หลังจากที่ผมได้แนะนำปลั๊กอิน Twitter Streaming Importer ไปในบทความตามลิงค์ด้านล่างไปแล้ว แม้ผมจะบอกว่ามันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? แต่เชื่อว่าหลายท่านอาจยังมองภาพไม่ออก ดังนั้นผมจะมานำเสนอเนื้อหาที่ได้จากการใช้งานปลั๊กอิน Twitter Streaming Importer เพื่อเป็นตัวอย่างในการใช้งานนะครับ
หลังจากที่เราใช้ปลั๊กอินตัวนี้ดึงข้อมูลจากทวิตเตอร์มาเรียบร้อย ซึ่งผมดึงข้อมูลจาก hashtag “เลือกตั้ง62” แล้วทำการรันโปรแกรมในการวิเคราะห์เครือข่ายที่ได้ ซึ่งผลปรากฎข้อมูล 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่
- ดีกรี หมายถึง จำนวนความสัมพันธ์ของแต่ละทวิตเตอร์ โดยความสัมพันธ์นี้เกิดจากการ Retweet Mention และ Quote เกี่ยวกับ “เลือกตั้ง62”
- ความเป็นศูนย์กลาง หมายถึง ทวิตเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางของการทวิตเกี่ยวกับ “เลือกตั้ง62”
- อิทธิพล หมายถึง ทวิตเตอร์ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างทวิตเตอร์ด้วยกัน โดยความสัมพันธ์นี้เกิดจากการ Retweet Mention และ Quote เกี่ยวกับ “เลือกตั้ง62”
โดยกราฟนี้เป็นกราฟแสดงค่าอิทธิพล โดยเรียงลำดับโดยใช้ขนาดและสีของจุด
แต่ถือว่านำไปใช้ต่อได้ยาก ทำได้เพียงแสดงให้เราเห็นภาพรวมว่ามีจุดใดบ้างที่ใหญ่กว่าจุดอื่น ๆ อย่างชัดเจน
สรุปผลการวิเคราะห์เครือข่ายทวิตเตอร์
เมื่อโปรแกรม Gephi วิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย เรานำข้อมูลออกเป็น .csv แล้วนำผลนำมาทำ infographic สรุปผลได้ดังต่อไปนี้ (ผมทำ infographic ครั้งแรก ไม่สวยไม่ว่ากันนะครับ ฮ่า ๆ)
1. ค่าอิทธิพลมากที่สุด
อันดับอื่น ๆ
2. ค่าความเป็นศูนย์กลาง
อันดับอื่น ๆ
5. @bigteshop ค่าความเป็นศูนย์กลาง = 60
6. @yasmoon1231 ค่าความเป็นศูนย์กลาง = 31.5
7. @pooipuyy ค่าความเป็นศูนย์กลาง = 6
8. @tv24official ค่าความเป็นศูนย์กลาง = 5
9. @windwind988 ค่าความเป็นศูนย์กลาง = 3
3. ค่าดีกรี(Degree)
นอกจากนี้ก็ถือว่าแล้วแต่การสร้างสรรค์การใช้งานของแต่ละคนครับ ซึ่งหากใครสนใจอยากทำตาม แล้วติดขัดจุดไหนก็สอบถามมาทางแฟนเพจได้นะครับ ยินดีแชร์ความรู้เสมอครับ