8 ข้ออยากบอก จาก Appdisqus ให้แก่ผู้เริ่มต้น คัดสรรจากปัญหาที่โดนถามกันเป็นประจำ รวมมาเป็นเคล็ดเล็กๆ สำหรับการเริ่มต้นเล็กๆ ถ้าจะมองหาสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มาใช้สักเครื่องหนึ่ง
1. Tips!!! คุณรู้มัย ว่าAndroid ทุกเครื่อง มีการต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาเป็นพื้นฐาน ถ้าคุณไม่ได้ทำการปิดมันไว้ ใครที่ซื้อเครื่องมาโดยไม่รู้ มักจะตกใจกับยอดค่าบริการ หรือยอดเงินคงเหลือในหมายเลขโทรศัพท์ เพราะโดนเจ้าAndroidต่อเนตอยู่โดยไม่รู้ตัว
2.Tips!! คุณรู้มั้ย อุปกรณ์ Android ที่คุณใช้ไม่จำเป็นต้องทนใช้หน้าตาการใช้งานแบบเดิมๆ ถ้าคุณรู้สึกไม่ถูกใจ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอปกติของตัวเครื่อง หน้าตาการใช้งานตอนถ่ายภาพ หรือหน้าตาตอนโทรเข้าโทรออก ข้อความ SMS คีย์บอร์ดในการพิมพ์ แม้แต่การล็อคหน้า ทั้งหมด คุณสามารถหาตัวอื่นมาทดแทนได้ง่ายๆ เพียงเรียนรู้การลงโปรแกรมจาก “Play store”
3.Tips!! คุณรู้มั้ยจำนวนขนาด Pixel ของกล้องที่โฆษณากันอยู่ทุกวัน เจ้าโน้นกล้องขนาด 8ล้าน เจ้านั้นขนาดกล้อง 12ล้าน เจ้านี้ 41ล้านพิกเซล
จำนวนพิกเซลไม่ได้บ่งบอกถึงการถ่ายภาพที่สวยกว่าเลย แต่บอกในเรื่องของ ขนาดภาพที่ถ่ายขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น
เพราะการถ่ายภาพจะสวยได้นั้น สำคัญที่เลนซ์กล้อง และฝีมือการถ่ายภาพของผู้ใช้ เยอะแยะมากมายที่กล้องระดับ 12ล้านพิกเซล ถ่ายภาพสู้กล้องระดับ 5ล้านพิเซลของอีกรุ่นไม่ได้
4.Tips!!! คุณรู้มั้ย แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือในปัจจุปัน ไม่จำเป็นต้องทำการชาร์จทิ้งไว้ในการใช้ครั้งแรก เพราะไม่มีประโยชน์ใดๆ ตัวเครื่องจะตัดไฟโดยอัตโนมัติเมื่อแบตเตอรี่เต็ม ชาร์จไว้ ไฟก็ไม่เข้าอยู่ดี และการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ Li-Ion จะชาร์จถี่แค่ไหนหรือชาร์จไม่เต็มอย่างไร การเสื่อมของแบตเตอรี่ก็เท่าเดิมเพราะอายุการใช้งานจะนับเป็นรอบการชาร์จจาก 0 ถึงเต็ม100% คือครบ1รอบ ไม่ว่าใน1รอบจะชาร์จเข้าชาร์จออกสักกี่ครั้งก็ตามเมื่อใช้พลังงานไปนับรวมกันเท่ากับ100% ก็คือครบ 1 รอบ สาเหตุที่เสื่อมจะเกิดจาก กระแสไฟไม่สม่ำเสมอไฟตกไฟกระชาก สายชาร์จไม่ได้มาตราฐาน หรือเก็บในที่อุณหภูมิสูง
5.Tips!!! คุณรู้มั้ย การประหยัดแบตที่ได้ผลที่สุดของAndroid คือการลดความสว่างของจอภาพ
เพราะการใช้พลังงานกว่า 50% สูญเสียไปกับหน้าจอแสดงผล การไปปรับตั้งเน้นในส่วนอื่นๆแม้จะช่วยในเรื่องของการประหยัดแต่ก็มีผลน้อยกว่ามาก
แค่ใช้ความสว่างหน้าจอแต่เพียงพอดี ก็ยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในแต่ละวันได้อย่างง่ายๆและเห็นผลด้วยครับ
6.Tips!!! คุณรู้มั้ยว่า การ ROOT ของระบบปฎิบิตการAndroid ไม่ได้หมายถึงการทำให้เครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่อย่างใด
