Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » ไม่ใช่แค่ในโทรศัพท์: Google เผยเทรนด์กลโกงออนไลน์มิจฉาชีพ! พร้อมแนะนำเคล็ดลับการรักษาความปลอดภัย
Your Updates

ไม่ใช่แค่ในโทรศัพท์: Google เผยเทรนด์กลโกงออนไลน์มิจฉาชีพ! พร้อมแนะนำเคล็ดลับการรักษาความปลอดภัย

Google เปิดเผยเทรนด์กลโกงออนไลน์ล่าสุดในวัน Safer Internet Day ตั้งแต่การใช้ AI หลอกลงทุน การปลอมแปลงบุคคลดัง ไปจนถึงการสร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกขายสินค้าและสมัครงาน พร้อมแนะนำเคล็ดลับช่วยป้องกันตัวจากกลโกงออนไลน์
11 กุมภาพันธ์ 20252 Mins Read

11 กุมภาพันธ์ 2568 – เนื่องในโอกาสวัน Safer Internet Day หรือ วันแห่งการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย  Google ได้เผย 5 เทรนด์กลโกงออนไลน์ล่าสุด พร้อมทั้งแนะนำเคล็ดลับการรักษาความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เพื่อช่วยให้คนไทยรู้ทันและสามารถปกป้องตัวเองจากกลโกงประเภทต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และนี่คือ 5 เทรนด์กลลวงมิจฉาชีพพร้อมเคล็ดลับความปลอดภัยจาก Google       

 

  1. ในบทความนี้

    • การใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์สำคัญ
    • การใช้ AI ปลอมหน้า-เสียงบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกให้ลงทุน
    • การหลอกขายแพ็กเกจท่องเที่ยวและสินค้าออนไลน์
    • กลโกงที่ใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงระยะไกล
    • การหลอกให้สมัครงาน

    การใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์สำคัญ

มิจฉาชีพมักใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์สำคัญโดยอาจใช้ AI เพื่อสร้างกลลวงใหม่ๆ และพัฒนากลลวงที่มีอยู่เดิม มิจฉาชีพจะใช้เหตุการณ์ที่เป็นที่สนใจของผู้คนในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต อีเว้นท์เกี่ยวกับกีฬา เทศกาลต่างๆ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ มาต่อยอดเป็นกลอุบายเพื่อหลอกล่อเหยื่อ เช่น การขายตั๋วปลอมและการสวมรอยเป็นองค์กรเพื่อการกุศลที่ดูน่าเชื่อถือ เป็นต้น โดยมิจฉาชีพจะสร้างสถานการณ์ที่กดดันเพื่อกระตุ้นให้เหยื่อรีบตัดสินใจและหลงกลในที่สุด        

ในการรับมือกับกลโกงรูปแบบนี้ Google ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและการบังคับใช้นโยบายในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญและวิกฤตต่างๆ นอกจากนี้ยังได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มีความละเอียดอ่อนโดยเฉพาะสำหรับ Google Ads และ Google Shopping รวมไปถึงการสร้างรายได้บน YouTube และ Google Play โดยไม่อนุญาตผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เอารัดเอาเปรียบ ด้อยค่า หรือยอมรับต่อเหตุการณ์ที่มีความละเอียดอ่อน หรือการใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีความละเอียดอ่อนเพื่อพยายามกระตุ้นให้ได้รับการเข้าชมเพิ่มเติม 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

เคล็ดลับความปลอดภัย: ซื้อตั๋วและบริจาคผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการเท่านั้น ตรวจสอบองค์กรการกุศลและตรวจสอบ URL ก่อนคลิก ใช้ฟีเจอร์ “เกี่ยวกับผลการค้นหานี้” (About this results) ใน Google Search เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล

 

  1. การใช้ AI ปลอมหน้า-เสียงบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกให้ลงทุน

