สวัสดีวันศุกร์ครับ กลับมาพบกับผมแอดมินต้นอีกครั้งสำหรับเช้าวันสุดท้ายของการทำงานแบบนี้นะครับ
ยุคนี้ เราจะคุ้นชินกับอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์กันแบบที่เรียกว่าถ้าวันไหนไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือเว็บไซต์โปรดของเราล่มขึ้นมา เรียกว่าวันนั้นเหมือนจะขาดอะไรในชีวิตกันไปซักอย่างเลยทีเดียว
และแน่นอนว่าเว็บไซต์ชื่อดังในวันนั้น ย่อมต้องมีจุดเริ่มต้นเหมือนทุกๆอย่างครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านมารำลึกความหลังกับเว็บไซต์ดังๆทั้งที่ต่างประเทศและในบ้านเรากัน
Web 1.0 VS Web 2.0
ก่อนจะไปดูหน้าตาเว็บเหล่านั้น เรามาดูสิ่งที่เปลี่ยนไปจากยุคนั้นมายุคนี้กันดีกว่าครับ โดยเริ่มต้นนั้น เว็บไซต์ต่างๆจะอยู่ในยุคของ Web 1.0 หรือยุคแรกของเว็บไซต์ ซึ่งคอนเซ็ปท์ง่ายๆของ Web 1.0 คือ หน้าเว็บไซต์ที่เอาไว้แสดงข้อมูลต่างๆให้กับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเท่านั้น ซึ่งการแสดงผลก็จะเน้นที่ข้อความ รูปภาพความละเอียดต่ำหรือว่าคลิปอาร์ต สีสันพื้นๆ และที่แน่นอนคือภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF ที่ใครไม่มีในหน้าเว็บเรียกว่าเชยแหลก
คอนเซ็ปท์ของเว็บ 1.0 ถูกอธิบายเอาไว้ดังภาพครับ
ต่อมาเราก็เข้าสู่ยุคของ Web 2.0 กัน ซึ่ง Web 2.0 ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่นะครับ เพียงแต่คำว่า 2.0 เป็นการบัญญัติมาเพื่อเรียกแนวทางการทำเว็บในยุคใหม่ว่า ในยุคต่อไปนี้ เว็บไซต์ควรมีอะไรบ้าง
เว็บ 2.0 เริ่มใช้งานกันในช่วงปลายปี 1999 และเริ่มบูมจริงๆในช่วงปี 2004 โดยคอนเซ็ปท์หลักของเว็บ 2.0 จะอยู่ที่ การให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์มากขึ้น (อาจะเริ่มง่ายๆที่การสมัครสมาชิก หรือซับซ้อนขึ้นอย่างการเปิดให้แสดงความเห็น หรือเว็บบล๊อกต่างๆ) ไม่ใช่แค่เว็บสำหรับการอ่านข้อมูลที่เจ้าของต้องการจะสื่อสารเท่านั้น รวมถึงเน้นไปที่การสร้างเนื้อหา (Content) บนเว็บจากผู้เข้าเยี่ยมชม รวมถึงเน้นเรื่องคอมมิวนิตี้หรือชุมชนต่างๆ อันเป็นยุครุ่งเรืองของเว็บบอร์ด และแน่นอนว่าต้องมีรูปแบบเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้น อย่างการแทรกไฟล์วิดีโอในหน้าเว็บไซต์เป็นต้น
ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์ในยุคเว็บ 2.0 ก็จะเป็นเว็บชื่อดังรวมถึงเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆนั่นเอง
Web 3.0 เป็นยุคที่เรากำลังอยู่ในตอนนี้ครับ ซึ่งจริงๆไม่ต่างกับเว็บ 2.0 มากนัก แต่นิยามคร่าวๆคือเว็บไซต์จะมีความฉลาดขึ้น ระบบการค้นหาดีขึ้น รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาได้ดีขึ้น รวมถึงมีระบบ Distribute computing อย่าง P2P หรือพูดง่ายๆคือระบบ Cloud computing และระบบ Host สำหรับการเล่นเกมส์นั่นเอง
ตอนนี้เราก็รู้คอนเซ็ปท์คร่าวๆของเว็บในแต่ละยุคแล้วนะครับ เรามาดูหน้าตาของเว็บไซต์ชื่อดังในยุคแรกของพวกเค้ากันเลย
เว็บไซต์เทศ
เว็บที่ไม่มีใครไม่รู้จัก และเผลอๆส่วนมากจะใช้หน้านี้เป็นหน้าหลัก (Home) ของบราวเซอร์เลยด้วย เพราะติดตั้ง Google Chrome ไว้แล้วไม่ได้เปลี่ยนหน้า Home (เช่นผมเป็นต้น)
เจ้าพ่อ Search Engine นี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปมากนักในแง่รูปแบบการวางเนื้อหา Google ก่อตั้งและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการวันที่ 4 กันยายน 1998
ชื่อแรกของเว็บไซต์นี้คือ thefacebook เปิดตัวเมื่อปี 2004 ผลงานของ Mark Zuckerberg นักศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอนนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก รู้หรือไม่ว่าหน้าคนทางมุมซ้ายบน เป็นหน้าของดาราชื่อดังอย่าง Al Pacino ด้วย
YouTube