แต่การROOT คือการเปิดสิทธิในการเข้าไปแก้ไฟล์ระบบของเครื่องที่โดยปกติทางผู้ผลิตจะปิดป้องกันไว้เพราะเป็นไฟล์ส่วนที่สำคัญต่อระบบ โดยเหตุผลของคนที่Rootเครื่องandroid นั้น เพราะต้องการเข้าไปแก้ไขในส่วนที่เขาป้องกันไว้นั้นเอง
ฉนั้น จงมีเหตุผลในการRootเครื่องก่อนลงมือทำ ถามตัวเองจะเข้าไปในส่วนของไฟล์ระบบเพื่ออะไร
7.Tips!!! การเตือนที่ไม่คุ้นตาในแถบ Status Bar ไม่ได้จะมาจาก SMS หรือ MMS จากทางเครือข่าย แต่มาจากภายในตัวเครื่องของท่านเอง
ในกรณีที่เจอสัญลักษณ์ไอคอนเตือนแปลกๆ แนะนำว่าอย่ากด เพราะมันอาจจะพาท่านไปยังหน้าสมัครบริการดูดตังค์โดยที่ท่านไม่รู้ตัว รวมถึงไอคอนหน้าโฮม ที่อยู่ๆก็โผล่มาจากไหนไม่รู้เช่น ไอคอนที่ชื่อ “App Free” ก็เป็นลิงค์พาท่านเข้าสู๋การบริการที่อาจจะทำให้เสียตังค์ เป็นการโฆษณาแฝงมากับแอพพลิเคชั่นฟรีต่างๆที่ท่านโหลดมาใช้งานนั้นเอง
วิธีการเอาออกใช้แอพ “Lookout Ad Network Detector” แสกนตัวเครื่อง รายชื่อแอพใดที่ปรากฏใน3หัวข้อแรกของการแสกน ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องใช้ แนะนำให้เอาออกครับ
8.Tips!!! เรื่องหน่วยความจำแบบ แอนด้อยยยย แอนดรอยด์
Rom ram sdcard ภายนอกภายใน ย้ายแอพได้ไม่ได้ ทำไมพูดกันไปคนละทางสองทาง ก็เพราะแอนดรอยด์มันร้อยพ่อพันธุ์แม่ไงครับ ถ้าแยกตามแบรนคงไม่สับสน แต่จะรู้ัมันทั้งOS ก็เยอะหน่อย ^^
Rom – หน่วยความจำภายในเครื่อง ใช้ลงโปรแกรม ไฟล์ระบบของOS โดยมากจะให้มาไม่เกิน 2Gb
Ram – หน่วยความจำชั่วคราว ใช้เป็นที่เรียกข้อมูลที่จะใช้งานในขณะนั้นออกมาเก็บไว้เพี่ือความเร็วในการใช้งาน ใช้เสร็จแล้วคลายออก โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งตา 256 MB – 2 GB ในปัจจุปัน
ยังมีหน่วยความจำอีกประเภทที่ฝังไว้ในเครื่องบางรุ่นคือ
Sd card ภายใน – จะเห็นได้จากพวกเครื่องที่ระบุความจำเครื่องให้มามากกว่า 2GB เช่น 4GB / 8GB / 16GB / 32GB โดยจะแยกเป็นความจำROMก่อน 2GB ที่เหลือคือหน่วยความจำของ Sd card ภายใน ยกตัวอย่างเช่น เครื่อง 16 GB จะโดนแบ่งเป็น rom 2GBและ Sdcardภายในอีก 14GB (ในความเป็นจริงจะไม่ถึง 14 GB อาจจะเหลือแค่ 11-12 GB)
โดยเครื่องที่มีหน่วยความจำ sdcard ภายใน จะรองรับการย้ายแอพจากหน่วยความจำ ROM มายังหน่วยความจำSdcardภายในได้ครับ ในกรณีแอพนั้นรองรับการย้าย
“แต่จะไม่รองรับการย้ายแอพไปสู่ความจำ SDCard ภายนอกหรือ Micro sd cardที่เราใส่เพิ่มเองอย่างเด็ดขาด ย้ายไม่ได้เลยครับ”
แต่ถ้าเป็นเครื่องที่มีแต่ ROM และไม่มีหน่วยความจำ Sdcardภายใน ส่วนใหญ่เครื่องพวกนี้มักจะมีขนาดความจำให้มาต่ำกว่า 2GB จะสามารถทำการย้ายแอพไปสู่ SDcard ภายนอกหรือ Micro sd card ที่เราใส่เพิ่มเองได้ครับ ถ้าแอพนั้นรองรับการย้าย
หลายคนยังสับสนครับ เพราะแต่ละแบรนเขาทำมาไม่เหมือนกัน
8 Tips แบบ Appdisqus ก็อาจจะช่วยให้หายสงสัยกันไปไม่มากก็น้อยนะครับ ^^
ส่วนใครเลือกหาสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่ถูกใจได้แล้ว ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ดูต่อได้ที่นี่เลยครับ
เริ่มต้นอย่างไรให้ง่าย สำหรับมือใหม่แอนดรอยด์