มิจฉาชีพอาจใช้ AI สร้างวิดีโอหรือรูปภาพของบุคคลที่มีชื่อเสียงเพื่อหลอกเหยื่อให้ร่วมลงทุน โดยมักมีการใช้เทคโนโลยี Deepfake ร่วมกับบทความข่าวและโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่แต่งขึ้นมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลลวง ซึ่งมักพบในแพลตฟอร์มการซื้อขายและแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล การผสมผสานของใบหน้าที่คุ้นเคย เนื้อหาที่ดูเหมือนเป็นมืออาชีพ และคำมั่นสัญญาถึงผลตอบแทนสูง สามารถทำให้การหลอกลวงเหล่านี้ดูน่าเชื่อถือเป็นพิเศษได้

ในปีที่ผ่านมา Google ได้อัปเดตนโยบายการสื่อให้เข้าใจผิด (Misrepresentation) เพื่อจัดการกับการหลอกลวงที่แอบอ้างเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงใน Google Ads ด้าน YouTube ก็มีนโยบายการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น (Impersonation) ที่ใช้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่อนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่มีเจตนาแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นหรือช่องอื่น รวมถึงนโยบายการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Misinformation) ที่ไม่อนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่ได้รับการดัดแปลงหรือแก้ไขทางเทคนิคจนทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด (นอกเหนือจากคลิปที่มักปรากฏโดยไม่มีบริบท) และอาจมีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นภัยร้ายแรง นอกจากนี้ Google ยังได้พัฒนาเครื่องมือแบบโอเพนซอร์สอย่างเช่น SynthID ที่ใช้ใส่ลายน้ำและระบุคอนเทนต์ที่ AI สร้างขึ้น

เคล็ดลับความปลอดภัย: อย่าหลงเชื่อคำแนะนำการลงทุนของนักลงทุนชั้นนำหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงง่ายๆ โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดีย ให้สังเกตการแสดงสีหน้าที่ไม่เป็นธรรมชาติในวิดีโอ หากการลงทุนใดดูดีเกินจริง ก็อาจเป็นกลโกงได้

เกาะประเด็น:  Google ทำโฆษณาแซว iPhone 17 แบบขำ ๆ “กล้องบาร์แนวนอนนี่…คุ้น ๆ นะ”

 

  1. การหลอกขายแพ็กเกจท่องเที่ยวและสินค้าออนไลน์

มิจฉาชีพมักสร้างเว็บไซต์ช็อปปิ้ง เว็บไซต์การท่องเที่ยว และเว็บไซต์ร้านค้าปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกล่อเหยื่อด้วยสินค้ายอดนิยม สินค้าหรูหรา ตั๋วคอนเสิร์ต และข้อเสนอการเดินทางในราคาที่ถูกเกินจริง โดยเว็บไซต์ปลอมจะดูเหมือนเว็บไซต์ของจริงทุกอย่าง ตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์ไปจนถึงหน้าบริการลูกค้า ทำให้แยกออกได้ยากว่าเป็นของจริงหรือของปลอม มิจฉาชีพจะใช้เทคนิคต่างๆ เช่น “การปิดบังหน้าเว็บจริง” (Cloaking) เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และสร้างความรู้สึกเร่งด่วน เช่น แจ้งว่าเป็น “ข้อเสนอพิเศษแบบจำกัดเวลา” เพื่อกดดันให้ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เหยื่อมักจะไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าปลอม หรือถูกเรียกเก็บยอดบัตรเครดิตโดยที่ไม่ได้ใช้และถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว นอกจากนี้ มิจฉาชีพยังบิดเบือนข้อมูลธุรกิจด้วยการเพิ่มหมายเลขติดต่อปลอมเพื่อสวมรอยเป็นธุรกิจที่มีอยู่จริง

Google คอยตรวจสอบและนำเว็บไซต์ที่ทำการฟิชชิง ปิดบังหน้าเว็บจริง หรือแอบอ้างเป็นธุรกิจที่มีอยู่จริงออกจากระบบอยู่เสมอ นอกจากนี้ ผู้ลงโฆษณาอาจจำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนในโปรแกรมการยืนยันตัวตนผู้ลงโฆษณาเพื่อยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจหรือข้อมูลประจำตัว ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่าผู้ลงโฆษณาเป็นใครและกำลังโฆษณาอะไรอยู่

