รีวิว Apotop Wi-Backup DW23 แบตเตอรี่เสริม ที่ทั้ง Wi-Fi เราเตอร์, แชร์โอนย้ายข้อมูล และสามารถคัดลอกไฟล์ได้ด้วยตัวมันเอง
ตัวนี้ตัวท็อปแล้วครับ สำหรับอุปกรณ์ Apotop ที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทย อุปกรณ์เสริมสารพัดประโยชน์ที่มีความสามารถในการทำงานหลายอย่างมากๆ เช่น Wireless Data Transfer, Power Bank, WiFi Router, WiFi Repeater แบตเตอรี่เสริม และเจ้าตัวนี้ มันสามารถคัดลอกก็อปบี้ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ด้วยตัวมันเองแบบไม่ต้องพึ่งเครื่องใดๆ ได้ด้วยครับ
ผมเคยได้นำ Apotop Wi-Copy W21 ซึ่งเป็นรุ่นน้องของเจ้าตัวนี้มารีวิวแนะนำกันไปแล้วนะครับ แต่ในรุ่นนี้ Apotop Wi-Backup จะมีความสามารถที่มากขึ้นไปอีกระดับ เพราะนี่เป็นเครื่องระดับสูงกว่า ในราคาที่ใกล้ๆ กัน และเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence 2015 มาหมาดๆ ด้วยนะครับ มาดูกันว่าความสามารถของเจ้าอุปกรณ์กล่องเล็กๆ ตัวนี้ จะมีมากแค่ไหน สมรางวัลที่ได้รับมาหรือมั้ยครับ
ตัวเครื่องและพอร์ตการใช้งานต่างๆ
ขนาดตัวเครื่องของ Wi-Backup นั้นไม่ใหญ่มากครับ มีขนาดพอๆ กับพาวเวอร์แบงค์ก้อนหนึ่ง แต่น้ำหนักนั้นไม่หนักมากครับ ความสามารถในการเป็นอุปกรณ์คู่กายสำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน ก็คือการเป็นแบตเตอรี่เสริมให้กับเราได้ ด้วยพลังงานที่มีอยู่ภายในตามเอกสารแจ้งไว้ 5,200 mAh ตัวเครื่องสีขาว โค้งมน พร้อมด้วยปุ่มสั่งงานพิเศษที่มีเพียงรุ่นนี้รุ่นเดียว ซึ่งไว้ใช้งานอะไรนั้น เดี๋ยวพูดกันต่อไปครับ
มีสวิตช์โหมดการทำงานสามโหมดด้วยกัน นั้นคือปิดเครื่อง, ปล่อยพลังงานเพิ่มชาร์จไฟ, และโหมดฟลูออฟชั่น ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi พร้อมทำงาน
เราจะเห็นว่า ในด้านหน้าของตัว Wi-Backup จะมีพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อสาย USB (ฺB) และ SD card เอาไว้ให้อย่างละหนึ่ง ซึ่งทั้งสองพอร์ตด้านนี้ เราจะสามารถเลือกใช้งานได้ทีละหนึ่งพอร์ตนะครับ ถ้ามีการเสียบ SD card และ USB (B) เอาไว้ทั้งคู่ ตัวเครื่องจะเลือกอ่านไฟล์ที่อยู่ใน SD card ก่อนเท่านั้นนะครับ เพราะถ้าต้องการจะใช้งานสองอุปกรณ์พร้อมๆ กัน เราต้องเสียบสาย USB เข้าไปที่ด้านหลัง ซึ่งจะมีพอร์ต USB (A) เอาไว้รองรับอีกหนึ่งพรอ์ต เราก็จะสามารถใช้งานได้พร้อมๆ กัน
ในด้านหน้า จะมีพอร์ต USB (A) ไว้เชื่อมต่ออุปกรณ์ มีพอร์ต Micro USB เอาไว้ชาร์จพลังงาน และช่องเสียบสาย LAN ไว้รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อการกระจายสัญญาณได้แบบ Wi-Fi Hotspot
