ชาร์จไร้สายหรือ Wireless Charge เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่หลาย ๆ คนมองหาหากกำลังจะซื้อสมาร์ตโฟนสักเครื่องเนื่องจากมอบความสะดวกสบายในการชาร์จได้อย่างดีเยี่ยม โดยระบบชาร์จไร้สายนี้เรียกอีกอย่างว่า ‘การชาร์จระบบ Qi’ ซึ่งอาจไม่คุ้นหูบางคน ก็มาทำความรู้จักกับ Qi กันครับ
Qi คือชื่อมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการถ่ายโอนพลังงานแบบไร้สายรูปแบบหนึ่ง ด้วยการชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับเต้าเสียบไฟฟ้าหรือเครื่องแปลงไฟ วิธีการชาร์จแบบนี้ถูกนำมาใช้งานสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคมาตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1990 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วใช้กับแปรงสีฟันไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ควรเชื่อมต่อกับไฟฟ้าโดยตรง แต่ปัจจุบันนี้การชาร์จระบบ Qi ได้สร้างมาตรฐานให้กับวิธีที่ผู้ผลิตใช้ในการสร้างอุปกรณ์ชาร์จและแบตเตอรี่ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภคที่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ร้อน หรือการชาร์จแบตเตอรี่มากเกินไปจนเป็นอันตราย
Qi ถูกใช้เป็นมาตรฐานมาตั้งแต่ปี 2008 โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการชาร์จไร้สายเริ่มขยายตัวไปอยู่ในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคเช่นสมาร์ตโฟนและหูฟัง อย่าง HyperX Cloud Flight S ซึ่งชื่อของ Qi เมื่อคุณออกเสียงคำนี้ว่า “ชี่” จะเป็นการอ้างอิงถึงคำภาษาจีนที่หมายถึงพลังงานหรือพลังชีวิตนั่นเอง
Qi มาจาก ชี่ หรือที่แปลว่า ปราณ หรือพลังชีวิต
กระบวนการชาร์จของ Qi อาจดูลึกลับเปรียบได้กับอารยธรรมโบราณของจีน แต่กลับเป็นวิทยาศาสตร์ที่เรียบง่าย การส่งกระแสไฟฟ้าโดยปราศจากสายนั้น ไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่แต่อย่างใด หากย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 19 เจ้าพ่อสุดเจ๋งของวงการอาวุธในวีดีโอเกม Nikola Tesla ได้หาวิธีถ่ายโอนพลังงานด้วยการใช้แม่เหล็ก ความคิดของเขามีพื้นฐานมาจากการทำงานของนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ Michael Faraday ในปี 1831 ซึ่งใครก็ตามก็สร้างสนามแม่เหล็กได้ โดนการพันลวดรอบ ๆ แท่งเหล็ก แล้วส่งกระแสไฟฟ้าผ่านมัน ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเดียวกันมาจนทุกวันนี้ เพียงแต่แทนที่จะใช้แท่งทาวเวอร์ขนาดใหญ่ ก็เป็นเพียงขดลวดเล็ก ๆ อยู่ภายในแท่นชาร์จพิเศษเหล่านี้
แท่นชาร์จนี้ อย่างเช่นบน HyperX ChargePlay มีขดลวดยาวเรียงตัวอยู่อย่างหนาแน่น จากนั้นขดลวดนี้ก็จะมีไฟฟ้ากระแสสลับผ่านมายังเต้าเสียบของคุณ และต้องขอบคุณกฏการเหนี่ยวนำของ Faraday ที่ช่วยสร้างสนามแม่เหล็กรอบขดลวด ซึ่งจากกฏเดียวกันนี้ ขดลวดอื่นๆ ภายในสนามแม่เหล็กนั้น จะให้ผลตรงกันข้ามกับสนามแม่เหล็กที่ย้อนกลับมาเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสสลับในขดลวด หากขดลวดเส้นที่สองต่ออยู่กับแบตเตอรี่ในเมาส์ไร้สายของคุณ มันก็จะทำการชาร์จไฟ เช่นเดียวกับการต่อเข้ากับที่ชาร์จเช่นกัน
แทนที่จะต้องคอยคลำหาสายมาต่อสำหรับชาร์จ คุณสามารถวางอุปกรณ์ลงบนแท่นชาร์จเพื่อเริ่มการชาร์จได้เลยทันทีนับเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ที่เรากำลังจะเริ่มมองเห็นและได้ใช้งานเทคโนโลยี “ใหม่” ที่เคยถูกคิดค้นมานานกว่า 150 ปีที่แล้ว