เคล็ดลับความปลอดภัย: ตรวจสอบเว็บไซต์ให้ดีก่อนซื้อสินค้า โดยเฉพาะในช่วงลดราคา ตรวจสอบ URL ฟีเจอร์ความปลอดภัย และระวังเรื่องราคาที่ถูกเกินจริงและการกดดันให้รีบตัดสินใจ ใช้ฟีเจอร์ “เกี่ยวกับผลการค้นหานี้” (About this results) สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย ค้นหาข้อมูลผู้ลงโฆษณาและรายงานโฆษณาที่ไม่ดีผ่าน My Ad Center

 

  1. กลโกงที่ใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงระยะไกล

มิจฉาชีพมักแอบอ้างเป็นผู้สนับสนุนทางเทคนิคจากบริษัท ธนาคาร และหน่วยงานของรัฐ และสร้างสถานการณ์เร่งด่วนด้วยการอ้างว่ามีปัญหาด้านอุปกรณ์ บัญชี หรือความปลอดภัย มิจฉาชีพจะใช้ภาษาทางเทคนิคที่น่าเชื่อถือและหน้าสนับสนุนปลอม นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคที่ซับซ้อน เช่น การปลอมแปลงหมายเลขผู้โทรและการสนทนาตามสคริปต์มาช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ มิจฉาชีพจะมีวิธีการเข้าถึงเหยื่อที่แตกต่างกันไป เช่น เมื่อพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้สูงอายุก็จะแอบอ้างเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่พวกเขาคุ้นเคย และใช้แพลตฟอร์มเกมเพื่อโจมตีกลุ่มวัยรุ่น โดยเป้าหมายของเหล่ามิจฉาชีพคือการหลอกล่อเหยื่อให้ติดตั้งซอฟต์แวร์การเข้าถึงระยะไกล (Remote Access) เพื่อให้สิทธิ์ควบคุมอุปกรณ์และเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลบัญชีธนาคารออนไลน์ และความสามารถในการทำธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาต

Google มีการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้น เช่น ระบบที่คอยตรวจจับและบล็อกเว็บไซต์และโฆษณาที่น่าสงสัย ฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยในตัวของ Google Messages ที่จะแจ้งเตือนผู้ใช้หากตรวจพบสิ่งที่น่าสงสัย และการเปิดให้ธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลือกการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับการยืนยันบน Google Search นอกจากนี้ยังมี Google Safe Browsing ที่จะเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับเว็บไซต์และการดาวน์โหลดที่อาจเป็นอันตรายอีกด้วย

เคล็ดลับความปลอดภัย: อย่าให้สิทธิ์การเข้าถึงระยะไกลที่คุณไม่ได้เป็นผู้สั่งให้ทำโดยเด็ดขาด บริษัทที่มีตัวตนจริงและถูกต้องตามกฎหมายจะไม่โทรหาลูกค้าจากฝ่ายสนันสนุนด้านเทคนิค ให้ติดต่อบริษัทเหล่านี้โดยตรงผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการเท่านั้น เพิ่มความปลอดภัยด้วยการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน พาสคีย์ หรือเครื่องมือจัดการรหัส

