ดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านสำคัญ จากความต้องการด้านการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด การขยายเวิร์คโหลดการประมวลผล จำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ และงานด้าน AI ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในวันนี้ ในขณะเดียวกัน หัวหน้าฝ่ายไอทีต้องเผชิญแรงกดดันอย่างต่อเนื่องเพื่อลดต้นทุน ส่งผลให้หัวหน้าฝ่ายไอทีจำนวนมากต่างเร่งดำเนินการปรับปรุงระบบให้มีความทันสมัยและเปลี่ยนผ่านไปสู่ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่ามากขึ้น
กระบวนการย้ายและปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มเวิร์คโหลดธุรกิจดิจิทัลที่ใช้อยู่เดิมนั้นมีความซับซ้อน ทำให้องค์กรหลายแห่งกังวลถึงการหยุดชะงักทางธุรกิจและตั้งคำถามว่าการลงทุนในระบบใหม่เพื่อสนับสนุนแอปพลิเคชันที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เนื่องด้วยหากแอปพลิเคชันต่าง ๆ ขาดการพัฒนานานเกินไป อาจทำให้ระบบมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนผ่านและยากต่อการบูรณาการ แม้แต่การหาบุคลากรเพื่อมาดูแลรักษาก็อาจกลายเป็นปัญหาได้
ดังนั้น สำหรับเวิร์คโหลดขององค์กรในช่วงระหว่างการเปลี่ยนผ่าน ประสิทธิภาพที่มาจากโปรเซสเซอร์ AMD EPYC อาจเป็นข้อได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์สำหรับหัวหน้าฝ่ายไอทีได้ ดังนี้
เมื่อไหร่ที่เราควรจะยกระดับดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความทันสมัยและอย่างไร?
การดำเนินโครงการปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยเป็นทางเลือกในเชิงกลยุทธ์ สามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ เพิ่มผลิตภาพทางวิศวกรรม และเร่งนวัตกรรมพร้อมยังสามารถลดต้นทุนไปใด้ในเวลาเดียวกัน ในความพยายามทั้งหมดที่กล่าวมา การจัดการแนวทางให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญ การทำความเข้าใจลักษณะของเวิร์คโหลดและกระบวนการทางธุรกิจจะช่วยสร้างมูลค่า ทักษะจำเป็นของฝ่ายไอทีในการเป็นพันธมิตรที่ได้รับความไว้วางใจคือต้องจัดการด้านเทคโนโลยีให้มีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
โดยขั้นแรกของการยกระดับโครงการต่าง ๆ คือการประเมินแพลตฟอร์มที่มีอยู่อย่างรอบคอบ กุญแจสำคัญคือการวัดประสิทธิภาพชุดแอปพลิเคชันที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (POC) เพื่อให้สามารถแสดงผลลัพธ์ในระดับการผลิตได้อย่างที่ต้องการ หัวหน้าฝ่ายไอทีไอทีจำเป็นต้องมั่นใจว่าผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในระหว่างขั้นตอน POC มีหลายแง่มุม ประการแรก พวกเขาต้องมองหาประสิทธิภาพในการวัดผล – การปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญเป็นสิ่งจำเป็น ถัดมาควรพิจารณาถึงผลประโยชน์ด้านประสิทธิภาพเฉพาะของแอปพลิเคชันควบคู่กับการปรับขนาดและประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีขึ้น เพื่อให้สามารถบอกได้ว่าควรเพิ่มกรณีการใช้งานใหม่ ๆ ภายในขอบเขตต้นทุนเดิมหรือไม่
หัวหน้าฝ่ายไอทีต้องประเมินความสามารถของแพลตฟอร์มการประมวลผลสำหรับการสนับสนุนด้านนวัตกรรมในระยะยาว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดำเนินธุรกิจ พวกเขาต้องมีความมั่นใจอย่างเป็นเหตุเป็นผลว่าจะมีประสิทธิภาพการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี รวมไปถึงความสามารถในการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้นพร้อมด้วยการใช้พลังงานที่ต่ำลง
