สวัสดีเช้าวันพฤหัสบดีค่า เจอกันอีกแล้วนะคะ แหม วันเวลาช่างผ่านไปไวจริงๆ แป๊บๆ ก็ผ่านมาครึ่งปีของปี 2558 แล้ว เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย? ชีวิตในครึ่งปีแรกมีความสุขไหม? สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจทำกันหรือเปล่า? สำหรับตูนเป็นครึ่งปีที่ไม่มีอะไรพิเศษเลยจริงๆ ชีวิตราบเรียบไม่มีความหวือหวาตื่นเต้นอะไรกะเค้าสักเท่าไหร่ ช่วงนี้เข้าหน้าฝนแล้วฝนก็ตกเกือบทุกวัน บางคนก็ชอบเพราะฝนตกแล้วอากาศจะดีเย็นสบาย นอนก็สบาย แต่บางคนก็ไม่ชอบเพราะต้องเดินทางไปทำงาน และยิ่งในกรุงเทพนี่นะ ฝนตกทีนึงลำบากหลายอย่าง รถก็ติดมากกว่าเดิม(เดิมก็ติดมากอยู่แล้ว) แถมบางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังอีก อย่างซอยที่จะเข้ามาที่ตึกที่ตูนทำงานอยู่นะ เวลาฝนตกต่อเนื่องกันนานๆ หลายชั่วโมง ตอนเช้าเนี่ยน้ำจะท่วมซอยมิดล้อรถยนต์กันเลยทีเดียว แล้วใครที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS และต้องมาต่อรถมอไซด์วินเนี่ยนะ ยังกะนั่งเรือหางยาวกันเลยทีเดียว ลำบ๊าก ลำบาก ทีนี้สำหรับคนที่ไม่ชอบหน้าฝนเข้าขั้นเกลียดกันเลยทีเดียว ตูนก็พอจะมีวิธีที่อาจจะช่วยไล่ฝนได้(อาจเป็นแค่ความเชื่อส่วนบุคตลนะคะ) มาฝากกันค่ะ
หลายๆ คนน่าจะเคยเห็นและรู้จักกันมาก่อนกับเจ้า “ตุ๊กตาไล่ฝน” นะคะ ถ้าให้นึกถึงตุ๊กตาไล่ฝนแล้ว เพือนๆ มีความทรงจำเกี่ยวกับเจ้าตุ๊กตาตัวนี้มาจากไหนกันคะ สำหรับตูนนั้น ความทรงจำนี้ได้มาจากการ์ตูนเรื่อง อิคคิวซังค่ะ ถือเป็นการ์ตูนที่ใช้ตุ๊กตาไล่ฝนเป็นตัวแทนของแม่ที่คอยห่วงใยลูกอย่างอิคคิวซังได้ซาบซึ้งดีนะคะ ดูแล้วรู้สึกถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูกจริงๆ
มาดูที่มาที่ไปของตุ๊กตาไล่ฝนกันดีกว่า ว่าจริงๆ แล้วมันมาจากไหน
ตุ๊กตาไล่ฝน หรือในชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า “เทรุ เทรุ โบสุ” (Teru Teru Bozu : 照る照る坊主) ซึ่งแบ่งมาจากคำว่า เทรุเทรุ แปลว่า (พระอาทิตย์) ส่องแสง ส่องสว่าง หรือ อากาศที่ดี และ โบซุ แปลว่า เด็กหัวล้าน เด็กหัวโล้น หรือจะหมายถึง พระในพุทธศาสนาที่ต้องโกนหัว เป็นตุ๊กตาขนาดเล็กที่ชาวญี่ปุ่นนิยมแขวนไว้ที่หน้าบ้าน ในเวลาที่ต้องการให้อากาศแจ่มใส ลักษณะของตุ๊กตาไล่ฝนเป็นตุ๊กตาผ้าสีขาว หัวกลมและมีการเขียนหน้าตา ในบางโอกาสชาวนาจะแขวนตุ๊กตาไล่ฝนกลับหัวสำหรับขอฝน ในปัจจุบันยังมีการแขวนตุ๊กตาไล่ฝนกันบ้าง โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กเล็ก
ตุ๊กตาไล่ฝน ถูกสร้างขึ้นในสมัย เอโดะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ตุ๊กตาเช่าฉิงเหนียง (หญิงสาวผู้ขจัดเมฆฝน: ของ ประเทศจีน โดยมีบันทึกจากหนังสือในสมัยโบราณได้บันทึกข้อความตอนหนึ่งเกี่ยวกับ ว่า… ” ฝนตกมานานจนมากเกินไปแล้ว ”
ชาวบ้านจึงเอา กระดาษสีขาวมาทำเป็นส่วนศีรษะ ตัดกระดาษสีแดงและเขียวมาทำเป็นเสื้อผ้า แล้วผูกแขวนไว้ใต้หลังคา เรียกกันว่า “เช่าฉิงเหนียง” ด้วยเหตุนี้เองการทำตุ๊กตาไล่ฝน จึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น จนถึงปัจจุบันและยังมีใช้กันอยู่ในบ้านที่มีเด็กๆ ซึ่งเวลาที่พวกเค้าจะออกไปทัศนศึกษาหรือเข้าค่ายก็จะแขวนตุ๊กตาไล่ฝนไว้ก่อนออกจากบ้าน เพื่อให้เป็นวันที่สดใสไม่มีฝนตกมารบกวนในขณะทัศนศึกษาที่พวกเค้ารอคอยนั่นเอง
มาดูวิธีทำตุ๊กตาไล่ฝนกันดีกว่า
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. วัตถุทรงกลมขนาดไม่ใหญ่มาก จะใช้เป็นลูกปิงปองก็ได้ค่ะหาง่ายและก็สะดวกดี
2. ผ้าสีขาวตัดเป็นรูปสีเหลี่ยม ปากกาและเชือกสำหรับผูกค่ะ
มาเริ่มทำกันเลย เริ่มจากเอาลูกปิงปองไปไว้ตรงกึ่งกลางของผ้าสีขาว แล้วก็รวบผ้าให้คลุมลูกปิงปอง ใช้เชือกผูกใต้ลูกปิงปองให้ตึง เสร็จแล้วก็ใช้ปากกาวาดหน้าตา คิ้ว จมูก ปาก แล้วแต่เราอยากจะให้ตุ๊กตาไล่ฝนของเรามีหน้าตาแบบไหน ตามจินตนาการเลยค่า
อ่อๆๆ เค้ายังมีความเชื่ออีกว่า หากแขวนตุ๊กตาไล่ฝนกลับหัวจะกลายเป็นเรียกฝนแทน ฉะนั้นระวังน๊า ตอนแขวนก็ตรวจสอบกันนิดส์…ว่าตุ๊กตากลับหัวหรือเปล่า ประเดี๋ยวจากที่จะไล่ฝนกลายเป็นเรียกฝน จะหาว่าตูนไม่เตือนน๊า บ๊าย บายยยย
ขอบคุณเนื้อหาและรูปประกอบจาก Internet ค่ะ