  1. การหลอกให้สมัครงาน

มิจฉาชีพที่หลอกให้สมัครงานมักฟุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนที่มองหางานออนไลน์และต้องการไปทำงานต่างประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูง โดยจะประกาศรับสมัครงานปลอมตามเว็บไซต์หางานและโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีการทำวิดีโอสัมภาษณ์ที่ดูเป็นมืออาชีพและจัดเตรียมกระบวนการรับสมัครงานไว้อย่างละเอียด โดยมักจะแอบอ้างเป็นบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล หรือการตลาดดิจิทัล  นอกจากนี้ยังมีการทำสัญญาและเอกสารที่ดูเหมือนจริงเพื่อช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ นอกเหนือจากหลอกให้เหยื่อชำระค่าธรรมเนียมเบื้องต้นหรือขโมยข้อมูลของเหยื่อแล้ว กลลวงประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและกิจกรรมผิดกฎหมายอื่นๆ ด้วย เหยื่ออาจทำธุรกรรมทางการเงินหรือโอนสกุลเงินดิจิทัลโดยไม่รู้ตัวจนทำให้ติดร่างแหว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมิจฉาชีพได้

Google มีระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจจับและบล็อกเนื้อหาเกี่ยวกับการรับสมัครงานที่น่าสงสัยที่มีแนวโน้มว่าจะเข้าข่ายการฉ้อโกง นอกจากนี้อาจต้องมีการยืนยันเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ระบบมีความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น 

เคล็ดลับความปลอดภัย: ระวังข้อเสนอการจ้างงานที่ “ดูดีเกินจริง” โดยเฉพาะข้อเสนอที่มีการโอนเงิน นายจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายจะไม่มีการเรียกเก็บเงินในระหว่างการจ้างงานหรือใช้บัญชีส่วนตัวในการทำธุรกิจ ให้ตรวจสอบการรับสมัครงานในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัท และใช้ใช้ฟีเจอร์ “เกี่ยวกับผลการค้นหานี้” (About this results) เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล   

การปกป้องผู้ใช้จากการหลอกลวงบนโลกออนไลน์ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ผู้ไม่ประสงค์ดีมักพัฒนากลวิธีและเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน Google ก็ไม่หยุดยั้งในการพัฒนาเทคนิคการตรวจจับและการบังคับใช้นโยบายเพื่อรับมือกับภัยคุกคามเหล่านี้ ตลอดจนยกระดับการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก และทำให้แน่ใจว่ามีนโยบายที่เข้มงวดและเป็นธรรมเพื่อปกป้องผู้คนให้ปลอดภัย

AI Deepfake Google Safer Internet Day กลโกงออนไลน์ ความปลอดภัยไซเบอร์
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Appdisqus Team
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)
  • Instagram
  • LinkedIn

คอมลัมนิสต์แอ๊คหลุมผู้หลงใหล IT และ Gadget พร้อมสาระความรู้ How To ดีๆ สำหรับการใช้งานมือถือและแท๊ปเบล็ตที่พร้อมจะมาแชร์กับเพื่อนๆ ที่สนใจในเนื้อหาเดียวกัน เพื่อให้พื้นที่ AppDisqus.com เป็นสเปซสำหรับการแบ่งบันโดยแท้จริง

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Android

Google ใช้ AI ป้องกันภัยออนไลน์: ตรวจจับสแกมใน Search, Chrome และ Android

9 พฤษภาคม 2025
Apple

Google ทำโฆษณาแซว iPhone 17 แบบขำ ๆ “กล้องบาร์แนวนอนนี่…คุ้น ๆ นะ”

6 พฤษภาคม 2025
iPhone Updates

Apple ใกล้จบการเจรจากับ Google เพื่อนำ Gemini มาใช้บนอุปกรณ์ iPhone

1 พฤษภาคม 2025
Android

Google จ่ายหนักให้ Samsung เพื่อติดตั้ง Gemini AI เอาไว้ล่วงหน้า

23 เมษายน 2025
Android

ฟีเจอร์ Auto-Reboot ใหม่ของ Google จะรีบูต Android หากล็อกไว้นาน 72 ชั่วโมง

17 เมษายน 2025
Your Updates

Google Cloud นำร่องนวัตกรรม AI สำหรับองค์กรในหลากหลายอุตสาหกรรมที่งาน Next ’25

13 เมษายน 2025
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025253 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025222 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025296 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya10 พฤษภาคม 2025

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

10 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo