ธุรกิจการค้าปลีก ค้าส่ง การโฆษณา ร้านค้าออนไลน์ ทั้งหมดที่เป็นธุรกิจในรูปแบบออนไลน์ ถือเป็นสิ่งใหม่ ซึ่งที่ผ่านมายังคงเป็นการค้าขายที่ไม่ได้จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับรัฐ แม้จะประกอบธุรกิจภายในประเทศไทยเราก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบริการโซเชี่ยลต่างๆ ของ Google, Facebook หรือร้านค้าออนไลน์อย่าง อาลีบาบา ลาซาด้า หรือบริการอื่นๆ ที่มีผลประโยชน์จากการทำกำไรในบ้านเรา โดยตามกฏหมาย ผู้ประกอบการใดที่มีรายได้ประจำปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท จำต้องขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และชำระภาษีจากรายได้ในอัตตรา 7% ต่อปี ซึ่งธุรกิจออนไลน์ยักษ์ใหญ่ส่วนมาก รายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปีกันทั้งนั้นครับ
ที่ผ่านมาประเทศไทยอาจจะยอู่ในระหว่างปรับโครงสร้างภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือธรุกิจออนไลน์และธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ แต่ต่อไปนี้กรมสรรพากรดูเหมือนจะไม่ยอมอีกต่อไปครับ ถึงแม้ว่าธุรกิจนั้นจะมีเซิฟเวอร์หลักตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่เมื่อมาตั้งกิจการในบ้านเมืองเรา ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายและการจัดเก็บภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่หลายประเทศในเอเซียเริ่มขยับตามกันแล้วอย่างใน ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย
ซึ่งทางกรรมสรรพากรจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของธุรกิจรายใหญ๋ ที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์เป็นหลักก่อนครับ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ตั้งเป็นเป้าหมายนำร่องหลักในการติดตามและเร่งรัดให้เกิดการจดทะเบียนจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง แต่หากไม่มีการมาขึ้นทะเบียนกับกรมสรรพากรแล้ว เว็บไซต์เหล่านี้จะถูกสั่งปิดทันทีครับ
ผู้ประกอบการค้าขาย หรือการให้บริการใดๆ ก็ตาม ที่กระทำผ่านระบบออนไลน์ ปัจจุปันต้องระวังเรื่องของการจ่ายภาษีให้ดีแล้วนะครับ สำหรับภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ก็ยื่นแบบกันทุกปีเป็นปกติของผู้มีรายได้
แต่ที่สำคัญกว่า คือภาษีมูลค่าเพิ่ม อันนี้สำคัญครับ ใครก็ตามที่มีเงินได้รวมเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องรีบไปทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามเดือน หรือจะให้ดีต้องมีการเตรียมพร้อมไว้ก่อนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มครับ เป็นเรื่องของกฏหมายบังคับหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าเกิดมีการตรวจสอบย้อนหลังแล้วพบเจอว่าไม่ทำการจดทะเบียนและดำเนินการจ่ายภาษีมูลค่า จะโดนทั้งเงินภาษีและค่าปรับรวมทั้งดอกเบี้ย ซึ่งจะนับย้อนหลังตั้งแต่วันที่เรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท แน่นอนหว่าหนักแน่นอนครับ ทางที่ดีเตรียมการไว้ จดทะเบียนให้ถูกต้องก่อนจะสายไป วางแผนรายได้และภาษี ถ้าเรามีแน้วโน้มจะมีเงินเข้าเกิน 1.8 ล้านในปีภาษีเดียวครับ