ตอนนี้เรื่องราวที่เป็นหนึ่งใน Talk of the Town ในขณะนี้คือเรื่องของไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือที่เรียกว่า “MERS” ครับ ซึ่งหลังจากที่ระบาดหนักไปทั่วเกาหลีใต้ ในขณะนี้ก็มีข่าวที่ยืนยันแน่นอนว่ามีเจอผู้ติดเชื้อรายแรกในไทยแล้วครับ (อ่าน) ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขออนุญาต สรุปย่อสั้นๆ ถึงที่มาและการรับมือ เมอร์ส กันครับ มาดูกัน
M E R S
โรค MERS หรือ MERS-CoV (เมอร์ส-คอฟ) ย่อมาจากคำว่า Middle East Respiratory Syndrome หรือกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง เกิดจากการติดเชื้อในกลุ่ม โคโรน่าไวรัส (Coronavirus: CoV) ทำให้ชื่อย่อของเชื้อโรคนี้ในภาษาอังกฤษ จึงใช้คำว่า MERS-CoV นั่นเอง
ซึ่งการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้นั้นก็เกิดจากที่มีคนเกาหลีใต้ไปติดมาจากเอเชียตะวันออกกลางนั่นเองครับ ในรายที่ไทยที่เจอล่าสุดเป็นคนจากประเทศในตะวันออกกลางเดินทางมารักษาโรคหัวใจ ที่โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย โชคดีที่มารักษาตัวในโรงพยาบาลพอตรวจว่ามีอาการติดเชื้อ MERS จึงสามารถตัั้งมาตรการป้องกันและขยายผลตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว
ระยะฝักตัวและอาการ
ระยะฝักตัว 2 สัปดาห์ (คือผ่านไป 2 สัปดาห์อาการจะเริ่มแสดงออก) อาการคือ ไอหนักๆ มีไข้และ หายใจลำบาก คล้ายอาการเป็นหวัด บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายเป็นปกติ อาจมีการท้องเสีย มวนท้องด้วย แต่ผู้ป่วยที่มีอาการติดรุนแรงอาจมีภาวะปอดบวมหรือไตวายได้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต มักจะมีโรคประจำตัวหรืออาการเริ้อรังอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคหรืออาการเรื้อรัง เช่น หัวใจ ปอด ไต
การระบาด
ระหว่างคนต่อคน ระบาดโดยฝอยละอองจามทางอากาศ
การป้องกัน
1 ) สวมหน้ากากอนามัย เลือกใช้ตามที่เป็น standard มีขายตามร้านขายยาทั่วไป แบบผ้า ไม่แนะนำ ไม่มีประโยชน์
2 ) หมั่นล้างมือบ่อยๆ ** สำคัญมาก โดยเฉพาะก่อนและหลังรับประทานอาหาร
3 ) หลีกเลี่ยงการเดินทางไปสถานที่ที่มีการระบาดของโรค หากจำเป็นควรเอาหน้ากากอนามัยติดไปด้วย
4 ) หากต้องอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อ ควรรักษาระยะห่างในการคุยกันราวๆ 1 เมตร
5 ) กรณีที่เป็นแล้วควรใส่หน้ากากอนามัยด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันเผยแพร่ไปสู่ผู้อื่น
การรักษา
ยังไม่มีตัวยารักษา รักษาตามอาการ จนกว่าร่างกายจะต้านทานขจัดออกไปเอง
***UPDATE ราชกิจจาฯ ประกาศ “เมอร์ส (MERS)” เป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับ 7 และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความลำดับที่ 22 แล้วครับ อ่านข่าวได้ ที่นี่
สุดท้ายนี้รบกวนทุกท่านสละเวลาเพิ่มอีกสัก 5 นาทีมาดูกันกับ Clip สั้นๆ เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม จาก ผศ. นพ. กำธร มาลาธรรม อจ. ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ครับ