*พอร์ต USB รองรับ Extelnal HDD 2.5 ได้แบบไม่ต้องต่อไฟเพิ่มนะครับ
ประโยชน์และความสามารถของ Apotop Wi-Backup DW23
จะเห็นว่าด้วยพอร์ตและช่องการเชื่อมต่อทั้งหมด สิ่งที่เจ้า Apotop Wi-Backup จะทำได้นั้น ประกอบด้วย
- การชาร์จพลังงานให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านสาย USB
- การเป็น Wi-Fi เราเตอร์ ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ไร้สายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยอินเตอร์เน็ตที่เสียบจากสาย Lan
- เป็นจุดศูนย์กลางเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ใน SD card หรือ USB Flashdrive (รวมถึงฮาร์ดดิส) แบบไร้สาย ผ่านแอพพลิเคชั่นที่เข้าใช้งานได้ทั้ง Android และ iOS
ยังมีเรื่องที่สำคัญอีกหนึ่งอย่าง นั้นคือการทำงานผ่านปุ่มใหญ่ด้านบนตัวเครื่อง ซึ่งเป็นปุ่มที่ผมเรียกว่า ปุ่ม Backup ครับ เราสามารถคัดลอกไฟล์จากอุปกรณ์ SD card หรืออุปกรณ์ที่เสียบไว้กับพอร์ต USB (B) คัดลอกไปเก็บไว้ที่่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับ USB (A) ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดดิสหรือ USB Flashdrive ได้โดยอัตโนมัติครับ
แค่เพียงเตรียมอุปกรณ์ไว้ทั้งสองฝั่ง ฝั่งด้านหน้า เป็นอุปกรณ์ USB หรือ SD card ที่ต้องการคัดลอก และฝั่งด้านหลังเสียบอุปกรณ์ USB ที่เราต้องการจัดเก็บไฟล์ เมื่อเสียบอุปกรณ์ครบแล้วไฟสีส้มจะสว่างติดบนตัวสวิทช์ Backup เป็นการแสดงความพร้อมในการใช้งานครับ เมื่อต้องการจะคัดลอกข้อมูลก็เพียงกดปุ่มสีส้มค้างไว้ประมาณสามวินาที ไฟสีส้มจะสว่างกระพริบเพื่อแสดงสถานะว่ากำลังแบ็คอัพคัดลอกข้อมูล
ไฟสีเขียวสว่าง แปลว่าคัดลอกไฟล์ไปแบ็คอัพเก็ไว้ให้เรียบร้อยแล้วครับ ผมทดสอบใช้งานการคัดลอกไฟล์ประมาณ 10GB ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 15 นาทีโดยประมาณครับ แต่ถ้าขึ้นไฟสีแดงแสดงว่าการคัดลอกไฟล์ล้มเหลวนะครับ อาจจะเพราะที่จัดเก็บข้อมูลเสีย หรือพื้นที่ไม่เพียงพอครับ
นอกจากความสามารถด้านบนแล้ว ก็ยังมีความสามารถที่ซ่อนไว้อื่นๆ อีกเช่น การเป็น Wi-FI Reapeter การช่วยกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้มีความเข้มข้นขึ้นในพื้นที่ที่เราอยู่ และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ แบบไร้สายเช่นสมาร์ททีวีหรือเครื่องเล่นหนังผ่านระบบไร้สาย Samba และ Dlna ซึ่งผมขออนุญาตแนบวิธีการใช้งานต่างๆ และวิธีการตั้งค่าจากรีวิว Wi-Copy DW21 ซึ่งมีวิธีการใช้งานและตั้งค่าแบบเดียงกันครับ แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในตัวแอพพลิเคชั่นที่จะนำมาใช้งาน และเมนูภายในแอพบางส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา
