของตัวเครื่องจะเป็นกล้องหลังความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล
และปุ่มที่เอาไว้ดันฝาหลังเพื่อให้เปิดง่าย โดยปุ่มนี้หากเราเปลี่ยนฝาหลังเป็นสีอื่น ปุ่มจะยังเป็นสีเดิมอยู่ ซึ่งช่วยเพิ่มความหลากหลายของสีสันตัวเครื่องได้มากขึ้นไปอีกครับ
ด้านข้างของตัวเครื่องประกอบด้วย ปุ่มพาวเวอร์ และปุ่มเพิ่มลดเสียง
ด้านบนของตัวเครื่องเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อ ประกอบด้วย ช่องเสียบหูฟัง(รูกลมใหญ่) ช่องเสียบ MicroUSB สำหรับเชื่อมต่อข้อมูล และช่องสำหรับชาร์จแบตเตอรี่(รูกลมเล็ก)
ปุ่มด้านหน้าตัวเครื่องจะมีเพียงปุ่มเดียว นั่นคือ ปุ่มย้อนกลับ(Back) ซึ่งมีประโยชน์ในการควบคุมระบบปฏิบัติการ Asha เป็นอย่างมาก
หน้าจอผลิตจากกระจกกันรอย gorilla glass เช่นเดียวกับสมาร์ทโฟนราคาแพงรุ่นอื่นๆเลยครับ
ด้านในของตัวเครื่อง หนาแน่น ช่องและพอร์ตต่างๆ วางไว้ตำแหน่งที่ลงตัว รองรับ 2 ซิมการ์ด ซึ่งภาพนี้จะเห็นชัดได้เลยครับว่า ทำไมเขาเรียกว่า “สีแดงนีออน”
สรุปเกี่ยวกับตัวเครื่อง: ด้านวัสดุและสีสันของตัวเครื่องแทบไม่มีข้อตำหนิเลยครับ เพราะมันคือจุดเด่นที่โนเกียพยายามชูมากที่สุดแล้ว แต่ข้อเสียก็มีบ้าง นั่นคือ คาดว่าคงหาเคสและฟิล์มกันรอยยากเอาการครับ ผู้ใช้คงต้องใช้แบบเปลือยเปล่าไปตลอด
[box_info]4. การใช้งาน Nokia Asha 501[/box_info]
หากถามว่า Nokia Asha 501 เป็นฟีเจอร์โฟนหรือสมาร์ทโฟน ? มันเหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน ? ใช้งานอย่างไร ? และมันน่าใช้หรือเปล่า ? เราก็ขอตอบว่า …
Nokia Asha 501 เป็นฟีเจอร์โฟนหรือสมาร์ทโฟน ? ขอตอบว่า มันเป็นสมาร์ทโฟนแน่นอนครับ เพราะมันมีระบบปฏิบัติการของตัวเอง นั่นคือ Asha OS ซึ่งมี ระบบการทำงาน แอพพลิเคชั่น ร้านค้า อินเทอร์เน็ต พร้อมด้วยฟีเจอร์ต่างๆมากมาย แล้วเจ้า Asha OS มันใช้งานอย่างไร ?
ระบบปฏิบัติการ Asha OS เป็นระบบใหม่ที่คาดว่าพัฒนามาจาก MeeGo ที่เคยใช้กับ Nokia รุ่นเก่า ซึ่งหน้าหลักการใช้งานมีเพียง 2 หน้า ได้แก่ หน้ารวมแอพพลิเคชั่น
และหน้า FastLens ซึ่งความโดดเด่น ของ Asha OS จะอยู่ตรงนี้หละครับ ซึ่งมัน Fast สมชื่อจริงๆ หน้านี้จะรวมทุกกิจกรรมที่เราเคยทำกำลังทำอยู่บน Nokia Asha และเรื่องที่จะทำในอนาคต หากเราต้องการเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นหรือกิจกกรรมนั้นๆอย่างรวดเร็ว ก็เข้าผ่านหน้านี้ได้ ซึ่งคล้ายกับหน้า Widgets ของระบบปฏิบัติการ Android นั่นเอง
การเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ผ่าน FastLens นั้น หากเราผูกบัญชีเข้ากับตัวเครื่อง โดยเข้าไปที่ แอพที่ชื่อว่า “บัญชี” แล้วเพิ่มบัญชีที่เราต้องการ เท่านี้ เราก็จะเข้าไปใช้งานบัญชีเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วผ่าน FastLens เช่น การเช็คอีเมล์ การโพสข้อความบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่สามารถตั้งค่าให้แชร์ครั้งเดียวแต่ส่งไปยังทุกโซเชียลเน็ตเวิร์คที่เราผูกบัญชีเอาไว้ได้ เป็นต้น
ซึ่งหน้า FastLens นี้ จะแสดงทุกการใช้งานตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต(การแจ้งเตือน) หากเราจะลบข้อมูลเหล่านี้ ก็ให้กดค้างเอาไว้ แล้วลบออกทั้งหมด แต่หากจะลบบางตัวเท่านั้น ก็ต้องเข้าไปลบในแอพพลิเคชั่นนั้นๆครับ
การใช้งาน Asha OS จะเน้นที่การปัดหน้าจอไปด้านซ้ายขวาและขึ้นลง เพื่อเรียกใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ การปัดหน้าจอซ้ายขวา เอาไว้สลับหน้ากันระหว่าง FastLens และหน้ารวมแอพพลิเคชั่น
