โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัวสมอลเซลล์ ความเร็วสูงสุด 1 Gbps รายแรกของโลก พร้อมส่งบริการและฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อรับมือความท้าทายด้านประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย
* HetNet Engine Room Service คือโซลูชั่นใหม่ที่เป็นทางเลือกของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานและการใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสถานีฐาน และการดำเนินงาน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 90% ของต้นทุนโดยรวม (TCO) ในการติดตั้งสมอลเซลล์
* Flexi Zone LTE-A เป็นสมอลเซลล์รุ่นใหม่รายแรกในอุตสาหกรรม รองรับอัตราความเร็วสูงสุด 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) และมาพร้อมกับแพลตฟอร์มคลื่นความถี่วิทยุแบบโมดูล
โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัว Flexi Zone สถานีฐานแบบโมดูลรุ่นใหม่สำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร โดยเป็นสมอลเซลล์รุ่นแรกของโลกที่สนับสนุนอัตราความเร็วสูงสุดได้มากกว่า 1 กิกะบิต ต่อวินาที (Gbps) มาพร้อมชุดบริการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การติดตั้งสมอลเซลล์ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยผู้ให้บริการพัฒนาไปสู่เครือข่ายซึ่งจำเป็นต้องใช้สถานีฐานจำนวนมาก และเครือข่ายที่มีความหนาแน่นสูงมาก (Ultra-Dense Networks)
90% ของค่าใช้จ่ายโดยรวมของสมอลเซลล์เป็นค่าใช้จ่ายด้านการติดตั้งและดำเนินงาน โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ จึงได้จัดเตรียมนวัตกรรมต่างๆ เพื่อรับมือกับอุปสรรคสำคัญเหล่านี้ นวัตกรรมดังกล่าวได้แก่ การเลือกจุดตั้งสถานีฐานที่เหมาะสมที่สุด, การเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น, การปรับปรุงเทคโนโลยี plug and play คุณสมบัติด้านประหยัดพลังงาน และทำให้การประสานงาน (synchronization) ระหว่างสถานีฐานทำได้ง่าย
สรุปข้อมูลการเปิดตัว
* แพลตฟอร์มสถานีฐานสำหรับติดตั้งนอกอาคารรุ่นใหม่ Flexi Zone G2 Multi-Band Carrier Aggregation Outdoor Micro/Pico Base Station (BTS) ของโนเกีย เน็ตเวิร์คส์ มีความสามารถที่ยอดเยี่ยม และสนับสนุนอัตราความเร็วสูงสุดมากกว่า 1 กิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ด้วยการใช้ RF module แบบ 3 slots ผู้ให้บริการสามารถติดตั้งและหลอมรวมเทคโนโลยีความถี่วิทยุที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนการผสานคลื่นความถี่จากผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตในย่านความถี่ LTE เข้าด้วยกันได้สูงสุดถึง 3 ราย หรือทำการปรับแต่งค่าการทำงานของเครือข่าย เพื่อนำเสนอการให้บริการที่ผสมผสานทั้งผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตในย่านความถี่ LTE, ไม่มีใบอนุญาต LTE (LT E-U หรือ LAA) และไว-ไฟ
* โซลูชั่น Nokia HetNet Engine Room เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ให้บริการติดตั้งสมอลเซลล์ ได้รวดเร็วขึ้น 30%, ค่าใช้จ่ายลดลง 20% และเพิ่มการให้บริการได้ 10% ด้วยการใช้แผนที่แบบ 3 มิติซึ่งแสดงรายละเอียดได้ถึงระดับบนถนน จึงช่วยในการคำนวณ “ตัวชี้วัดมูลค่าต่อสถานีฐาน (Site Value Index)” ซึ่งช่วยเพิ่มผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ให้กับผู้ให้บริการ ด้วยการนำข้อมูลชี้วัดไปเลือกจุดติดตั้ง
* นวัตกรรมอื่นๆ อีกมากมายของโนเกีย เน็ตเวิร์คส์ ให้ความสำคัญกับการเอาชนะอุปสรรค เชิงเทคนิคและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสมอลเซลล์เช่นกัน
o ทางเลือกในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานแบบไร้สาย ในรูปแบบการสื่อสารแบบ non-line-of-sight (NLoS) จากจุดหนึ่งไปยังหลายๆ จุด ของ Tarana Wireless ซึ่งเป็นพันธมิตรของโนเกีย เน็ตเวิร์คส์ เป็นทางเลือกที่ทำให้สามารถนำวิธีการการสื่อสารระหว่างสถานีฐานแบบคล้ายคลึงการใช้ไฟเบอร์ซึ่งมีประสิทธิภาพความเร็วสูง ไปใช้งานได้ในจุดที่จะมีค่าใช้จ่ายสูงหากใช้ไฟเบอร์หรือเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ line-of-sight
o ความสามารถของเครือข่ายการจัดการตนเองอัจฉริยะ (iSON) รุ่นใหม่ ช่วยให้ติดตั้งสมอลเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานบนโครงข่ายสาธารณะ * และสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายที่ไม่ได้ใช้ Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) ปัจจุบัน สมอลเซลส์ สามารถทำงานได้ภายในเวลาไม่ถึง 20 นาทีหลังการเดินเครื่อง ในทั้ง 2 สภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนนี้
o การผสานรวมฟังก์ชั่น Grand Master Clock เข้ากับ Flexi Zone Controller จะช่วยเพิ่มความเที่ยงตรงในระดับสูงให้กับทุก Flexi Zone AP** ที่อยู่ในคลัสเตอร์ คุณสมบัติการทำงานข้อนี้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CapEx) และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OpEx) โดยขจัดความจำเป็นในการใช้โซลูชั่นการจับเวลาจากภายนอก หรือเสาอากาศจีพีเอส สำหรับสมอลเซลล์แต่ละชุด
o ต้นทุนในการดำเนินการติดตั้ง Flexi Zone ลดลง เนื่องจากฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยประหยัดพลังงาน ผู้ให้บริการจึงสามารถลดปริมาณพลังงานที่ใช้ในการทำงานของสมอลเซลล์ได้ในบางช่วงเวลาหรือในช่วงที่มีปริมาณการใช้งานน้อย
นายแรนดี้ ค็อกซ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการผลิตภัณฑ์สมอลเซลล์ กลุ่มธุรกิจ โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า “การติดตั้งสมอลเซลล์ที่ถนนฝั่งหนึ่ง อาจจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดตั้งในจุดที่ห่างออกไปไม่กี่เมตรของถนนอีกฝั่งหนึ่งถึง 10 เท่า เรากำลังนำแนวทางใหม่ที่จะช่วยผู้ให้บริการเลือกจุดติดตั้งที่ดีที่สุด และทำการติดตั้งสมอลเซลล์ ให้การเชื่อมต่อระหว่างสถานีฐานทำได้อย่างรวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก ปัจจุบันผู้ให้บริการเห็นถึงข้อดีในการใช้สมอลเซลล์ในเชิงธุรกิจ และได้รับผลตอบแทนการลงทุนด้านเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น”
ทราบหรือไม่
ในสหรัฐอเมริกา มีตัวอย่างว่าค่าใช้จ่ายในการเช่าเสาส่งสัญญาณ เริ่มตั้งแต่หลัก 50-1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ขณะที่ การซื้อสถานีฐานมีต้นทุนตั้งแต่ 3,000-30,000 เหรียญสหรัฐฯ