[divider]
หยิบยกวิธีการใช้งาน Apotop ในฟังชั่นต่างๆ จากรีวิว Wi-copy DW21
การเปิดการทำงานความสามารถในขั้น Advance
Apotop Wi-Copy ยังมีความสามารถอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ในการตั้งค่าหมวด Advance รวมทั้งการตั่งค่าที่สำคัญที่ผมว่าถ้าจะใช้งาน ก็ควรมารู้จักในส่วนนี้กันหน่อยครับ เช่นการตั้งค่า Wi-Fi password เพื่อกันไม่ให้คนอื่นมาใช้งาน หรือการตั้งค่าวันเวลาของตัวอุปกรณ์ให้ถูกต้อง หรือการเปิดฟังชั่นการทำงานที่สำคัญๆ เช่น Wi-Fi Reepeater หรือ SMB รวมทั้งการแชร์ข้อมูลด้วยระบบ DLNA เดี๋ยวผมจะอธิบายว่ามันคืออะไร พร้อมทั้งวิธีการเข้าไปเปิดการทำงานครับ
ตั้งค่าชื่อ SSID และกำหนดรหัสการเข้าใช้งาน WI-FI ด้วยตัวเอง
ให้เราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ iOS และ Android ของเราเข้ากับ Apotop Wi-Copy ผ่านสัญญาณ Wi-Fi เพื่อเปิดเข้าแอพพลิเคชั่น Wi-Copy ตามปกติครับ และให้เราเข้าสู่แท็บการตั้งค่า (Setting) >>> Device Setting >>> Wi-Fi Password
เข้าไปกำหนดชื่อ SSID และรหัสผ่านตามที่เราต้องการได้เลยครับ (โดยพื้นฐานของเครื่องจะไม่ได้กำหนดรหัสผ่านมาให้ในการใช้งานครั้งแรก)
การตั้งค่าวันที่และเวลา
ให้เราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ iOS และ Android ของเราเข้ากับ Apotop Wi-Copy ผ่านสัญญาณ Wi-Fi เพื่อเปิดเข้าแอพพลิเคชั่น Wi-Copy ตามปกติครับ และให้เราเข้าสู่แท็บการตั้งค่า (Setting) >>> Device Setting >>> Advance Setting
ระบบจะพาเราเปิดเว็บเบราว์เซอร์ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เพื่อเข้าหน้าการตั้งค่าแบบเชิงลึกครับ ให้เข้าไปที่หัวข้อ Advance Setting คุณจะเห็นการตั้งค่า Time Setting เข้าไปกำหนดค่าเวลาเป็น GMT+7 ตามเวลามาตรฐานของประเทศไทย แล้วกดปุ่ม Copy Date&Time เป็นอันเสร็จพิธีครับ โดยพื้นฐานของเครื่องที่ผมได้มา เวลาจะไม่ตรงกับบ้านเราครับ
การเปิดฟังชั่น Wi-Fi Repeater
Wi-Fi Repeater คือความสามารถในการกระ0ายสัญญาณ Wi-FI ที่เรามีอยู่เดิมให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นครับ เช่นการที่เรามี WI-Fi เราเตอร์แล้วที่บ้าน แต่อาจจะอ่อนสัญญาณในบริเวณที่เราอยู่ ให้ใช้เจ้า Apotop Wi-Copy DW21 เป็นตัวช่วยรับและกระจายสัญญาณ Wi-Fi นั้นให้มีความเข้มข้นมากขึ้นได้ครับ หรือก็คือ “การรับสัญญาณมาแล้วส่งต่อออกไปอีกทอดหนึ่ง” นั้นเองครับ
