Philips Hue Play HDMI Sync Box เปลี่ยนมิติการดูหนังและเล่นเกมกับไฟที่เปลี่ยนสีตามการแสดงผลจริง
Philips Hue Play HDMI Sync Box นั้นทำหน้าที่ของมันได้ดีที่สุดในท้องตลาดแล้วล่ะกับการเป็นกล่องที่เป็นตัวเชื่อมระบบไฟให้กลายเป็น Bias Lighting แบบ Responsive และถึงแม้ว่ามันจะยังเหมือนมีบั๊กให้เห็นอยู่บ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ยังพอจะมองข้ามไปได้เพราะความเจ๋งของมันนี่แหละ แต่ข้อเสียใหญ่ๆ เลยเห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องความยุ่งยากในการเซ็ตอัพและการตั้งค่าต่างๆ ที่แทบไม่มีไกด์อะไรบอกใบ้ให้กับผู้ใช้งานเลยแม้แต่น้อย หากแต่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันเองจนกว่าจะได้เซ็ตอัพไฟที่เหมาะสมถูกใจ ซึ่งก็ใช้เวลาไม่น้อยเลยทีเดียว
The Good
- ดีที่สุดในด้านการเป็น Bias Light แบบ Responsive
- ไฟตอบสนองได้อย่างว่องไวและแม่นยำ ทำให้ไม่ขัดใจเวลาเปิดใช้งาน
- ใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่ต่อ HDMI ทุกตัวเพราะอ่านค่าจากสัญญาณ HDMI
- รองรับระบบภาพ Dolby Vision และ HDR10+
- มีพอร์ต HDMI ARC มาให้พร้อมกับ HDMI In อีก 4 พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย
- ไฟในชุด Philips Hue รองรับระบบสมาร์ทโฮมใหญ่ๆ ในปัจจุบันแบบครบถ้วน
The Bad
- มีราคาสูง
- ยังมีบั๊กที่ทำให้กล่องหยุดทำการซิงค์ไฟเกิดขึ้นให้เห็นบ้าง
- การเซ็ตอัพและการตั้งค่าที่ยุ่งยาก ไม่มีคำแนะนำที่ดีพอให้กับผู้ใช้งาน
- ยังไม่นำเข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
- ไม่มีพอร์ต eARC สำหรับอุปกรณ์อย่าง PlayStation 5 และอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน HDMI 2.1 ขึ้นไปในปัจจุบัน
-
ประสิทธิภาพ
-
วัสดุและการประกอบ
-
ฟังก์ชั่นและประโยชน์ในการใช้งาน
-
ความคุ้มค่าต่อราคา
อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะติดตั้งไฟเอาไว้แสดงสีสันหลังจอทีวีขนาดยักษ์ภายในบ้านของเรา แต่อเล็กซ์เชื่อแน่ว่ามีไม่น้อยที่มีความฝันอยากจะมีไฟหลังทีวีที่สามารถเปลี่ยนสีได้ตามการแสดงผลของภาพหน้าจอเอาไว้ใช้เวลาที่เราเล่นเกมหรือดูหนัง ให้เหมือนกับที่เหล่าสตีมเมอร์บน PC เขาทำกัน แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงได้ เพราะสำหรับจอทีวีที่เราใช้ดูหนังฟังเพลงนั้น แอพพลิเคชั่นอะไรต่างๆ นาๆ มันไม่ได้สามารถพัฒนาได้อย่างอิสระเหมือนกับบน Windows หรือ Mac เลยทำให้มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างในการเซ็ตอัพอุปกรณ์ของเราให้ได้ไฟสวยงามตามต้องการ