ความเสี่ยงและความซับซ้อน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการทำให้ระบบทันสมัย อาจเป็นความท้าทายสำหรับหัวหน้าฝ่ายไอทีในการอธิบายให้ฝ่ายธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงเข้าใจ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากความซับซ้อนในการดำเนินงานและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นข้อกังวลที่สมเหตุสมผลของหัวหน้าฝ่ายไอที แม้ว่าการ “พึงพอใจกับที่เป็นอยู่” จะเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงต่ำระยะสั้น แต่อาจทำให้องค์กรเปิดรับความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ที่ใหญ่ขึ้นและพลาดโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม แพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมสามารถสร้างความแตกต่างให้กับความพยายามทั้งหมดนี้ได้
ความพยายามที่จะสร้างแพลตฟอร์มไอทีแห่งอนาคตนั้น การพัฒนาให้ทันสมัยถือเป็นโอกาสในการส่งมอบผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ การใช้แพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลสูงเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ
ปัจจุบัน แรงขับเคลื่อนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแบบเปิดบนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ x86 – เช่น AMD EPYC – สามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญไปพร้อมกับการเพิ่มพูนผลตอบแทน การประมวลผลบนโครงสร้างพื้นฐาน x86 ช่วยให้สามารถรองรับหลากหลายของแอปพลิเคชันผ่านการปรับแต่งด้านพลังงาน ประสิทธิภาพ และเวิร์คโหลดเพื่อสนับสนุนองค์กรต่าง ๆ ในอนาคต
ตัวอย่างที่ดีของการเปิดกว้างทางทางเทคโนโลยี คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันที่ออกแบบสำหรับแพลตฟอร์ม x86 จะถูกส่งมอบในรูปแบบแพ็คเกจเดียวครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มที่มีสถาปัตยกรรมเดียวกัน หมายความว่า ธุรกิจสามารถรันซอฟต์แวร์ใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กร โดยแทบจะหรือไม่ต้องทำการดัดแปลงบนโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เมื่อมีเปลี่ยนผ่านมาจากแพลตฟอร์ม x86 อื่น ๆ ทำให้หัวหน้าฝ่ายไอทีสามารถพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิผลโดยที่มีปัญหารบกวนน้อยที่สุด ซึ่งใช้ประโยชน์จากความเปิดกว้างของระบบนิเวศเพื่อย้ายไปยังผู้จำหน่ายรายอื่นเมื่อพวกเขาเติบโตเกินกว่าแพลตฟอร์มที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ความยืดหยุ่นนี้สามารถแปลงเป็นข้อได้เปรียบสำคัญทางธุรกิจสำหรับองค์กรต่าง ๆ ได้ เมื่อทำการเปลี่ยนผ่านมาสู่โปรเซสเซอร์ AMD EPYC ดังเช่น บริษัท Yahoo! Japan สามารถลดจำนวนแร็คลงได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับผู้จำหน่าย (vendor) ก่อนหน้าเพื่อรันเวอร์ชวลแมชชีนจำนวนเท่าเดิม ในทำนองเดียวกัน Cyllene ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศฝรั่งเศส พบว่าการใช้พลังงานและการปล่อยความร้อนลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประสิทธิภาพการประมวลผลบนแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนำโปรเซสเซอร์ AMD EPYC เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
โอกาสในอนาคต
ปัจจุบัน AI ถือเป็นอนาคตสำคัญด้านเทคโนโลยีที่กำลังสดใส ซึ่งมาพร้อมกันกับความต้องการด้านพลังงานที่สูง องค์กรที่มั่นใจว่ามีแพลตฟอร์ม x86 ที่เหมาะสมย่อมหมายความว่าพวกเขามีแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรแบบครบวงจรสำหรับเทคโนโลยี AI ที่พร้อมสำหรับอนาคตด้วยเช่นกัน
