Covid-19โรคอันตรายที่ยังคงเป็นปัญหาที่เชื่อได้ว่าทุกๆคนทั่วโลก ยังคงกลัวอยู่ รวมถึงเราเองก็ยังกลัวเหมือนกัน เมื่อโรคได้ระบาดในรอบแรกก็ทำให้หลายๆอย่างพังลงไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ ระบบเศรษฐกิจที่เกิดการชะลอตัว ธุรกิจขาดทุนการมากมายล้นหลาม เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ซึ่งส่งผลให้การท่องเที่ยวเงียบเหงาลงไปมากๆ เพราะแต่ละประเทศก็ปิดประเทศ ทำให้ประเทศที่เป็นประเทศการท่องเที่ยวได้สูญเสียรายได้เป็นอย่างมาก อาทิ เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น ไทย และอีกหลายๆประเทศ รวมไปถึงการลงทุนต่างๆที่มีการชะลอตัวลง และในตอนนี้บางประเทศก็เริ่มที่จะเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามากันบ้างแล้ว รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย จึงทำให้เราต้องระวังตัวกันมากขึ้นอีกว่าจะมีการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 รอบสองอีกรึเปล่า
และในขณะนี้ทั่วโลกก็กำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรค Covid-19 ประไทยเองก็เช่นเดียวกัน แล้วในวันนี้เราอาจมีความหวังใหม่ของคนไทยที่เป็นผลงานของคนไทยเองด้วย โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรค Covid-19 แล้วมีหุ่นยต์มาร่วมช่วยมนุษย์ในการพัฒนาวัคซีนต่อต้านโรค ทำไมเราจึงนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยก็เพราะว่า บุคลาทางการแพทย์หลายๆ คนที่ช่วยกันคิดค้นและพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรค Covid-19 เมื่อจบงานแล้วมีโอกาสถึง 74% ในการติดเชื้อCovid-19 ถ้านำหุ่นยนต์มาช่วยก็สามารถจะช่วยในเรื่องนี้ได้ด้วย
แลัวโดยปกติในการผลิตวัคซีนหนึ่งตัวจะใช้เวลาในการผลิตถึง 10-15 ปีเลยทีเดียวซึ่งมันใช้เวลานานพอสมควรกว่าวัคซีนจะพร้อมใช้งานได้ ดังนั้นจึงต้องมีหุ่นยนต์มาช่วยในการพัฒนาและผลิตวัคซีนให้สำเร็จเร็วขึ้นกว่าเดิมไม่ต้องรอถึง 10-15 ปีก็ได้ เพราะโรคร้ายโรคนี้เรารอไม่ได้แน่นอน สมมติว่ามรการระบาดอีกรอบ หรือ สองรอบคนในโลกใบนี้จะตายกันหมดใช่ไหมล่ะคะ และหุ่นยนต์มีอยู่จริงและใช้งานได้จริงๆแล้ว
นั้นก็คือ “หุ่นยนต์เอไอ- อิมมูไนเซอร์ (AI-Immunizer)” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ทดสอบภูมิคุ้มกันในการพัฒนาวัคซีนCovid-19 ครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อเร่งสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนของไทย โดยการผสานเทคโนโลยีเอไอที่มีระบบจนจบครบวงจร แล้วหุ่นยนต์จะแบ่งเป็น 2 ตัว ทำงานแยกกัน 2ฟังก์ชัน คือ Unit-A และ Unit-B
เรามาเริ่มกันที่ตัวแรกคือUnit-A ชื่อ YU-MI เป็นหุ่นยต์ที่สร้างขึ้นมาให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนแขนของมนุษย์ แทนที่จะเป็นนักพัฒนาวัคซีนหนึ่งคนใส่ชุดป้องกันโรคก็ใช้หุ่นยนต์ตัวนี้มาทำงานแทนเพื่อลดอัตราการติดเชื้อในการทำงานนั้นเองนอกจากนั้นยังเป็นการลดต้นทุนในการทดลองและเป็นการลดระยะเวลาในการทำการทดลองอีกด้วยค่ะ หน้าที่หลักๆเลยของ YU-MI คือ หุ่นยนต์จะรับโจทย์มาจากนักวัคซีนเพื่อพัฒนาสูตรวัคซีนตามสูตรเพื่อหาวัคซีนสูตรที่ดีที่สุดไปประมาณ 10-15 สูตร เพื่อนำไปทดสอบต่อในUnit-B ต่อไป
ต่อมาใน Unit-B ได้นำ Six Axis Industrial Robotเป็นหุ่นยนต์แขนเดียว หกข้อต่อ ซึ่งมีการทำงานแบบ ทำซ้ำ ทำซ้ำ ทำซ้ำ เพื่อเป็นการทดสอบในเชิงสถิติ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจว่า วันซีนหนึ่งตัวที่พัฒนาขึ่นมามีความแม่นยำ และมีเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดน้อย เพื่อเป็นการยืนยันว่าวัคซีนใช้ได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้จริง ๆหุ่นยต์ทั้ง2 ตัวนับเป็นอีกก้าวสำคัญที่ผลักดันการพัฒนาวัคซีนของศูนย์วิจัยวัคซีนต่างๆ ให้สำเร็จเร็วขึ้นและปลอดภัย และเป็นการลดความเหนื่อยล้าของนักพัฒนาวัคซีนอีกด้วยค่ะ