และดูเหมือน Philips Hue เองก็จะเข้าใจหัวอกและความต้องการของเราๆ ท่านๆ กันเป็นอย่างดี ล่าสุดจึงได้มีการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ (ที่จริงๆ ก็ออกมาตั้งแต่เมื่อต้นปีแล้วล่ะแต่ก็ยังไม่ถูกนำเข้ามาจำหน่ายในไทยอย่างเป็นทางการสักที) อย่างเจ้า Philips Hue Play HDMI Sync Box ที่ทำตัวเองเป็นสะพานในการอ่านค่าภาพจากสัญญาณ HDMI แล้วส่งค่าสัญญาณเหล่านั้นออกไปเป็นสีสันที่ไฟในกลุ่ม Philips Hue ของตน ว่ากันตามหลักการแล้วมันก็ดูดีอยู่นะ แต่การใช้งานจริงจะเป็นอย่างไรนั้น วันนี้ APPDISQUS จะพาเพื่อนๆ มาพิสูจน์กัน
แกะกล่องและสเป็กของ Philips Hue Play HDMI Sync Box
พอร์ต HDMI นั้นรองรับ HDMI สูงสุดที่มาตรฐาน 2.0b ซึ่งเพียงพอต่อการส่งผ่านสัญญาณ Dolby Vision และ HDR10+ และทีวีที่มีช่อง HDMI ARC แต่สำหรับทีวีรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมาขายในปีนี้ที่ปรับมาตรฐานไปรองรับ eARC ซึ่งต้องอาศัยมาตรฐาน HDMI 2.1 สำหรับการส่งภาพและเสียงที่คุณภาพ 48Gbps กันแล้วนั้น เจ้ากล่องตัวนี้ยังรองรับไปไม่ถึงมาตรฐานระดับนั้น
Advertisement Advertisement Advertisement
Philips Hue Play HDMI Sync Box นั้น ณ ตอนนี้ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่หากใครอยากได้จริงๆ ก็มีหลายๆ ร้านที่นำเข้ามาขายกันแล้ว โดยสนนราคานั้นก็จะโหดนิดๆ ซึ่งราคาที่ Philips Hue ขายในต่างประเทศนั้นจะอยู่ที่ USD 229.99 ในช่วงราคาปกติ แต่ในช่วงที่ขาดตลาดราคาก็มีพุ่งขึ้นไปถึงประมาณ USD 499 กันเลยในบางที่ (เช่นใน Ebay) โดยสำหรับในประเทศไทยนั้นสามารถหาซื้อได้จาก Lazada (อเล็กซ์เองก็ได้มาจาก Lazada เช่นเดียวกัน) โดยสนนราคานั้นจะอยู่ที่ประมาณ 11,000 – 12,000 บาทนั่นเอง ส่วนร้านที่อเล็กซ์ซื้อมานั้นก็ตามไปดูกันได้ผ่านทางลิงก์นี้เลย – ซื้อ Philips Hue Play HDMI Sync Box ผ่านทาง Lazada
ในตัวกล่องนั้นก็ไม่มีอะไรมาก เปิดมาเราก็จะเห็นกล่อง Hue HDMI Sync Box โดดเด่นเป็นพระเอกของงานเลย ตามมาด้วยอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีมาให้ครบทั้งสาย HDMI สายพาวเวอร์เพื่อต่อใช้งานกล่อง และหัวเปลี่ยนสำหรับสายพาวเวอร์อีก 2 แบบ (หนึ่งในนั้นใช้งานกับปลั๊กบ้านเราได้เลย) รวมไปจนถึงพวกคู่มือแนะนำการใช้งานอีก 2 เล่ม
Hue Play HDMI Sync Box นั้นมาพร้อมกับช่องเสียบ HDMI อีก 4 ช่องหลัก และ 1 ช่องแบบ ARC ให้ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกล่องเข้ากับโทรทัศน์ของเราอีกทีหนึ่ง โดย HDMI ทั้ง 4 ช่องนั้น จะมีช่อง 2 และ 4 ที่สามารถส่งผ่านภาพแบบ Dolby Vision และ HDR10+ สำหรับจอแสดงผลที่รองรับได้ โดยต้องทำการเปิดการตั้งค่า ARC Bypass จากแอพพลิเคชั่นก่อนถึงจะใช้งานการซิงค์ไฟกับ Dolby Vision หรือ HDR10+ ได้