เวิร์คโหลด AI ส่วนใหญ่มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงทั้งในด้านรูปแบบการใช้งานเชิงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านข้อมูล และต้นทุนที่แตกต่างกันตามการใช้งาน แตกต่างจากแอปพลิเคชันดั้งเดิมที่ออกแบบมาเพื่อทำงานบน CPU มาตรฐาน ขึ้นอยู่กับขนาดและความซับซ้อนของโมเดล AI ปริมาณและความเร็วของข้อมูลที่กำลังวิเคราะห์ จำนวนและตำแหน่งของผู้ใช้ และระดับความเข้มข้นในการประมวลผลโดยรวมที่ต้องการ
เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ขุมพลังโปรเซสเซอร์ AMD EPYC พร้อมมอบประสิทธิภาพการประมวลผลและประสิทธิผลด้านการใช้พลังงานในระดับชั้นนำ เพื่อช่วยให้สามารถรวมเวิร์คโหลด เพิ่มพื้นที่และพลังงานเพื่อรองรับเวิร์คโหลดใหม่งานด้าน AI ในดาต้าเซ็นเตอร์ปัจจุบันของคุณ
- สถาปัตยกรรม “Zen 5” ใหม่ที่ขับเคลื่อนขุมพลังการประมวลผลโปรเซสเซอร์ 5th Gen AMD EPYC ช่วยยกระดับด้านประสิทธิภาพการประมวลผลให้ดีขึ้นถึง 17% ในคำสั่งต่อรอบนาฬิกา (IPC) สำหรับเวิร์คโหลดงานด้านองค์กรและระบบคลาวด์ และเพิ่มขึ้นถึง 37% สำหรับงานด้าน AI และการประมวลผลประสิทธิภาพสูง (HPC)
- ด้วยเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD EPYC 9965 ลูกค้าสามารถคาดหวังถึงผลลัพธ์การประมวลผลที่ยอดเยี่ยมในงานด้านแอปพลิเคชันและเวิร์คโหลดต่าง ๆ ที่ต้องการทรัพยากรการประมวลผลสูงในระดับต้น ๆ ของโลก (real-world) ด้วยเวลาในการประมวลผลข้อมูลที่เร็วถึง 3.9 เท่า ในด้านการรับข้อมูลเชิงลึกบนแอปพลิเคชันด้านวิทยาศาสตร์และ HPC เมื่อเทียบกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon® 8592+ รวมถึงประสิทธิภาพต่อคอร์ที่สูงขึ้นถึง 1.6 เท่าในโครงสร้างพื้นฐานเสมือนจริง
- ผู้บริหารในตำแหน่ง CIO ยังสามารถพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัยขึ้นได้ พร้อมกันกับเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและพื้นที่ได้อย่างมหาศาล โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ใหม่จำนวน 131 เครื่องที่ใช้ขุมพลัง 2P 5th Gen EPYC สามารถประมวลผลแทนที่เซิร์ฟเวอร์เก่าจำนวน 1,000 เครื่องที่ใช้เซิร์ฟเวอร์โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Platinum 8280 ได้ – ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้มากถึง 68% ลดจำนวนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ลงถึง 87% และลดต้นทุนรวม (TCO) ตลอด 3 ปีลงถึง 67%
หัวหน้าฝ่ายไอทีจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดไปในเชิงการเลือกและปรับใช้โปรเซสเซอร์ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของดาต้าเซ็นเตอร์และขีดความสามารถการประมวลผลบนระบบคลาวด์ที่จะจับคู่เวิร์คโหลดแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่เข้ากับโปรเซสเซอร์ที่ดีที่สุดสำหรับงานที่องค์กรกำลังดำเนินงานอยู่
การพัฒนาระบบให้ทันสมัยด้วยแพลตฟอร์มที่ใช้ขุมพลังโปรเซสเซอร์ AMD EPYC หมายความว่าคุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน พื้นที่ และต้นทุนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ การลดค่าใช้จ่ายจากความพยายามเหล่านี้สามารถนำไปเพื่อเพิ่มฮาร์ดแวร์ฟุตพริ้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือนำไปใช้กับการยกระดับแอปพลิเคชันด้าน Generative AI ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น