สงครามรถยนต์ไฟฟ้า EV ในปัจจุบันเรียกว่าดุเดือด โดยเฉพาะแบรนด์จีนที่ทำตลาดส่งออกไปทั่วโลก แต่นี่อาจเป็นข้อมูลที่ใครหลาย ๆ คนไม่รู้ว่า Tesla คือผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนารถ EV ในประเทศจีนหลายแบรนด์
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Tesla เป็นผู้นำนวัตกรรม EV อย่างแท้จริง บริษัทจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากมายเพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทผู้ผลิครถยนต์ลอกเลียนแบบเทคโนโลยีของ Tesla และใช้กำลังในการกด Tesla ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น กำลังการผลิต การขายที่มหาศาลเป็นต้น ซึ่ง Tesla มีสิทธิบัตรเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้านับพันรายการ เช่น หนึ่งในใบสมัครสิทธิบัตรชุดแรกที่ถูกเผยแพร่รหัส WO2006/124663 เกี่ยวกับวิธีการและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง การทำความเย็น การเชื่อมต่อ และการป้องกันความเสียหายของตัวแบตเตอรี่เป็นต้น แต่ท้ายที่สุด ในปี 2014 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอของ Tesla ก็ได้ออกมากล่าวประโยคช็อกโลกว่า
All Our Patent Are Belong To You – Elon Musk
หรือสิทธิบัตรทุกใบเป็นของคุณทุกคน มัสก์ให้เหตุผลว่าด้วยจิตวิญญาณการเคลื่อนไหวแบบโอเพนซอร์ส (Open Source) Tesla จะไม่ยื่นสิทธิบัตรกับใครก็ตามที่ต้องการใช้เทคโนโลยีของ Tesla โดยสุจริตใจ นับเป็นการเร่งการปรับเปลี่ยนมาตรฐานการขนส่งใหม่ที่ยั่งยืนขึ้น มัสก์อธิบายเสริมว่าระบบสิทธิบัตรเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างความมั่นคงให้กับบริษัทขนาดใหญ่ โดนมัสก์บอกว่า “ศัตรูที่แท้จริงของ Telsa ไม่ใช่การผลิตรถยนต์ที่ไม่ใช่ Tesla ในปริมาณน้อย แต่เป็นการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันจำนวนมหาศาลที่ไหลออกจากโรงงานทั่วโลกทุกวัน”
มีหลายบริษัททั่วโลกได้ประโยชน์จากการที่มัสก์ไม่หวงสิทธิบัตรของบริษัท จีนถือเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุปทานหรือศัปพลายเชนของ Tesla ซึ่งโรงงาน Gigafactory ในเซี่ยงไฮ้นั้นเป็นศูนย์กลางการผลิตที่มีประสิทธิผลสูงสุดของ Tesla และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์ Tesla ที่ส่งมอบในปี 2022
อย่างไรก็ตาม ผลประโยชน์เกิดขึ้นทั้ง Tesla และรัฐบาลจีนรวมถึงผู้ผลิตรถ EV จีน Tesla มีความรับผิดชอบในการสร้าง catfish effect หรือปรากฏการณ์ปลาดุกทะเล เป็นปรากฏการณ์ที่คู่แข่งแข็งแกร่งเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ผู้ที่อ่อนแอสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น หรือ Tesla มีบทบาทให้แบรนด์จีนต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมและพยายามไล่ตาม Tesla ในทุกๆ เรื่อง ตั้งแต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปจนถึงราคาที่เอื้อมถึง ปัจจุบัน แม้แต่ Tesla เองก็ยังต้องคิดหาวิธีที่จะแข่งขันในจีนต่อไป
A Tesla Cybertruck rolling into a BYD factory? Now that’s a plot twist! @zhongwen2005 @WholeMarsBlog @Tslachan @teslashanghai @Tesla_Asia @elonmusk pic.twitter.com/LmwWSgc91C
— 爱恨两难 (@ahlnlj) December 11, 2024
สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนก็มีท่าทีการสนับสนุนอีลอน มัสก์ในการเปิดโรงงาน Gigafactory ในประเทศจีนอย่างชัดเจนระหว่างการเยือนซานฟรานซิสโก และนับเป็นครั้งแรกที่ Tesla ถูกจัดให้อยู่ในรายการสั่งซื้อของรัฐบาลจีน นั่นหมายความว่าหน่วยงานของรัฐในมณฑลสามารถจัดซื้อ Tesla เพื่อใช้ในงานราชการ นับเป็นการเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างจีนกับ Tesla
เปิดสิทธิบัตรแบบนี้ มัสก์บ้ารึเปล่า?
พออ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะมองว่า มัสก์ต้องบ้าแน่ ๆ ที่ดันสร้างคู่แข่งสุดแกร่งขึ้นมาแบบนี้ สิทธิบัตรเป็นเรื่องสำคัญในวงการนวัตกรรมที่มักจะไม่ถูกเปิดให้ใช้อย่างเสรีง่าย ๆ แต่เนื่องจากปรัชญาโอเพนซอร์ส (open source philosophy) ทำให้มัสก์เลือกทำแบบนั้น
การใช้สิทธิบัตรของ Tesla มีเงื่อนไขดังนี้
- ห้ามยืนยัน, ช่วยยืนยัน หรือสนับสนุนทางการเงินว่ามีสิทธิในสิทธิบัตรของ Tesla
- ห้ามยืนยัน, ช่วยยืนยัน หรือสนับสนุนทางการเงินว่ามีสิทธิในสิทธิบัตรใด ๆ ต่อบุคคลที่สามสำหรับการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
สรุปคือ สิทธิบัตรของ Tesla จะสามารถใช้ได้ฟรีเฉพาะในกรณีที่ไม่บังคับใช้สิทธิใด ๆ ต่อ Tesla, ไม่บังคับใช้สิทธิบัตรใด ๆ ต่อบุคคลอื่น, ไม่คัดค้านสิทธิบัตรของ Tesla หรือคัดลอกการออกแบบของ Tesla
การใช้เทคโนโลยีของ Tesla จะทำให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอื่นกลายเป็นโมฆะ ในทางกลับกัน Tesla จะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนี้ เพราะดูเหมือนว่า Tesla มีอิสระที่จะเทคโนโลยีของบริษัทอื่นที่พัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีของ Tesla ด้วย
ที่มา Venner, Technology Review, Teslarati, CNN