นอกจากนี้ยังเอาไว้ออกจากแอพพลิเคชั่นอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่ต้องกดปุ่มย้อนกลับหลายครั้ง และบางแอพกดปุ่มย้อนกลับอย่างเดียวจะออกจากแอพไม่ได้ ต้องปัดหน้าจอไปด้านขวาแทน
ส่วนการลากขอบหน้าจอด้านบนลงมา จะเป็นการเรียกเมนูการตั้งค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ ได้แก่ การเปิด-ปิด Wi-Fi, Bluetooth, 2G และเปิด-ปิดเสียง
หากการลากขอบล่างขึ้นมา ก็จะเป็นเมนูการตั้งค่าของแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราใช้งานอยู่
การใช้งานคีย์บอร์ดค่อนข้างลำบาก เนื่องจากหน้าจอเล็กเพียง 3 นิ้ว และเวลาเปลี่ยนภาษาต้องกดที่ปุ่มภาษาแล้วลากคีย์บอร์ดไปด้านขวาของจอจึงจะเปลี่ยนภาษาได้
คีย์บอร์ดภาษาอังกฤษ
คีย์บอร์ดภาษาไทย
คำถามสุดท้าย มันเหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน ? น่าใช้หรือเปล่า ? ขอตอบว่า หากเรามองหาสมาร์ทโฟนเครื่องเทพ ตอบสนองทุกการใช้งานได้ เจ้า Nokia Asha 501 คงไม่ใช่คำตอบ แต่หากเรามองหาโทรศัพท์ที่แบตเตอรี่เยอะ เน้นการโทรมากกว่าความต้องการด้านอื่นๆ สามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ดี ทั้ง Facebook, Twitter, Line, Wechat และอื่นๆ Nokia Asha 501 เป็นคำตอบให้เราได้แน่นอนครับ
[box_info]5. การถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอ Nokia Asha 501[/box_info]
ภาพถ่ายถือว่าพอใช้สำหรับสเปคเพียงเท่านี้ของ Nokia Asha 501 เอาตามตรงก็คือว่า เราแอบตกใจด้วยซ้ำครับ เพราตอนถ่ายเรามองจากหน้าจอแล้วเห็นว่า ภาพมันไม่ได้เรื่องเลย แต่พอนำมาเปิดในคอมพิวเตอร์ก็เกินคาดครับ ถือว่าใช้ได้ แม้บางทีสีและแสงจะเพี้ยนไปบ้างก็ตาม
ตัวอย่างภาพถ่ายขนาดจริง(กลางคืน)
ตัวอย่างภาพถ่ายขนาดจริง(กลางวัน)
อัลบั้มตัวอย่างภาพถ่าย(ลดขนาด)
ส่วนการถ่ายวีดีโอ ถือว่าค่อนข้างแย่ครับ คงคาดหวังการถ่ายคลิปวีดีโอไปอวดใครต่อใคร หรือเก็บภาพประทับใจสวยๆไว้ไม่ได้ ทำได้เพียง เอาไว้ใช้ในยามจำเป็นจริงๆ เพราะแบตเตอรี่มันอึด ดังนั้นมันก็จะเป็นอุปกรณ์สุดท้ายที่แบตจะหมด จึงมันใจได้ว่า หากมีเรื่องอะไร หยิบออกมาถ่ายวีดีโอ ใช้ได้แน่นอนครับ ทั้งภาพและเสียง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คลิปตัวอย่างภาพถ่ายวีดีโอ Nokia Asha 501
[box_info]6. บทสรุปการรีวิว[/box_info]
- ข้อดี: Nokia Asha 501 มีจุดเด่นที่การออกแบบและสีสันที่สวยงาม น้ำหนักเบา พกพาสะดวก วัสดุที่ใช้ผลิตมีคุณภาพ สามารถใช้งานได้ 2 ซิม มีวิทยุ FM ในตัว มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Asha ที่มีแอพพลิเคชั่นให้ใช้งานเพียงพอ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, Line, WeChat เป็นต้น และอีกหนึ่งจุดเด่นที่สำคัญก็คือแบตเตอรี่อึดมาก
- ข้อด้อย: Nokia Asha 501 ขนาดหน้าจอเล็ก ความละเอียดหน้าจอต่ำ ไม่รองรับ 3G ใช้งานได้แค่เพียงเครือข่าย 2G เท่านั้น การถ่ายภาพได้แค่พอใช้ ส่วนการถ่ายวีดีโอค่อนข้างแย่
สุดท้ายขอยกคำตอบและคำถามนี้มาอีกครั้งครับ
[quote]
Q: มันเหมาะสมกับการใช้งานแบบไหน ? น่าใช้หรือเปล่า ?
A: ขอตอบว่า หากเรามองหาสมาร์ทโฟนเครื่องเทพ ตอบสนองทุกการใช้งานได้ เจ้า Nokia Asha 501 คงไม่ใช่คำตอบ แต่หากเรามองหาโทรศัพท์ที่แบตเตอรี่เยอะ เน้นการโทรมากกว่าความต้องการด้านอื่นๆ สามารถใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คได้ดี ทั้ง Facebook, Twitter, Line, Wechat และอื่นๆ Nokia Asha 501 เป็นคำตอบให้เราได้แน่นอนครับ
[/quote]
อัลบั้มรวมภาพตัวเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด
[gradeC]