วันนี้เรามีสาระความรู้ดีๆมาฝากครับ เชื่อว่าคงมีหลายๆคนที่อ่านเว็บไซต์ของเราแล้วไปเจอพวกรายละเอียดสเปคต่างๆของ Android แล้วต้องเกิดเครื่องหมายคำถามขึ้นมาแน่นอน โดยเฉพาะเจ้าคำว่า SoC นอกจากนี้ยังมีพวกคำว่า 32-bit และ 64-bit อีก เราเชื่อว่ามีบางคนที่ทราบความหมายของคำเหล่านี้แล้วแน่ๆ แต่เราก็เชื่อว่ายังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่รู้ถึงความหมายข้อมูลของสเปคพวกนี้แน่นอนว่าจริงๆแล้วมันมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง งั้นเดี๋ยววันนี้เราไปดูกันดีกว่าครับว่าแท้ที่จริงแล้วคำเหล่านี้มันมีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง
หมายความว่ายังไงกันนะ?
SoC
สำหรับคำว่า SoC นั้นจริงๆแล้วย่อมาจากคำว่า “System on a Chip” ครับ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ในชิพเซทตัวดังกล่าวนี้ได้มีการใส่ระบบต่างๆมาจากผู้ผลิตแล้วแบบว่า All-in-one เลยครับ ไม่ว่าจะเป็น CPU, หน่วยประมวลผลกลาง, การ์ดกราฟฟิก, ตัวควบคุมหน่วยความจำ และยังมีระบบอื่นๆอีกมากมายในชิพครับ ซึ่งในชิพ SoC บางตัวอาจมีการใส่ตัวรับสัญญาณวิทยุไร้สายจำพวก WiFi, GPS และ LTE เข้ามาด้วยครับ
ฺBits
สำหรับคำว่า Bits นั้นจริงๆแล้วเชื่อว่าคงไม่มีใครคิดถึงคำนี้เท่าไรครับ แต่จริงๆแล้วคำว่า Bits นั้นจะหมายถึงขนาดของพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล ดังนั้นตัวเลขที่บ่งบอกจำนวนของ Bits นั้นจะหมายถึงขนาดและจำนวนของข้อมูลที่ตัวโปรเซสเซอร์สามารถรองรับและจัดการได้นั่นเองครับ
แล้วมันต่างกันอย่างไรระหว่างชิพ 32-Bit และ 64-Bit ?
สำหรับ 64-Bit นั้นมีจำนวน Bit มากกว่า 32-Bit ถึง 2 เท่า ซึ่งจริงๆแล้วควรจะต้องดีกว่าใช่ไหมครับ แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วชิพแบบ 64-Bit อาจจะไม่จำเป็นด้วยซ้ำไปครับ
ข้อดี
อย่างเดียวที่เรามักได้ยินจากการใช้โปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ก็คือมันจะสามารถทำให้เราใช้ RAM มากกว่า 4 GB ได้แต่นั่นก็ถือเป็นเรื่องเล็กๆครับ
เพราะ สำหรับโปรเซสเซอร์แบบ 32-bit นั้นเราจะสามารถใช้ในการจัดการข้อมูลเลขจำนวนเต็มได้มากถึง 2,147,483,647 ตัว ขณะที่โปรเซสเซอร์แบบ 64-bit นั้นจะสามารถใช้จัดการข้อมูลได้มากถึง 9,223,372,036,854,775,807 ตัวเลยทีเดียวครับ
ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้แหละครับที่แสดงให้เราเห็นว่าทำไมโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ถึงสามารถใช้ RAM มากกว่า 4 GB ได้ นอกจากนี้เจ้าตัวโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ยังสามารถที่จะอนุญาติให้ 1 โปรแกรมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ถึง 16 exabytes เลยทีเดียวครับ ซึ่งถือเป็นปริมาณที่เยอะมากๆครับ (ประมาณ หนึ่งหมื่นหกพันล้าน GB)
ข้อเสีย
จริงๆแล้วแอพต่างๆอาจแสดงผลได้ไม่ดีนักกับโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ครับ หากนำมาเทียบกับโปรเซสเซอร์แบบ 32-bit เพราะการที่มันต้องแบบรับการส่งถ่ายข้อมูลจำนวนมากเหล่านั้นจริงๆแล้วอาจจะทำให้การใช้งานแอพต่างๆของเราช้าลงนั่นเองครับ
การนำโปรเฟสเซอร์แบบ 64-bit มาใช้อาจทำให้การใช้งานแอพต่างๆช้าลงเพราะอาจจำเป็นต้องใช้ พื้นที่ Ram และ Cache มากขึ้น ซึ่งทำให้การแสดงผลลดลงตามลำดับครับ
แล้วมันมีความหมายอย่างไรกับผู้ใช้อย่างเราๆ?
จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรมากนักหรอกครับ เพียงแต่ว่าเจ้าโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ดูจะเหมาะกับอนาคตมากกว่าเท่านั้นเอง เพราะว่าแอพต่างๆส่วนมากในปัจจุบันนั้นไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการหาประโยชน์หรือใช้ประโยชน์จากโปรเซสเซอร์ 64-bit เท่าที่ควรนักครับ ส่วนใหญ่ทำมาให้เหมาะกับสำหรับโปรเซสเซอร์แบบ 32-bit มากกว่า
แต่ถึงแม้ว่าเจ้าโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit นี้จะยังไม่สามารถนำเอาความสามารถของมันออกมาใช้งานได้ทั้งหมดก็ตาม แต่เชื่อว่าอีกไม่นานนักโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit นี้จะเข้ามากลายเป็นโปรเซสเซอร์มาตรฐานของสมาร์ทโนทุกเครื่องแน่นอน เหมือนกับที่โปรเซสเซอร์ 64-bit เข้ามาเป็นตัวมาตรฐานของคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานฟีเจอร์อย่าง Multitasking ได้แบบสบายๆโดยที่ประสิทธิภาพในการทำงานด้านอื่นไม่ลดลง
ซึ่งหากว่ายุคของโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit มาถึงเชื่อว่าแอพต่างๆคงต้องมีการปรับตัวกันยกใหญ่แน่นอนเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเจ้า 64-bit นี้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งน่าจะทำให้แอพหรือเกมส์ต่างๆสามารถทำงานได้ราบรื่นและรวดเร็วขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ
สรุปง่ายๆก็คือเจ้าโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit นั้นตอนนี้อาจยังไม่จำเป็นเท่าไรนักครับ เพราะข้อดีของมันยังไม่สามารถนำมาใช้ได้มากมายเท่าไรนัก แต่เชื่อว่าในอนาคตยุคของเจ้า 64-bit ต้องมาถึง ซึ่งนั่นจะทำให้เหล่านักพัฒนาต้องหันมาใช้ประโยชน์จากเจ้าโปรเซสเซอร์ตัวนี้จริงๆจังนั่นเองครับ
ี่ที่มา : Androidguys