พอร์ต HDMI นั้นรองรับ HDMI สูงสุดที่มาตรฐาน 2.0b ซึ่งเพียงพอต่อการส่งผ่านสัญญาณ Dolby Vision และ HDR10+ และทีวีที่มีช่อง HDMI ARC แต่สำหรับทีวีรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมาขายในปีนี้ที่ปรับมาตรฐานไปรองรับ eARC ซึ่งต้องอาศัยมาตรฐาน HDMI 2.1 สำหรับการส่งภาพและเสียงที่คุณภาพ 48Gbps กันแล้วนั้น เจ้ากล่องตัวนี้ยังรองรับไปไม่ถึงมาตรฐานระดับนั้น ซึ่งส่งผลให้ใครที่อยากจะเอามาใช้งานกับ PlayStation 5 ที่รองรับการแสดงผลภาพสูงสุดที่ 4K@120Hz นั้นอาจจะต้องผิดหวังหน่อย เพราะกล่องตัวนี้จะปล่อยภาพได้สูงสุดที่ 4K@60Hz เท่านั้น สัญญาณใดๆ ที่สูงกว่านั้นจะถูกดาวน์เกรดมาใช้ที่ 4K@60Hz ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดายที่อุปกรณ์ที่เพิ่งออกจำหน่ายในปีนี้กลับไม่รองรับมาตรฐานอนาคตที่กำลังจะมาถึงซะอย่างนั้น แต่ก็คงไม่ได้กระทบกับผู้ใช้งานทั่วไปมากนัก เพราะปัจจุบันทีวีที่รองรับ eARC เองก็ยังมีราคาสูงและต้องเป็นรุ่นใหม่ๆ เท่านั้นอยู่ และ APPDISQUS เชื่อว่าหลายๆ คนก็คงยังไม่พิจารณาเปลี่ยนทีวีกันในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน ดังนั้นสำหรับพวกจอทีวีรุ่นท็อปที่จะยังใช้พอร์ต HDMI ARC ทั้งหลายในปัจจุบันก็ยังแฮ๊ปปี้กับ Hue Play HDMI Sync Box ได้อย่างไม่มีปัญหา
Philips Hue Play HDMI Sync Box เองยังรองรับการใช้งาน IR สำหรับการเอารีโมตอื่นๆ มาใช้งานร่วมกับตัวมันด้วย โดยตัวรีโมตนั้นไม่ได้มีแถมมาให้ในกล่องแต่อย่างใด ใครอยากได้คงต้องหารีโมตอื่นๆ ในบ้านมาใช้งานแทน แต่หากใครอยากสั่งงานให้ทันสมัยหน่อย ในอัพเดตล่าสุด Philips ก็ได้เพิ่มการสั่งงานด้วยเสียงโดยรองรับทั้ง 3 บริการใหญ่ๆ อย่าง Siri (ผ่านทาง Shortcut หรือคำสั่งลัด), Google Assistant และ Amazon Alexa มาด้วยนะ ซึ่งหลักๆ ก็จะสามารถสั่งสลับการใช้งานพอร์ต HDMI พอร์ตต่างๆ ได้ สั่งเปิด/ปิดฟังก์ชั่น Sync หรือการเล่นไฟอัตโนมัติตามภาพ สั่งปรับโหมดการใช้งาน รวมไปจนถึงความเข้มข้นและความสว่างของแสงได้นั่นเอง
หน้าที่หลักของ Hue Play HDMI Sync Box นั้นคือการให้แสงส่องหลังทีวีที่เราเรียกกันในภาษาทางการว่า Bias Lighting (บางคนอาจจะเรียกว่า Ambient Lighting ซึ่งถ้าตามความหมายจริงๆ ก็จะต่างกันอยู่ แต่ในกรณีแสงแบบที่ Hue Play HDMI Sync Box ให้นี้ก็จะนิยมเรียกกันทั้งสองแบบนี้ล่ะครับ) โดย Bias Light ที่ได้นั้นจะเป็นแบบ Responsive หรือแบบตอบสนอง ซึ่งจะต่างกับแบบ Static หรือแบบนิ่งอย่างที่เคยเห็นนิยมใช้ประดับหลังทีวีกัน ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าระหว่าง Responsive และ Static นั้น มันจะหมายความว่าอย่างไร