เว็บที่ไม่มีคนไม่รู้จักอีกเช่นกัน หน้าจอแรกของเว็บไซต์ YouTube เข้าขั้นวิกฤต โลโก้ยังทำออกมาติดพื้นขาวด้วย ทั้งที่เปิดใช้งานจริงๆในปี 2005 ด้วยผู้ก่อตั้งแค่ 3 คนเท่านั้น และ Google ก็ซื้อกิจการไปอย่างรวดเร็วในปี 2006
เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คชื่อดังอีกเว็บที่อาจจะมีฐานผู้ใช้ไม่เท่า Facebook แต่ว่าก็มีไม่น้อยที่ชอบเล่นทวิตเตอร์ครับ Twitter ก่อตั้งในปี 2006
Yahoo
เป็นเว็บที่คนอาจจะใช้ไม่มากนักในบ้านเรา แต่ว่าที่เมืองนอกกระแสก็ดีในระดับน่าพอใจ (ถึงแม้จะมีดราม่าและปัญหาภายในเยอะหน่อยในช่วงหลังๆ)
Microsoft
เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที ที่ตอนเริ่มต้นแน่นอนว่าอยู่ในยุคที่อินเตอร์เน็ตเพิ่งเริ่มก่อตัวเท่านั้น หน้าตาเว็บไซต์เลยคลาสสิก (?) เอามากๆ
Apple
นี่ก็ไม่น่าจะไม่มีใครไม่รู้จักครับ สำหรับบริษัทที่เริ่มจากการทำตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์และตอนนี้เป็นขาใหญ่ในแทบจะทุกวงการแล้ว หน้าตาเว็บไซต์ยุคเริ่มแรกของ Apple ก็คลาสสิกไม่แพ้ Microsoft นะเนี่ย
Dell
อาจจะเป็นอดีตยักษ์ใหญ่ ที่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ตลาด PC ที่เปลี่ยนไป ชื่อของ Dell อาจจะเสื่อมมนต์ขลังไปบ้าง แต่ก็ยังครองใจแฟนๆอยู่ ส่วนหน้าเว็บไซต์ยุดแรกของ Dell นั้นเล่นเอาอึ้งครับ
เว็บไทยๆ
จากเว็บเมืองนอกแล้ว เรามาดูเว็บไทยๆกันบ้าง
Pantip.com
เว็บไซต์คอมมิวนิตี้ที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆของเมืองไทย AppDisqus เราก็มีจุดกำเนิดจากการรวมตัวของคนในเว็บไซต์แห่งนี้
คอนเซ็ปท์ของพันทิปคือสังคมอุดมมาม่า เอ้ย ปัญญาครับ หน้าตายุคแรกคลาสสิกไม่หยอก แถมใช้พื้นหลังเป็นรูปดาวด้วย..นึกถึงความหลังตอนเขียนเว็บส่งอาจารย์ในชั้นเรียนมากๆ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะหน้าเว็บเวอร์ชั่นนี้ถูกใช้งานในปี 1998 กันเลยทีเดียว
Sanook.com
อีกเว็บที่ไม่พูดถึงไม่ได้เหมือนกันในบ้านเรา กับเว็บวาไรตี้..มากๆ เว็บหนึ่งที่มีหมวดหมู่ต่างๆให้เลือกอ่านมากกกกกก มายครับ
หน้าตาเว็บยุคแรกก็ไม่หนีไปจากพันทิปมากนัก
Thaimail.com
อ๊ะๆ ใครเกิดทันบ้างครับ นี่เป็นอีเมลแอดเดรสแรกๆที่ผมมีเลยเช่นกัน เพราะว่าฟรีและเป็นภาษาไทยอีกต่างหาก เริ่มก่อตั้งในปี 1999 เลยทีเดียว
AppDisqus.com
ชื่อนี้ไม่มีใครไม่รู้จักครับ (เหรอ) เว็บไซต์ไอทีหน้าใหม่ไฟแรง..ว่าไปนั่น ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าก่อนที่ผมจะเข้ามาร่วมด้วยนี้ เว็บไซต์ของเรามีการเปลี่ยนโลโก้ตามเทศกาลกับเค้าด้วย…แล้วตอนนี้มันหายไปไหน
อ้อ เรามุ่งเน้นการผลิตคอนเทนท์ที่เป็นเนื้อในแทนหน้าตาเว็บ เพื่อเพื่อนๆทุกคนนั่นเองครับ 555
วันนั้นมีคนไลค์แฟนเพจถึง 1,045 คนเลยทีเดียว (เมื่อปลายปี 2012)
การเรียกดูหน้าเว็บไซต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ว่าไปนั่น)
เพื่อนๆก็สามารถทำได้เองสนุกๆครับ ว่าเราอยากดูเว็บไซต์โปรดของเราในช่วงเวลาใด วิธีง่ายๆคือไปที่เว็บไซต์ http://archive.org/web/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทีเก็บประวัติของเว็บไซต์ต่างๆทั่วโลกที่มีการบันทึกเอาไว้ มากกว่า 456 พันล้านเว็บเลยทีเดียว
ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากครับ เราพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการ จากนั้นระบบก็จะแสดงประวัติของหน้าเว็บไซต์นั้นๆตามช่วงเวลาที่มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ให้
ซึ่งเราสามารถเรียกดูได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการด้วยการเลื่อนแถบเวลา และเรียกดูจากปฏิทินได้อีกด้วย
เพื่อนๆก็ลองเอาไปเล่นกันดูนะครับ และสามารถเอาภาพเว็บไซต์เก่าๆมาแชร์กันได้ในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างเลยครับ
ที่มา: Mashable.com, Libraryhub.in.th, Telegraph