ให้เราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ iOS และ Android ของเราเข้ากับ Apotop Wi-Copy ผ่านสัญญาณ Wi-Fi เพื่อเปิดเข้าแอพพลิเคชั่น Wi-Copy ตามปกติครับ และให้เราเข้าสู่แท็บการตั้งค่า (Setting) >>> Device Setting >>> Advance Setting >>> WiFi Repeater
เข้าไปแล้วจะเห็นสัญญาณ Wi-FI ต่างๆ ที่ถูกส่งมายังบริเวณนั้นทั้งหมดครับ ให้เรากดเข้าไปยังรายชื่อสัญญาณที่เราต้องการ Repeat แต่ต้องเป็นสัญญาณที่เรารู้รหัสเข้าใช้งานนะครับ
เมื่อเลือกสัญญาณได้แล้วแล้ว จะเข้าสู่หน้าการตั้งค่า ให้เลือกการตั้งค่าอัตโนมัติ ตัว Wi-Copy จะทำงานของมันเองเลยครับ แค่เราใส่รหัสผ่านเข้าใช้งาน Wi-Fi นั้นให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ด้วยคุณสมบัติของ WiFi Repeater ตัวนี้ จะส่งผลให้เราสามารถเชื่อมต่อกับเจ้า Apotop Wi-Copy เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมๆ กับการใช้งานด้านการจัดการข้อมูลและการเป็นมีเดียเซิร์ฟเวอร์ไปพร้อมๆ กันได้ด้วยครับ ^^ ยอด!
เปิดการใช้งานเทคโลโลยี SMB (Samba) และ DLNA เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่นสมาร์ททีวี หรือกล่องมีเดียเพลย์เยอร์
สำหรับคนที่มีสมาร์ททีวีหรืออุปกรณ์เล่นหนังแบบกล่อง Media Player ที่มีฟังชั่น SMB หรือ DLNA เราสามารถใช้งานเจ้า Apotop Wi-Copy ได้แบบไม่ต้องมีแอพพลิเคชั่นของมันก็ได้ครับ เพราะตัวมันเองสามารถปล่อยข้อมูลส่งผ่านเทคโนโลยีทั้งสองออกไปได้เช่นกัน
ให้เราทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ iOS และ Android ของเราเข้ากับ Apotop Wi-Copy ผ่านสัญญาณ Wi-Fi เพื่อเปิดเข้าแอพพลิเคชั่น Wi-Copy ตามปกติครับ และให้เราเข้าสู่แท็บการตั้งค่า (Setting) >>> Device Setting >>> Advance Setting
จะเห็นหัวข้อของ “Samba” และ “DLNA” ซึ่งต้องการจะใช้งานเทคโนโลยีไหนก็เข้าไปกดเปิด “Enable” ได้เลยครับ จะเปิดทั้งคู่ก็ได้ (แต่การเปิดฟังชั่นเหล่านี้ น่าจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่มากขึ้นด้วยเช่นกันนะครับ)
ทดสอบใช้งานกับแอพ Archos Video ที่รองรับการดึงข้อมูลผ่านระบบ SMB (Samba) สามารถดึงไฟล์หนังมาเล่นได้ลื่นๆ เลยครับ
ทดสอบกับสมาร์ททีวี ที่รองรับการใช้งานแบบ DLNA ค้นเจอได้ง่ายๆ เราสามารถดึงไฟล์ภาพ เพลง หนัง ขึ้นไปเล่นบนทีวีได้โดยไม่ต้องต่อสายใดๆ ได้เช่นกัน
[divider]
เมนูการใช้งานและแอพพลิเคชั่นสำหรับ Apotop Wi-Backup
ด้านบนเป็นตัวอย่างการเข้าใช้งานฟังชั่นลึกๆ จาก Apotop Wi-Copy ซึ่งเป็นตัวรุ่นน้อง แต่การทำงานในส่วนเหล่านั้นจะใช้งานเหมือนๆ กันนะครับ ส่วนตัวนี้จะใช้แอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Wi-Backup นะครับ มีคำสั่งภายในแอพที่แตกต่างออกไปอีกสักหน่อยครับ
ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Wi-Backup สำหรับ Android และ iOS
หน้าตาการใช้งานของแอพพลิเคชั่น Wi-Backup จะพร้อมใช้งานเมื่อเราเชื่อมต่ออุปกรณ์ Wi-Backup ของเราเข้ากับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของเราซะก่อนครับ โดยผ่านสัญญาณ Wi-Fi เปิดสวิทช์ที่ตัวเครื่องไปในโหมดพร้อมใช้งาน
เมื่อเข้าใช้งานแล้ว ตัวแอพพลิเคชั่นจะแสดงไฟล์ที่อยู่ในอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเอาไว้ออกมาเป็นหมวดๆ ให้อย่างอัตโนมัติครับ โดยจะแสดงแยกเป็นไฟล์ภาพ เพลง หนัง และไฟล์เอกสาร เรายังสามารถเข้าไปดูไฟล์ข้อมูลอื่นๆ ภายในหน่วยจัดเก็บได้ทั้งหมดครับ
ถ้ามีการเสียบอุปกรณ์สองตัวพร้อมกัน (SD Card กับ USB ด้าน A เท่านั้น) ในแอพพลิเคชั่นก็จะแสดงแหล่งข้อมูลจากทั้งสองแหล่งออกมาให้เราเรียกใช้งานได้ครับ
โดยเราสามารถคัดลอกย้ายไฟล์ไปมาหากันได้ด้วยความสามารถภายในแอพพลิเคชั่่น โดยการเลือกไฟล์ที่ต้องการคัดลอกย้าย หรือลบ แล้วกดปุ่มควบคุมด้านล่างเพื่อเลือกการทำงานที่ต้องการครับ ถ้าเป็นการคัดลอกหรือย้าย ก็ให้เราทำการเลือกปลายทางที่ต้องการได้ครับ
ผลการใช้งานและสรุปความสามารถของ Apotop Wi-Backup
ประโยชน์ของการใช้งาน Apotop Wi-Backup ก็อยู่ที่การจัดการไฟล์ข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งในบ้านและนอกสถานที่ ผ่านแอพพลิเคชั่นและการเชื่อมต่อไร้สายที่สะดวกมาก เชื่อมต่อได้หลายอุปกรณ์ ซึ่งจากที่ผมทดสอบใช้งาน ตัวเครื่องสามารถดึงข้อมูลไฟล์ต่างๆ ออกมาได้ไวมากครับ และสามารถรับภาพยนต์ความละเอียดสูงผ่านสัญญาณ Wi-Fi ได้สบายๆ ไหลลื่นเลย ประสิทธิภาพของ Apotop Wi-Backup อยู่ในระดับที่ดีกว่า การ์ด Wi-Fi หรือการโอนถ่ายของกล้องที่รองรับสัญญาณ Wi-Fi โดยตรงมากครับ
ข้อดีนอกจากการเป็นแหล่งเชื่อมต่อ โอนย้าย คัดลอก จัดการข้อมูลทั้งหลายแล้ว ก็เป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือในเรื่องอื่นๆ ได้อีกในตัวเดียว เช่นการกระจายสัญญาณ Wi-Fi อินเตอร์เน็ต การเป็นแบตเตอรี่เสริม และการใช้งานสำหรับ Backup File แบบอัตโนมัติด้วยตัวเอง ทั้งหมดนั้นคือความสามารถของ Apotop Wi-Backup DW23 ในราคาไม่แพงมากเกินไป 3,250 บาท (ราคาโปรโมชั่น จากปกติ 4,250 บาท)
ขอบคุณ IT-InTrend ผู้นำเข้าสินค้า Apotop เข้ามาอีกหลายรุ่นในเมืองไทย ตามรายละเอียดและช่องทางการซื้อผ่านทางหน้าเว็บได้เลยครับ
หน้าเว็บสำหรับการสั่งซื้อ >>> IT-InTrend
[gradeA]