ห้ามเล่นโทรศัพท์ ขณะขับรถ จับปรับ! มีรูปแบบการกระทำผิดอย่างไร แบบไหนถึงเข้าข่าย และแบบไหนถึงจะรอดตัว?
หลังจากมีกระแสข่าวรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ สั่งกำชับตำรวจในสายบังคับบัญชาให้ลงมากวดขันเรื่องพฤติกรรมผู้ขับขี่รถยนต์ที่เสพติดการใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ถ้าพบการกระทำผิด ให้ทำการจับ ปรับโทษเป็นจำนวนเงิน 400-1,000 บาททันที เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนนในยุคสมัยที่ผู้คนเสพติดการออนไลน์
โดย พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ ได้ให้ข้อมูลและรายละเอียดรูปแบบในการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำผิดตามมาตรา 43 ของ พ.ร.บ.จราจรทางบกแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่8)พ.ศ.2551 “ห้ามมิให้ผู้ขับรถใช้โทรศัพท์เคลื่อนขณะขับรถเว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสนทนา(สมอลล์ทอล์ค)เท่านั้นโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์”
ฉะนั้นรูปแบบสาระสำคัญในการกระทำผิดที่เข้าข่ายนั้นคือ การใช้งานโทรศัพท์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยต้องใช้ “มือสัมผัสสั่งงาน” นั้นเองครับ โดยบทพิสูจน์หรือสมมติฐานของเจ้าหน้าที่ผู้จับปรับจะอ้างอิงจากลักษณะการใช้งานเป็นหลักครับ ตราบใดเราวางโทรศัพท์ไว้ ไม่ไปแตะต้อง แต่ใช้งานผ่านชุดหูฟัง หรือเปิดเสียงจากลำโพง ถือว่าไม่เข้าข่ายการกระทำผิด รวมทั้งการสั่งงานโทรศัพท์ผ่านทางการควบคุมด้วยเสียงก็เช่นกันครับ ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ที่มีจอภาพการแสดงผลที่ติดตั้งภายในรถด้วยเช่นกัน ห้ามกดใช้งานในขณะขับขี่หรือรถเคลื่อนตัวโดยเด็ดขาด
[quote]”หากตรวจพบการกระทำความผิดดังกล่าวตำรวจจราจรจะดำเนินการจับกุมทันทีหากมีกรณีโต้เถียงผู้ทำผิดไม่ยอมรับจะนำเรื่องไปสู่การพิจารณาบนชั้นศาลเพื่อดูหลักฐานพยานว่ามีเจตนาเล่นโทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่”[/quote]
- ไม่แชต พิมพ์ ดูหน้าจอ และถือใช้งานเพื่อสนทนา
- เตรียมพร้อม อุปกรณ์เสริมเพื่อการรับฟัง หรือเปิดลำโพงเอาไว้ในโหมดการขับขี่ (ถ้ามี)
- ในกรณีใช้งานแอพแผนที่หรือการนำทาง ตั้งค่าจุดหมายปลายทางและศึกษาทำความเข้าใจให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง
- ทุกครั้งที่มีเหตุจำเป็นต้องหยิบจับใช้งานโทรศัพท์ หาที่พักรถที่ไม่เกะกะกีดขวางการจราจร เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและไม่เป็นการรบกวนเพื่อนร่วมทางที่ใช้รถใช้ถนนด้วยกัน
ภาพ Jaymart ข้อมูล bangkokbiznews