คุณสมบัติการชาร์จเร็วของอุปกรณ์สมาร์ทโฟน Android เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น คุณน่าจะเห็นตัวเลขวัตต์ (W) หรือแอมป์ (A) ที่แตกต่างกันของระบบชาร์จไปตามรุ่นและยี่ห้อของโทรศัพท์กำลังใช้งาน แน่นอนว่าอุปกรณ์ชาร์จที่เราจะแนะนำให้คุณเลือกหยิบมาใช้เป็นอันดับแรก ก็คงเป็นอุปกรณ์ Adaptor (อแดปเตอร์) หัวชาร์จของแท้และสายแท้ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ของคุณโดยตรงซะก่อน เพราะคุณจะได้รับความเร็วจากเทคโนโลยีการชาร์จที่เหมาะสมที่สุด และความปลอดภัยในระดับอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐานมากที่สุดไปด้วยนั้นเอง
แต่สำหรับใครที่จำเป็นต้องใช้งานหัวชาร์จหรือสายชาร์จเส้นอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นของแท้ตรงตามแบรนด์สมาร์ทโฟนที่คุณกำลังใช้โดยตรง เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกใช้อุปกรณ์จากแบรนด์อุปกรณ์เสริมที่มีมาตรฐานสักหน่อย เช่น มีการรับประกัน, กล่องแพ็กเกจถูกผลิตขึ้นมาได้ตรงปกกับตัวสินค้าภายใน, หรือแบรนด์ที่ถูกจำหน่ายบนห้างร้านค้าที่ดูน่าไว้ใจ หลังจากคุณมีสายและหัวชาร์จที่คุณพอจะไว้ใจได้แล้ว เรามีวิธีการดูคุณภาพของอุปกรณ์เหล่านั้นมาฝากกันด้านล่างครับ
วิธีการตรวจวัดประสิทธิภาพหัวชาร์จและสายชาร์จ ด้วยการดาวน์โหลดและติดตั้งแอพ Ampere ลงในสมาร์ทโฟน
เราขอแนะนำแอป Ampere ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกับการใช้วัดคุณภาพการชาร์จบนอุปกรณ์ Android เพื่อผลลัพธ์ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด โดยเราจะใช้วิธีการอ้างอิงประสิทธิภาพการชาร์จด้วยการหาค่า W (วัตต์) ของคู่อุปกรณ์ ระหว่าง สายชาร์จ+หัวชาร์จ ที่คุณนำมาใช้งาน ว่าจะสามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าออกมาได้สูงมากเพียงใด
1.. ดาวน์โหลด แอพ Ampere บนอุปกรณ์ Android ของคุณ คุณสามารถค้นหาได้ใน Google Play Store ที่เราแนะนำคือตัวดาวน์โหลดใช้งานฟรี (คุณสามารถซื้อเวอร์ชั่นโปรได้ภายในแอป เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาในราคาแค่ 40 บาท โดยจะเป็นการลบโฆษณาบนหน้าแอปออกไป)
2.. เปิดหน้าแอปพลิเคชั่นเอาไว้ แล้วเริ่มชาร์จอุปกรณ์ของคุณด้วยที่หัวชาร์จและสายชาร์จที่คุณต้องการทดสอบ ซึ่งระดับไฟในแบตเตอรี่ของเครื่องก็ควรจะเหลือให้น้อยมากพอสำหรับใช้ทดสอบการชาร์จได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ได้ตัวเลขการวัดที่แม่นยำมากที่สุด เพราะแต่ในระดับแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ ตัวระบบของสมาร์ทโฟนจะคอยปรับระดับไฟชาร์จขึ้นลงเพื่อความปลอดภัยอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา
3.. เปิดหน้าแอป Ampere ทิ้งไว้และปล่อยให้มันทำงาน คุณจะเริ่มเห็นการวัดระดับดันไฟฟ้าแสดงบนหน้าแอป เช่นข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ แรงดันไฟฟ้า ความจุสูงสุด สิ่งที่เราอยากให้สนใจคือระดับค่าแอมแปร์ mA (มิลลิแอมแปร์) ที่ด้านบน ซึ่งจะแสดงเป็นจำนวนต่ำสุดและสูงสุดเอาไว้ แล้วนำค่า mA เฉลี่ยที่ได้มานั้น เอาไปคูณกับตัวเลขที่อยู่ในบรรทัดค่า Voltage (สองค่าในกรอบสีส้มด้านล่าง)
เราก็จะได้ระดับการชาร์จที่คำนวนออกมาเป็น W ได้แบบคร่าวๆ ตามสูตร W = VA (**ค่า “mA” แปลงเป็นค่า “A” ด้วยการหาร 1000 เช่น “9000mA” ก็จะเท่ากับ “9A”)
***ตัวอย่าง*** คำนวน 8739mA X 4.521V ให้เราทำการปัดเศษได้เลย ตามภาพจะกลายเป็น 9000 mA(หรือ 9A) X 5.0V จะได้ระดับการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 45W นั้นเองครับ
ตัวเลขที่ได้มาไม่ได้มีความแม่นยำตามประสิทธิภาพชุดชาร์จที่ทดสอบแบบเป๊ะๆ แต่เราสามารถใช้เป็นการประมาณการที่เชื่อถือได้ครับ ยิ่งมีจำนวนแบตเตอรี่ที่เหลือน้อยก่อนการทดสอบ เพื่อที่จะได้ใช้เวลาในการชาร์จระหว่างทดสอบยาวนานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้ได้ผลลัพท์ที่แม่นยำมากขึ้นเท่านั้นครับ
หลังจากนั้นลองเปลี่ยนหัวชาร์จและสายชาร์จเป็นเส้นอื่น ที่คุณอยากจะลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพ และคิดออกมาเป็นจำนวน W เพื่อเปรียบเทียบกันได้เลย เพื่อหาสายและหัวชาร์จที่คุณพอใจมากที่สุดที่คุณมี